นครพนม – กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา ร่วมกับจังหวัดนครพนมและสำนักงานประสานความร่วมมือการท่องเที่ยวลุ่มน้ำโขง เป็นเจ้าภาพจัดงาน Mekong Tourism Forum 2018(MTF 2018) เพื่อสร้างศักยภาพด้านการท่องเที่ยวอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงระหว่างประเทศสมาชิก 6 ประเทศ
ที่อาคารศรีโคตรบูรณ์ มหาวิทยาลัยนครพนม จังหวัดนครพนม นายอิทธิพล คุณปลื้ม ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้แถลงข่าวและเป็นประธานพิธีเปิดการจัดการประชุม
Mekong Tourism Forum 2018 (MTF 2018) เพื่อเป็นเวทีให้ประเทศสมาชิก จำนวน 6 ประเทศ ประกอบด้วย กัมพูชา พม่า สปป.ลาว เวียตนาม ไทย และจีนตอนใต้ (ยูนนาน) ได้พบปะหารือเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกัน ภายใต้หัวข้อ “Transforming Travel” โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 – 29 มิถุนายน 2561
ข่าวน่าสนใจ:
โดยผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า การที่เลือกเอาจังหวัดนครพนม ให้เป็นที่จัดการประชุม MTF 2018 เพราะจังหวัดนครพนมเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) โดยตั้งอยู่ ณ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยติดกับประเทศลาว เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมไทย ลาว และเวียตนาม มีสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมถึงมีโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย และการเชื่อมโยงภาคพื้นดินและทางอากาศที่สะดวก
นอกจากการประชุมดังกล่าวแล้ว ยังมีการสัมมนาเรื่องการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา ซึ่งเป็นหนึ่งในการท่องเที่ยวที่มีการเจริญเติบโตเร็วที่สุดในเอเชีย การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาไม่เพียงแต่ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าสู่ประเทศ GMS แต่ยังรวมถึงการเดินทางภายในประเทศ และมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น ซึ่งนครพนมในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมการท่องเที่ยวแม่น้ำโขงในปีนี้ มีความสำคัญในการเป็น
ศูนย์กลางพุทธศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และขณะนี้ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเป็นผู้ประสานงานในการท่องเที่ยวเชิงศาสนาพุทธในภูมิภาคเอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งขณะนี้กำลังรวบรวมข้อมูลและจัดเนื้อหาเพื่อจัดทำสตอรี่บุ๊ค ร่วมกับเหล่าประเทศสมาชิกภูมิภาคและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การท่องเที่ยวนอกจากจะเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือการทิ้งขยะ โดยเฉพาะขยะที่เป็นพาสติก ดังนั้นจึงต้องหารือร่วมกันว่า ทำอย่างไรการท่องจึงจะสามารถลดการใช้แล้วทิ้งพล่าสติกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้ ซึ่งการประชุมในปี 2561 นี้ จึงได้มีการออกแบบขวดน้ำดื่มแบบรีฟีล เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของปัญหาเหล่านี้ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา มีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น และได้ซึมซับประสบการณ์อันน่าประทับใจในครั้งนี้ด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: