นครพนม – งบแก้แล้งท่าอุเทน ภูมิใจนำเสนอขุดสระลูกใหม่ ใกล้แม่น้ำสงคราม แวดล้อมด้วยป่าบุ่งป่าทาม แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์
กรณีรัฐบาลอนุมัติงบประมาณเร่งด่วน จำนวน 200 ล้านบาท ให้แก่จังหวัดนครพนม แต่มีบางโครงการต้องใช้เวลาในการยื่นซองประกวดราคา ไม่ทันภายในเดือนกันยายนตามที่รัฐบาลกำหนด เพราะงบก่อสร้างปรับปรุงเกิน 500,000 บาท จึงถูกตัดงบไปเหลือประมาณ 140 ล้านบาทเศษ
โดยเจตนารมณ์ของรัฐบาล ต้องการแก้ไขและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่อันเนื่องมาจากปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยฯ จึงจัดตั้งโครงการงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 งบกลาง ในรายการเงินสำรองจ่ายฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ.2562 ซึ่งงบเร่งด่วนนี้ถือเป็นโครงการสำคัญที่จังหวัดนครพนม ได้มอบหมายให้ทั้ง 12 อำเภอ นำไปดำเนินการร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด
ตรงกันข้ามกลับมีข้าราชการบางคน นำปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนมาแสวงหาผลประโยชน์ โดยร่วมกับผู้ประกอบการบางราย เรียกรับเงินค่าหัวคิว โดยหักเปอร์เซ็นต์แต่ละโครงการไม่น้อยกว่า 35 % กระทั่งมีชาวบ้านร้องเรียนผ่านสื่อ หลังเป็นข่าวนายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 3 ชุด โดยมี 1.นางวิไลวรรณ ไกรโสดา รอง ผวจ.ฯ 2.นายรังสรรค์ คัมภิรานนท์ รอง ผวจ.ฯ และ 3.นายนิติพัฒน์ ลีลาเลิศแล้ว ปลัดจังหวัดฯ เป็นหัวหน้าชุด ลงพื้นที่เพื่อตรวจติดตามผลการดำเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งเรียกตามภาษาชาวบ้านว่างบภัยแล้ง พร้อมวลีเด็ดที่พูดในที่ประชุมว่า “ชอบทำงานกันแบบเด็กๆ ผมก็ต้องไล่จี้แบบนี้” โดยสั่งให้ผู้รับผิดชอบในแต่ละโครงการรายงานความคืบหน้าด้วยภาพถ่ายทุกวัน ก่อนจะดักทางพวกทำงานผักชีโรยหน้าว่า ห้ามขาดการรายงานโดยอ้างติดภารกิจอื่นเด็ดขาด ทำให้หลายโครงกาที่ทำเสร็จเรียบร้อยต้องรีบแก้ไขงานกันจ้าละหวั่น
ข่าวน่าสนใจ:
- ฝ่ายปกครอง อ.ปลาปากสนธิกำลังตร .บุกรวบหนุ่ม 20 ขาใหญ่ จำหน่ายยาบ้า โดดหลังบ้าน คว้ามีดพร้าเปิดทาง หลบหนีไปไม่รอด
- "นครพนมฮือฮา! งานศพสุดแปลก ใส่ชุดแดงฟ้อนรำส่งดวงวิญญาณ ‘เจ้แข่น’ ปิดตำนานสาวสองแห่งอำเภอนาทม
- น้องขวัญ นายก อบจ.นครพนม ลาออก ก่อนครบวาระ 3 วัน จ่อลงชิงป้องกันแชมป์
- ขอเชิญมาร่วมสัมผัส “ลมหนาว ริมฝั่งโขง ชมอุโมงไฟ ยาวที่สุด” ที่นครพนม
ส่วนอำเภอท่าอุเทน ที่ได้รับงบประมาณแก้ไขปัญหาภัยแล้งจากรัฐบาล จำนวน 27 โครงการ จากที่เสนอไปทั้งสิ้น 52 โครงการ เช่น ก่อสร้างฝายน้ำล้น ขยายท่อเมนประปาภายในหมู่บ้าน ขุดลอกสระ-ห้วย ก่อสร้างระบบประปาบาดาล และปรับปรุงระบบประปา แต่มีเกือบ 20 โครงการ จะเป็นงานขุดลอกสระและห้วย
ต่อมา นายปียา ผารุธรรม เครือข่ายธรรมาภิบาล ภาคประชาชน ได้รับการร้องทุกข์จากราษฎรพื้นที่ ต.ท่าจำปา และ ต.เวินพระบาท จึงลงพื้นที่พร้อมสื่อมวลชน พบการสร้างแพสูบน้ำหมู่ 1 ต.เวินพระบาท ส่อทุจริต เพราะเจอการยัดใส้แผ่นเหล็กเรียบดำขนาดหนา 1- 2 มม. แต่ตามแบบระบุต้องหนา 4 มม. ขนาด 4×8 ฟุต หรือจะเป็นโครงการขยายท่อเมนประปาภายในหมู่บ้านนาโสกใต้ หมู่ 3 ต.เวินพระบาท ผู้รับจ้างสะเพร่าสอดท่อประปาไปอยู่ในท่อระบายน้ำเสีย ชาวบ้านเกรงว่าหากมีการรั่วซึม มีน้ำเสียปนเปื้อนสิ่งสกปรกไปกับน้ำประปา ก็ต้องใช้น้ำที่ปนเปื้อนโดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้น้ำก็ไหลค่อยกว่าเดิม แทนที่ปรับปรุงแล้วจะดีกว่าเก่า
และการขุดลอกห้วยก้านเหลือง บ้านห้วยพระ หมู่ 14 ต.ท่าจำปา หลังตรวจสอบข้อเท็จจริง พบห้วยก้านเหลืองได้มีการขุดลอกด้วยการใช้รถแบคโฮล้วงดินข้างๆห้วยเหวี่ยงขึ้นมาแปะแต่งขอบ โดยไม่มีการสโลบดิน (Slope) หากถึงฤดูฝนน้ำจะชะดินที่อยู่ริมขอบไหลลงมาเหมือนเดิม ตามที่เสนอข่าวไปแล้ว
คืบหน้า วันที่ 17 ธันวาคม 2562 นายปียา ผารุธรรม เดินทางไปตรวจการก่อสร้างฝายน้ำล้นบ้านห้วยพระ หมู่ 14 พบกำลังเริ่มฐานล่างมีคนงานประมาณ 8 คน และมีนายมิตร วรรณไชย ผอ.กองช่าง อบต.ท่าจำปา เป็นผู้ควบคุมงาน พอเจอหน้านายปียาก็บ่นน้อยใจที่มีการออกข่าวขุดลอกห้วยก้านเหลืองไปก่อนหน้านี้ว่าข้อมูลที่นำเสนอไม่ตรงกับความเป็นจริง จึงอยากให้มีการแก้ข่าว พร้อมระบุห้วยก้านเหลืองไม่ได้ขุดลอกซ้ำซ้อนแต่เป็นการขุดลอกใหม่ ห้วยมีความลึกแค่เมตรเศษ ขณะที่นายปียายืนยันว่าถามชาวบ้านในละแวกนั้นก็บอกก่อนขุดลอกห้วยมีความลึกประมาณ 3 เมตร ไม่ได้เต้าข่าวใส่ร้าย “ถ้าไม่เชื่อชาวบ้านแล้วจะเชื่อใคร”นายปียากล่าว
จากนั้นนายมิตรใคร่อยากให้นำเสนอการขุดสระนาตาสังข์ บ้านท่าแต้ หมู่ 11 ต.ท่าจำปา เพราะผู้รับจ้างทำได้ดีมาก อีกอย่างตนเป็นผู้เขียนแบบด้วย จึงเดินทางไปยังบ้านท่าแต้ พบเป็นโครงการขุดสระใหม่เอี่ยมถอดด้าม เป็นที่ดินสาธารณะตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำสงครามประมาณ 100-150 เมตร แวดล้อมด้วยป่าบุ่งป่าทามแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำตามธรรมชาติ ซึ่งนายมิตรเผยว่าสระนี้ก่อสร้างในวงเงิน 268,400 บาท(สองแสนหกหมื่นแปดพันสี่ร้อยบาท) โดยรับน้ำซับ(น้ำใต้ผิวดิน)ที่ไหลออกมาตลอดทั้งปี จากป่าด้านทิศเหนือไหลลงท่อที่สร้างรองรับลงสระ หากมีฝนตกลงมามีปริมาณน้ำเพิ่มจนล้น ก็จะไหลออกท่อที่สร้างไว้อีกด้านสู่แม่น้ำสงคราม โดยจะมีชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ในการเกษตรไม่น้อยกว่า 30-50 ครัวเรือน แต่ขณะที่ตรวจสอบพบมีชาวบ้านเพียงรายเดียวมาปลูกพืชผักสวนครัว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: