นครพนม – วันที่ 18 ธันวาคม 2562 นายปียา ผารุธรรม เครือข่ายธรรมาภิบาลภาคประชาชน เดินทางไปตรวจโครงการขุดลอกห้วยนา หมู่ 4 บ้านโพนค้อ ต.รามราช อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม หลังได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านว่า การขุดลอกห้วยดังกล่าวไม่คุ้มกับงบประมาณ 481,800 บาท (สี่แสนแปดหมื่นหนึ่งพันแปดร้อยบาทถ้วน) ในการแก้ไขและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่อันเนื่องมาจากปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยฯ ภายหลังรัฐบาลจัดตั้งโครงการงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 งบกลาง ในรายการเงินสำรองจ่ายฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ.2562 ซึ่งงบเร่งด่วนนี้ถือเป็นโครงการสำคัญที่จังหวัดนครพนม ได้รับงบประมาณมากว่า 140 ล้านบาท และนายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้มอบให้ทั้ง 12 อำเภอ นำไปดำเนินการร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด แต่ปรากฏว่ามีข้าราชการระดับอำเภอบางคน นำโครงการดังกล่าวมาแสวงหาผลประโยชน์ ด้วยการหักค่าหัวคิวไม่น้อยกว่า 35 % ขึ้นไป ผู้ประกอบการจึงต้องลดขนาดปริมาณงานลง ตามราคาที่ได้รับจริงหลังจากที่เหลือถูกหักเปอร์เซ็นต์ไป
การนำตรวจครั้งนี้มีนายปัญญา ชนะพจน์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 บ้านโพนค้อ พร้อมด้วยนายประยงค์ เฟื้อยใต้ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดนครพนม ร่วมสังเกตุการณ์ โดยโครงการนี้ระบุว่ากว้าง 10 เมตร ยาว 900 เมตร ลึกเฉลี่ย 3 เมตร หรือมีปริมาตรดินขุดไม่น้อยกว่า 12,825 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งนายปัญญาเปิดเผยว่าห้วยนาเป็นลำห้วยธรรมชาติ จะมีน้ำในการเกษตรในเฉพาะหน้าฝนเท่านั้น ส่วนหน้าแล้งจะแห้งเหือดไป ไม่เหลือน้ำเก็บไว้ใช้การการเกษตรได้ เมื่อมีโครงการงบแก้ไขและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่อันเนื่องมาจากปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยฯ รู้สึกดีใจที่มีการขุดลอกห้วยนาแห่งนี้ ที่ตื้นเขินมานมนาน จะได้มีน้ำกักเก็บไว้ในยามแล้ง โดยมี หจก.9 พี่น้องก่อสร้าง เป็นผู้รับจ้าง แต่หลังจากที่ผู้รับเหมาทำงานเสร็จ ขนย้ายเครื่องจักรออกไปแล้ว เห็นสภาพการขุดลอกก็เชื่อได้ว่า ถึงฤดูฝนดินจะไหลลงไปอยู่ก้นห้วย ทำให้ตื้นเขินเหมือนเดิม
ด้านนายปียาฯเครือข่ายธรรมาภิบาลภาคประชาชน เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า โครงการขุดลอกห้วยนาถือว่าขี้เหร่ที่สุดเท่าที่ไปตรวจสอบมา เพราะใช้รถแบคโฮล้วงดินลึกลงไปประมาณ 1.20 เมตร เหวี่ยงขึ้นมาแต่งขอบสระ ไม่มีการสโลบดิน (Slope) ตามหลักวิชาช่าง ขุดลอกเป็นรูปพีรามิดกลับหัว ด้านบนบานส่วนด้านล่างแหลม ถึงหน้าฝนน้ำก็จะชะดินลงไปกองที่ก้นห้วยตามเดิม โครงการนี้จึงไม่คุ้มกับงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรมาให้แก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน “จึงอยากให้มีการตรวจสอบว่าเงินงบประมาณสี่แสนกว่า ถือว่าไม่น้อยทำไมทำได้ห่วยขนาดนี้ เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับโครงการขุดคลองน้ำเพื่อการเกษตรหนองงูเห่า บ้านบะหว้า หมู่ที่ 7 ต.ท่าเรือ อ.นาหว้า งบประมาณแค่ 386,000 บาท(สามแสนแปดหมื่นหกพันบาทถ้วน) ขนาดความกว้าง 8 เมตร ยาว 920 เมตร ลึกเฉลี่ย 3 เมตร หรือมีปริมาตรดินขุดไม่น้อยกว่า 13,800 ลูกบาศก์เมตร ห่างกันราวฟ้ากับเหว” นายปียา กล่าว
ข่าวน่าสนใจ:
- ชัยภูมิเปิดจุดเที่ยววันเด็กหมู่บ้าน" ช้างคืนถิ่น "ก่อนร่วมเปิดงานประจำปีเจ้าพ่อพญาแล!
- ตรัง เกษตรกรเกาะลิบง เลี้ยงกุ้งมังกร 7 สี รายเดียวในตรัง สร้างรายได้งาม
- ไร้ปาฏิหาริย์ สิ้น “อ.สุนทรี สังข์อยุทธ์” อดีตหัวหน้าหอจม.เหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ กวีซีไรต์ “จิระนันท์ พิตรปรีชา” โพสต์อาลัย
- ตรัง โครอตายยกฝูง โรคปากเท้าเปื่อยระบาดหนักขยายวงกว้าง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: