นครพนม – วันที่ 29 พ.ค.61 เวลา 07.00 น. นายอารมณ์ เวียงด้าน รองประธานชมรมลูกเสือชาวบ้านจังหวัดนครพนม นำสมาชิกฯ ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม ร่วมทำบุญตักบาตร เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก บริเวณริมแม่น้ำโขง หน้าวัดมหาธาตุ ต.ในเมือง อ.เมือง โดยมี นายสมชาย วิทย์ดำรงค์. ผวจ.ฯประธานในพิธี
ในเวลาเดียวกัน กลุ่มลูกเสือชาวบ้านในจังหวัด ยังได้กระจายกันออกไปร่วมปฏิบัติภารกิจ เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนานี้อีกหลายจุด เช่นวัดบ้านหนองปลาดุก ต.บ้านผึ้ง อ.เมือง นางฉวีวรรณ ขันธวิชัย ประธานฯรุ่นที่ 8825/2 นำสมาชิกฯทำบุญตักบาตร และทำกิจกรรมต่างๆกับชาวบ้านที่มาทำบุญ ส่วนนายประดิษฐ์ อ้วนแก้ว ประธานชมรมฯ อ.บ้านแพง นำลูกเสือชาวบ้าน ทำบุญกันที่วัดกลาง หมู่ 13 เขตเทศบาลตำบลบ้านแพง และนางวิชุดา รามฤทธิ์ ประธานฯรุ่นที่ 8813/2 ชักชวนสมาชิกทำบุญตักบาตรที่ วัดจอมแจ้ง หมู่ 5 ต.นาคำ อ.ศรีสงคราม ซึ่งป็นการออกปฏิบัติหน้าที่ในนามชมรมลูกเสือชาวบ้านจังหวัดนครพนม
ทั้งนี้ กำเนิดลูกเสือชาวบ้านจะพบว่า เกิดขึ้นในช่วงที่มีภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ โดย พ.ต.อ.สมควร หริกุล ผกก.ตชด.เขต 4 (ยศในขณะนั้น) เป็นผู้ริเริ่มจัดให้มีการฝึกอบรมลูกเสือรุ่นแรกขึ้นที่บ้านเหล่ากอหก กิ่ง อ.นาแห้ว อ.ด่านซ้าย จ.เลย ระหว่างวันที่ 9-12 สิงหาคม 2514 หลังจากฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านรุ่นแรกเป็นผลสำเร็จแล้วได้ขยายผลการฝึกอบรมไปยังพื้นที่ต่างๆ ตามจังหวัดแนวชายแดน ได้แก่ เลย อุดรธานี หนองคาย นครพนม พิษณุโลก สกลนคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และกระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว โดยถือเอาวันที่ 9 สิงหาคม 2514 เป็นวันกำเนิดลูกเสือชาวบ้าน
ข่าวน่าสนใจ:
- กกพ.สร้างเครือข่ายให้ความรู้ กับผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้พลังงาน
- สหายแสง และพวก แห่จองกฐิน ทนายตั้มฟ้องหมิ่นฯ เรียกค่าเสียหาย 30 ล้าน ยันจะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
- สิ้นสุดฤดูฝนแล้ววันนี้ จ่ามีเปลี่ยนใจไม่ช่วยเติมน้ำให้ชาว ตอ. ทำสียัดเหลือน้ำแค่ครึ่ง
- พุทธาภิเษกพระผงเหนือดวงเศรษฐี หลวงพ่อทองสุข รุ่นที่ระลึกงานทอดกฐิน ไม่พลาดส่องเลขหางประทัด
ต่อมา วันที่ 19 มีนาคม 2515 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรกิจกรรมลูกเสือชาวบ้านที่ค่ายเสนีย์รณยุทธ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 4 อ.เมือง จ.อุดรธานี และทรงรับกิจการลูกเสือชาวบ้านไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
นายวิทยา ชพานนท์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบงานมวลชน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า การจัดตั้งลูกเสือชาวบ้านเป็นไปตามหลักสูตรการฝึกอบรมของ ตชด. ใช้เวลาอบรมตามมาตรฐานคือ 5 วัน 4 คืน รุ่นหนึ่งมีประมาณ 200 คน ต่อมาได้มีการถ่ายโอนงานมายังกระทรวงศึกษาธิการในการฝึกฝนอาสาสมัครและขึ้นทะเบียนควบคุม ส่วนกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจหน้าที่ตามกลไกราชการส่วนภูมิภาคที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น “ผู้อำนวยการลูกเสือชาวบ้านจังหวัด” และนายอำเภอเป็น “ผู้อำนวยการลูกเสือชาวบ้านอำเภอ”
ส่วนในระดับอำเภอ จะมี “ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปในระดับอำเภอ” เพื่อใช้พลังมวลชนปกป้องสถาบันทุกรูปแบบ ทั้งชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะช่วยเป็นหูเป็นตาในการปกป้องสถาบัน จะเห็นได้ว่า พลังของลูกเสือชาวบ้านมีบทบาทสูงในด้านความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะภารกิจในการปกป้องสถาบัน และการสร้างความสามัคคีของคนในชาติ แม้ว่าในวันนี้ได้ผ่านยุคสงครามเย็นมานานแล้ว
และสิ่งที่ลูกเสือชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดนครพนม จดบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์คือ การฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านรุ่นที่ 9 เมื่อวันที่ 25-29 พฤศจิกายน 2514 ที่บ้านทรายมูล ต.อุ่มเหม้า อ.ธาตุพนม จ.นครพนม มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 238 คน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีปิด นับเป็นพระองค์แรกที่มีพระมหากรุณาธิคุณต่อลูกเสือชาวบ้าน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: