เพชรบุรี- ม.ราชภัฏเพชรบุรี ขับเคลื่อนชุมชนซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power )ส่งเสริมอนุรักษ์ สืบสานประเพณีท้องถิ่นที่หาชมได้ยาก “มหกรรมงานบุญสลากภัตวัดโพธิ์ลอย”
เมื่อเวลา 09.30น. วันที่ 1 กันยายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นางวันเพ็ญ มังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย บุคลากร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ พิธีเปิดมหกรรมงานบุญสลากภัตวัดโพธิ์ลอย ต.หนองกะปุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะปุ วัดโพธิ์ลอย และชุมชนหนองกะปุ จัดงานมหกรรมงานบุญสลากภัตวัดโพธิ์ลอย เพื่อฟื้นฟู ส่งเสริม สืบสาน อนุรักษ์ประเพณี สลากภัตให้เป็นที่รู้จัก เพื่อให้เป็น Soft Power ด้านเทศกาลประจำจังหวัดเพชรบุรีในการขับเคลื่อนชุมชน Soft Power ที่ได้มาซึ่งผลลัพธ์อันเป็นรูปธรรมพร้อมเกิดองค์ความรู้อัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
ข่าวน่าสนใจ:
- จ.ขอนแก่น เปิดงาน "มหกรรมหมอลำเฟสติวัลร้อยแก่นสารสินธุ์"ระหว่างวันที่ 25 - 29 ธ.ค.67 ณ เวทีกลาง หน้าศาลากลาง
- ช่วงอากาศหนาวเย็นสัมผัสประเพณีอาข่าดงยาง soft power ทางวัฒนธรรมของเมืองแพร่
- รมต.วัฒนธรรม เปิดงานแห่ดาวคริสต์มาสจังหวัดสกลนคร "เสน่ห์แห่งสีสัน เทศกาลแห่งศรัทธา"
- ขอนแก่น จัดงานสุดยอดมหกรรมเทศกาลอาหาร “ขอนแก่นแซ่บเวอร์ Soft power foodThailand”พบการแสดงศิลปวัฒนธรรมอีสาน และศิลปินชื่อดังระหว่างวันที่ 25-29…
นอกจากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เผยว่า “มหกรรมงานบุญสลากภัตวัดโพธิ์ลอยในปี้ มีจำนวนสลากหาบมากกว่า 800 หาบขบวนเกวียนและวัวสวยงาม 10 ขบวนจาก 10 หมู่บ้าน อนุรักษ์และสืบทอดมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดเครือข่ายการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและเสริมสร้างความสัมพันธ์และความสามัคคี
สำหรับงานบุญสลากภัต คือ การจัดอาหารคาว อาหารหวานและผลไม้ มาถวายแด่พระสงฆ์ด้วยวิธีการจับสลาก โดยมิได้เจาะจงว่าพระสงฆ์รูปใดจะเป็นผู้รับ นิยมจัดระหว่างช่วงเข้าพรรษา ซึ่งในแต่ละภาคจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ในจังหวัดเพชรบุรีเรียกประเพณีสลากภัต ซึ่งเรียกตามภาชนะที่ใส่ และวิธีการเคลื่อนย้ายของไปถวาย เช่นสลากหาบ สลากหาม สลากกระเดียดที่มีการตกแต่งอย่างสวยงาม
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าว สอบถามชาวบ้านทราบว่า พิธีถวายสลากภัตเกิดขึ้นเมื่อใดยังไม่มีใครให้คำตอบที่ชัดเจน เพียงแต่บอกว่า เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตกาล เป็นกิจกรรมทำบุญของพุทธสานิกชนในช่วงเข้าพรรษา โดยที่ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนได้เล่าให้ฟังว่า ในอดีตเส้นทางคมนาคมไม่ได้เหมือนกับในปัจจุบัน การเดินทางค่อนข้างลำบาก ช่วงเข้าเข้าพรรษาอยู่ในช่วงฤดูฝน ชาวนาอยู่ระหว่างการทำนา ทำให้การเดินบิณฑบาตของพระสงฆ์ลำบาก อีกทั้งพระสงฆ์ก็ไม่สามารถไปค้างอ้างแรมยังสถานที่ต่าง ๆ ได้ เมื่อเกิดฝนตกก็จะสร้างความลำบากแก่พระสงฆ์ ดังนั้น ญาติโยมจึงมีความคิดนำวัตถุดิบที่เก็บไว้ปรุงอาหารได้หลายวันได้ไปถวายพระสงฆ์ เพื่อให้มัคทายกวัดใช้ปรุงเป็นอาหารถวายแก่พระสงฆ์ช่วงที่ไม่สามารถออกไปบิณฑบาตตามปกติได้
โดยนำข้าวสาร อาหารแห้ง ฟัก แฟง น้ำตาล น้ำปลา มาถวาย แต่ต้องใส่หาบ แล้วหาบมาถวายที่วัด เนื่องจากสิ่งของมีจำนวนมาก โดยอาหารที่ใส่มาในหาบจะถูกจัดตกแต่งประดับประดาด้วยดอกไม้ พานเงิน พานทองอย่างสวยงาม ผู้ที่จะหาบก็ต้องแต่งตัวสวยงาม พร้อมหาบออกจากบ้านไปสู่วัด ดังนั้น คำว่าสลากภัต คือ การถวายอาหารพระสงฆ์ด้วยการจับสลากนั่นเอง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: