X

ชลประทานติดตั้งกาลักน้ำเพื่อพร่องน้ำก่อนล้นสปริงเวย์

มุกดาหาร – ชลประทานมุกดาหาร ติดตั้งกาลักน้ำเพื่อพร่องน้ำก่อนล้นสปริงส์เวย์ ในโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคันแทใหญ่ อำเภอคำชะอี อ่างห้วยหินลับ อ่างเก็บน้ำห้วยไร่ และอ่างเก็บน้ำห้วยผา อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร และอ่างเก็บน้ำอื่นที่ชลประทานรับผิดชอบรวม 22 อ่าง

เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 61 นายสัมพันธ์ เดือนศิริรักษ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานมุกดาหาร กล่าวว่า อ่างเก็บน้ำห้วยหินลับ เป็นโครงการชลประทานขนาดเล็กตามพระราชดำริ ตั้งอยู่บริเวณบ้านหนองแคน ตำบลหนองแคน อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ความเป็นมาเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จทอดพระเนตรบริเวณสถานที่ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำบ้านดงน้อย และได้เยี่ยมพสกนิกรอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2520 ทรงมีพระราชดำริกับอธิบดีกรมชลประทาน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เกี่ยวกับงานชลประทาน อ่างเก็บน้ำห้วยหินลับ ซึ่งราษฎรได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานช่วยจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก และอุปโภค – บริโภค ในเขตหมู่บ้านหนองแคน และบ้านก้านเหลืองดง ทั้งนี้ได้ทรงพระราชทานให้กองทัพภาคที่ 2 ส่วนหน้าจังหวัดสกลนคร เป็นผู้สนับสนุนกรมชลประทาน ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2522 โดยจัดเป็นโครงการร่วมของโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงบริเวณห้วยบางทราย พื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด คือ สกลนคร นครพนม และกาฬสินธุ์

ต่อมาในปีงบประมาณ 2523 กรมชลประทานได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยหินลับ เป็นเงิน 5.5 ล้านบาท สำหรับสร้างทำนบดินและอาคารระบายน้ำ แต่เนื่องจากงบประมาณน้อยและมีอุปสรรคเนื่องจากฝนตก นอกจากนั้นทางกองออกแบบได้ออกแบบอาคารระบายน้ำล้นฉุกเฉินเพิ่มเติม รวมทั้งระบบส่งน้ำ

ส่วนอ่างเก็บน้ำห้วยคันแทใหญ่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านศรีมงคล ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งก่อสร้างปี 2558 แล้วเสร็จปี 2561 รายละเอียดโครงการ อ่างเก็บน้ำห้วยคันแทใหญ่ หลังทำนบดินกว้าง 8,000 เมตร ความยาวทำนบดินประมาณ 78,000 เมตร ส่วนสูงที่สุด 36,000 เมตร ความจุของน้ำ 4.625,000 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ได้รับประโยชน์ 2,000 ไร่ พื้นที่ชลประทาน 6,400 ไร่

นายอดิศักดิ์ สังข์สกุล หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำโครงการชลประทานมุกดาหาร กล่าวว่า อ่างเก็บน้ำโดยทั่วไปเปอร์เซ็นต์ความจุของอ่างจะไม่ให้ถึงระดับ 80 % กาลักน้ำเป็นการพร่องน้ำ โดยใช้หลักการแรงดันของอากาศ ซึ่งเป็นพลังงานบริสุทธิ์ที่ไม่ต้องเสียพลังงานใด ๆ ยกตังอย่างของอ่างเก็บน้ำคันแทใหญ่ ปัจจุบันความจุอยู่ที่ 84 % และทางกรมได้สั่งการมาว่าความจุของอ่างไม่ควรเกิน 80 % ปริมาณน้ำเข้าเมื่อวานกับวันนี้ประมาณ 300,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งการระบายใช้กาลักน้ำช่วยเพิ่มขึ้นได้วันละ 200,000 ลูกบาศก์เมตรรวมกับประตูระบายน้ำธรรมชาติอีก 300,000 ลูกบาศก์เมตร ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างน้อยกว่าไหลออกจากอ่างเก็บน้ำ คาดว่าอีก 2-3 วันปริมาณน้ำในอ่างต่ำกว่า 80 % ตามเกณฑ์ที่กรมระบุ เพื่อรักษาช่องว่างของอ่างที่จะรอรับพายุที่จะเข้ามาจะเห็นได้ว่า กาลักน้ำมีประโยชน์คือ ไม่สูญเสียพลังงานใด ๆเลย ใช้พลังงานธรรมชาติสามารถพร่องน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามในการระบายน้ำเราคำนึงถึงท้ายน้ำเป็นสำคัญ จะไม่ให้เกิดผลกระทบต่อท้ายน้ำที่เราระบายออกไป

นายอดิศักดิ์ สังข์สกุล กล่าวต่อไปอีก ในส่วนของกาลักน้ำจะเห็นได้ว่าปัจจุบันระดับน้ำยังไม่ถึงระดับน้ำสูงสุด ยังไม่ถึงสปริงเวย์ ถ้าหากน้ำล้นสปริงเวย์ตัวอาคารระบายน้ำสูงสุดแล้ว จะทำให้น้ำความจุ 100 % ของอ่าง กาลักน้ำจะช่วยดูดน้ำในอ่างออกมาก่อนให้มันพร่องน้ำโดยเร็ว เพื่อให้ความมั่นใจว่าช่องว่างของอ่างสามารถรับน้ำที่จะไหลเข้ามาอีก
การติดตั้งกาลักน้ำ ใช้หลักการเดียวกันกับการดูดน้ำมันจากถัง เข้าสู่รถ การใช้แรงดันของอากาศล้วน ๆ ถ้าท้ายน้ำมีผลกระทบจากการระบายน้ำ เพียงยกกาลักน้ำออกก็เป็นการลดการระบายน้ำ ในขณะเดียวกันถ้าน้ำในอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้น เราต้องการที่จะเสริมการระบายน้ำมากขึ้น เราก็เสริมกาลักน้ำเพิ่มมากขึ้น อัตราการระบายก็จะสูงขึ้น ทั้งนี้ประโยชน์ของกาลักน้ำคือ ไม่ต้องสูญเสียพลังงานใด ๆ เลย..

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน