นครพนม – รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นำเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการธนาคารโค – กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดําริ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่นครพนม
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ที่จังหวัดนครพนม นายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานนำคณะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการธนาคารโค – กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดําริจาก ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 75 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 108 คน ร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อสืบสานพระราชปณิธานงานธนาคารโค – กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ สู่การพัฒนาอาชีพเกษตรกรอย่างมั่นคง เข็มแข็งและยั่งยืน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่กองงานพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษจัดขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ผลงานวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอผลสำเร็จของแต่ละหน่วยที่ใช้ในการขับเคลื่อนโครงการ เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้กรมปศุสัตว์เป็นผู้ดำเนินการ มาตั้งแต่ปี 2522 และปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลากว่า 40 ปี เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้มี โค – กระบือ เป็นของตนเอง เพื่อใช้ในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ทำให้ทุกคนในครอบครัวมีความสุข มีชีวิตความเป็นอยู่ที่มั่นคง เข้มแข็งและยั่งยืน
ข่าวน่าสนใจ:
- ชาวบ้านผวา พบเสือ 3 แม่ลูก ป้วนเปี้ยนในป่า 100 ไร่ใกล้ฟาร์มเลี้ยงวัว ไม่กล้าเกี่ยวข้าว-กรีดยาง วอนบุกพิสูจน์
- บุกพิสูจน์ หลังชาวบ้าน พบเสือ หนุ่ม 27 ถ่ายคลิปเสือขณะกรีดยาง
- นครพนม ทหารพรานสนธิกำลังยึดยาบ้าเกือบ 2 แสนเม็ด! ตรวจพบฝิ่นดิบกว่า 3 กิโลกรัม ริมแม่น้ำโขง
- นครพนม : กองทัพบก ร่วมกับ Kubota มอบไออุ่นในพื้นที่ภาคอีสาน มอบเสื้อกันหนาวให้ชาวนครพนม ตามโครงการ "คูโบต้า พลังใจ สู้ภัยหนาว" ปี 2567
นายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ปัจจุบันโครงการธนาคารโค – กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดําริ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรไปแล้ว 299,820 ราย โดยมีการสนับสนุนโค – กระบือไปแล้วไม่น้อยกว่า 300,000 ตัว คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าหกพันล้านบาท ซึ่งยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการดำเนินงานเพื่อสนองพระราชปณิธานของพระองค์ท่าน ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่ทุกคนจะได้เห็นถึงแนวคิดใหม่ๆ เพื่อนำกับไปพัฒนาและขับเคลื่อนโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งหมายถึงเกษตรกรในพื้นที่จะได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้นตามไปด้วย เช่นกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการของจังหวัดนครพนมที่มีการรวมกลุ่ม แล้วนำมูลของ โค – กระบือและผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ มาต่อยอดหมักผ้าไหม ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมูลมงคล ที่นอกจากจะสวยงาม มีกลิ่นหอม สวมใส่สบายแล้ว ยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในชุมชนอีกด้วย ซึ่งถ้าทุกหน่วยที่มาสัมมนาในวันนี้สามารถส่งต่อแนวความคิดในลักษณะนี้ที่แตกต่างออกไป ก็จะเป็นการพัฒนาความสำเร็จของโครงการเพิ่มขึ้นไปอีกขั้น ทั้งนี้ในส่วนของการดำเนินงานที่มีปัญหาเกี่ยวกับกรณีเกษตรกรผิดสัญญาทางกรมปศุสัตว์ก็ได้กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาไว้เรียบร้อยแล้วเพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถดำเนินการต่อไปได้ รวมถึงขอความร่วมมือในการดำเนินโครงการไถ่ชีวิต โค – กระบือ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งได้มีการขยายเวลาดำเนินการออกไปจนถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2563 เพื่อให้ครบเป้าหมายจำนวน 4,910 ตัว และที่สำคัญอีกอย่างคือการติดตามลูกโค – กระบือตัวที่ 1 อายุครบ 18 เดือนจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำไปส่งต่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรรายใหม่ต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: