นครพนม – “สสจ.นพ.” แจงสถานการณ์ “ไวรัสโคโรนา” เตรียมพร้อมรอบด้าน ยึดหลักป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐ ๐๐ น. นายแพทย์จิณณพิภัทร ชูปัญญา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม พร้อมนายแพทย์ยุทธชัย ตริสกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครพนม ร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัด หัวหน้าส่วนราขการ/ หัวหน้าหน่วยงาน/ นายอำเภอทุกอำเภอ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ มีนายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานการประชุม โดยได้รายงานสถานการณ์โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ๒๐๑๙ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร ทรัพยากร ยาและเวชภัณฑ์ ณ ห้องประชุมพระธาตุพนม (ชั้น ๕) ศาลากลางจังหวัดนครพนม
นายแพทย์จิณณ์พิภัทร ชูปัญญา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม เปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคปอดบวม จากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2563 เพื่อเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร ทรัพยากร ยาและเวชภัณฑ์ และมีการลงพื้นที่ตรวจสอบความพร้อม และทดสอบวัสดุ อุปกรณ์และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โรงพยาบาลนครพนม ประชุม VDO Conference เตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข แจ้งมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคให้หน่วยบริการสาธารณสุขทุกแห่ง คัดกรองผู้ป่วยเดินทางเข้า-ออก ณ ด่านสะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-คำม่วน) ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2563 จนถึงปัจจุบัน สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งดำเนินการเฝ้าระวังคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และโรคปอดบวม โดยการซักประวัติการเดินทางจากพื้นที่ที่มีการระบาดย้อนหลัง 14 วัน ทุกราย และมีการสื่อสารความเสี่ยงการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัส โดยผ่านช่องทางเว็บไซต์สำนักงานฯ Facebook งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม สถานีวิทยุ หนังสือแจ้งเวียนทุกอำเภอ เครือข่าย อสม. สื่อประชาสัมพันธ์
ข่าวน่าสนใจ:
- คณะกรรมาธิการการพลังงาน ลงพื้นที่ศึกษาผลกระทบฝุ่นควันชายแดน นครพนม บึงกาฬ
- นครพนม รับลมหนาว ที่ริมโขง สุดชิลล์ ล่องเรือท่องเที่ยวชมสองฝั่ง ไทย - ลาว สบายๆยามเย็น
- นครพนม - ผบ.มทบ.210/รอง ผบ.นบ.ยส.24 (2) ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานมอบนโยบาย ข้อสั่งการ และข้อเน้นย้ำ แนวทางการปฏิบัติงานของหน่วย นบ.ยส.24
- นครพนม : นรข. ติดตามขยายผลผู้ต้องหายาเสพติดพื้นที่อำเภอท่าอุเทน สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด
“สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป คัดกรองผู้ป่วยที่สนามบิน โรงพยาบาล และในชุมชน ร่วมสอบสวนโรคกับพื้นที่กรณีพบผู้ป่วยปอดอักเสบและรุนแรงหรือเสียชีวิต หน่วยบริการสาธารณสุขจัดทำแนวทางการรักษาผู้ป่วย และพร้อมปรับเปลี่ยนตามที่กรมควบคุมโรคแนะนำ โดยยึดหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ จัดระบบติดตามผู้สัมผัสและเฝ้าสังเกตอาการ จัดระบบการประสานงาน เชื่อมโยง รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลจากหน่วยที่เกี่ยวข้อง จัดกลไกสื่อสารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย” นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม กล่าว
ในส่วนของสถานการณ์ในต่างประเทศ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2563 สาธารณรัฐประชาชนจีน รายงานจำนวนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นครั้งแรก จำนวน 41 ราย วันที่ 29 มกราคม 2563 พบผู้ป่วยยืนยันในประเทศกระจายเกือบทุกเมือง (ยกเว้นเมือง Xizang หรือธิเบต) จำนวน 5,974 ราย อาการรุนแรง 1,239 ราย เสียชีวิต 132 ราย และมีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก จำนวนทั้งสิ้น 6,066 ราย โดยวันที่ 29 มกราคม 2563 พบผู้ป่วยยืนยันนอกประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ จำนวน 78 ราย ใน 17 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐสิงคโปร์ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลีใต้ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐ ฝรั่งเศส เครือรัฐออสเตรเลีย มาเลเซีย แคนาดา ไต้หวั ราชอาณาจักรเนปาล เขตปกครองพิเศษฮ่องกง มาเก๊า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา
สำหรับสถานการณ์ภายในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 3 – 25 มกราคม 2563 กรมควบคุมโรคได้ดำเนินการเฝ้าระวังคัดกรองผู้โดยสารเครื่องบินในเส้นทางที่บินตรงมาจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานกระบี่ จำนวน 137 เที่ยวบิน ผู้เดินทางและลูกเรือได้รับการคัดกรองทั้งสิ้น 21,522 ราย วันที่ 24 – 29 มกราคม 2563 ท่าอากาศยานเชียงราย ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานกระบี่ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ คัดกรองผู้โดยสารสายการบินจากสาธารณรัฐประชาชนจีน 92 เที่ยวบิน ผู้เดินทางและลูกเรือได้รับการคัดกรอง จำนวน 6,953 ราย
วันที่ 29 มกราคม 2563 พบผู้ป่วยอาการเข้าได้ตามนิยามเพิ่มขึ้น จำนวน 44 ราย ทำให้รวมพบผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้ตามนิยามทั้งหมด 202 ราย คัดกรองได้ที่สนามบิน จำนวน 31 ราย นอกจากนี้มีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าตามนิยามไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล 165 ราย แบ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชน 105 ราย โรงพยาบาลรัฐ 49 ราย อื่นๆ จำนวน 6 ราย และในจำนวนนี้ได้พักรักษาตัวรวม 76 ราย อยู่ที่โรงพยาบาลรัฐ 54 รายและโรงพยาบาลเอกชน 40 ราย และสังเกตอาการห้องแยก 27 ราย ผู้ป่วยอาการดีขึ้นและได้กลับบ้านแล้วจำนวน 66 ราย พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ Novel Coronavirus 2019 จำนวน 14 ราย ส่วนผู้ป่วยรายอื่นที่ทราบเชื้อที่เป็นสาเหตุจากห้องปฏิบัติการ (44) ประกอบด้วยInfluenza A 11 ราย, Influenza B 12 ราย, Influenza C 1 ราย, Adenovirus 1 ราย, Coronavirus OC43 1 ราย, Streptococcus pneumoniae1 ราย, Bronchitis 4 ราย, Nasopharyngitis 2 ราย, Pharyngitis 3 ราย, Common cold 1 ราย, RSV infection 3 ราย, Tonsillitis 1 ราย, Rhinovirus 1 ราย Hyperthyroid Fever 1 ราย Pneumonia 1 ราย และรอสรุปผลตรวจวินิจฉัย 144 ราย
มาตรการในประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2563 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ยกระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน เป็นระดับ 3 เพื่อติดตามสถานการณ์โรคทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด และบริหารจัดการทรัพยากร เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการเฝ้าระวังค้นหาผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสที่มาจากต่างประเทศ โดยเน้นการคัดกรองไข้ณ ช่องทางเข้าออกประเทศที่ท่าอากาศยาน 5 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ตและกระบี่ เพิ่มการเฝ้าระวังที่โรงพยาบาล สนับสนุนการเตรียมความพร้อมสำหรับรับมือโรคติดต่ออุบัติใหม่ โดยครอบคลุมระบบบริการสาธารณสุขทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนแหล่งท่องเที่ยว โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันของกระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานตำรวจแห่งชาติและ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม และจัดทำรายงานสถานการณ์ฉบับภาษาอังกฤษและใบความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโรคในฉบับภาษาต่างประเทศ เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์กรมควบคุมโรค วันที่ 23 มกราคม 2563 ได้ยกระดับการแจ้งเตือนโรคในผู้เดินทางเป็นระดับ 3 ให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด
อนึ่ง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ป้องกันได้โดยใช้หลักการป้องกันโรคติดต่อทางเดินหายใจ ได้แก่ ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย และไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ สามารถเดินทางไปประเทศจีนได้แต่ระหว่างเดินทางในต่างประเทศขอให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัดหรือมีมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอจาม หากเลี่ยงไม่ได้ให้สวมใส่หน้ากากอนามัย ภายใน 14 วัน หลังเดินทางกลับจากเมืองอู่ฮั่น หากมีไข้ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ เจ็บคอมีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพบแพทย์ทันทีพร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทางไปประเทศจีน หลีกเลี่ยงการไปตลาดที่ขายซากสัตว์ป่าหรือที่มีชีวิต และการสัมผัสโดยไม่ใช้ถุงมือ หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำ และสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น (เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว) เนื่องจากเชื้อก่อโรคทางระบบทางเดินหายใจสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ รับประทานอาหารปรุงสุกร้อน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: