นครพนม – เปิดหนังสือของชายชรา ร่อนถึงนายกสภา มนพ. แนะงัดกฎหมายศรีธนญชัยตะแบงสู้ รมว.อว. และวางแผนโค่นวันที่ 8 พค. บุญยังเยอะเจอ set zero ทั้งกะบิ
สืบเนื่อง นายสุวิทย์ เมษิณทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(รมว.อว.) ใช้อำนาจตามมาตรา 51 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา ตั้งกรรมการเข้าควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อไปอีก set zero ปลดนายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม และคณะกรรมการยกชุด พร้อมตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ เข้าควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยแต่งตั้งให้ นายสุเมธ แย้มนุ่น อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา(กกอ.) เป็นประธาน พร้อมด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิรวม 7 คนส่งผลให้ผู้บริหารชุดปัจจุบันที่มี ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม(6 เมย.2562) ต้องยุติการปฎิบัติหน้าที่โดยอัตโนมัติ โดยคำสั่งดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
ข่าวน่าสนใจ:
- นครพนมคึกคัก! เปิดศึกเลือกตั้ง อบจ. วันแรก “ศุภพานี-ประสงค์” ชิงชัย พร้อมนโยบายพัฒนาท้องถิ่น
- นครพนม : หมอสงค์ หมอผู้สร้าง เปิดตัวสมัครนายก อบจ.นครพนม พร้อม ส.อบจ.นครพนม
- มุกดาหาร แรลลี่ลุ่มน้ำโขง MEKONG CAR RALLY ท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดสนุก ปชส. จังหวัดทั้ง 3 รับนักท่องเที่ยวปีใหม่
- กองเชียร์นายกก้อยคึก แม้ไม่มีคู่แข่งดีกรีพอทาบบารมีได้ ในสนามชิงนายก อบจ.แปดริ้ว
เหตุผลสำคัญที่กำหนดไว้ในมาตรา 51 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา คือ ขัดคำสั่ง รมว.อว. และมีปัญหาธรรมาภิบาลอย่างรุนแรง ซึ่งในส่วนของมหาวิทยาลัยนครพนม มีปัญหายืดเยื้อมายาวนาน ดังนั้นเพื่อไม่ให้กระทบกับคุณภาพการศึกษา จึงแต่งตั้งกรรมการควบคุมเข้าไปดำเนินการแทน
ก่อนหน้านี้เกิดกรณีที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนักในวงการศึกษาเมื่อมีจดหมายจากผู้ที่อ้างตัวเองเป็นอดีตเลขาธิการ สกอ. ส่งถึง ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ นายกสภา มนพ. หลังเหตุการณ์ปลด ผศ.ดร.พัฒนพงษ์ วันจันทึก รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนม(รก.อธก.มนพ.) เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 โดยหลักใหญ่ใจความเป็นการกล่าวหาว่านายกสภาฯ เชื่อที่ปรึกษาคนหนึ่ง พาไปถลำลึกจนจะเดินต่อไม่ได้ เนื้อหาอารัมภบทร่ายยาวถึง 7 หน้ากระดาษ
โดยเริ่มจากเรื่องเครื่องฝึกบินของวิทยาลัยการบินนานาชาติ มหาวิทยาลัยนครพนม ตกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559 มีผู้เสียชีวิตรวม 3 ศพ หนึ่งในนั้นคือนายยิ่งยศ อุดรพิมพ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม และประธานกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูเกษตรกรแห่งชาติ ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของ ผศ.ดร.พัฒนพงษ์ วันจันทึก รองอธิการบดี มนพ.(ในขณะนั้น) ปัญหาที่ถกเถียงกันมากคือนายยิ่งยศเป็นบุคคลภายนอกอยู่ในเครื่องบินลำนั้นได้อย่างไร และจะบินไปไหน ซึ่งทราบภายหลังว่า คณบดี ว.การบินฯในขณะนั้น ได้รับคำสั่งด้วยวาจาจากผู้มีอำนาจใน มนพ.คนหนึ่ง ให้พานายยิ่งยศไปลงที่ดอนเมือง กทม. เพื่อให้ทันเข้าประชุมกองทุนฟื้นฟูฯ
ผลการสอบสวนชี้มูลความผิดว่ามีทั้งหมด 4 คน ที่จะต้องสอบสวนวินัยร้ายแรง โดยกล่าวหาว่ามีการนำเครื่องบินขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่งเรื่องให้สภา มนพ.ดำเนินการ แต่กลับถูกดองเงียบมานานนับปี โดยหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษไม่ได้
โดยหลังเหตุการณ์เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 ที่ได้มีการประชุมสภามหาวิทยาลัยนครพนม ครั้งที่ 1 /2563 มี ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ นายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม เป็นประธานในการประชุม ร่วมกับ กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มีคำสั่งให้ ผศ.ดร.พัฒนพงษ์ วันจันทึก รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม พ้นจากตำแหน่ง และให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง นอกจากนี้ยังแต่งตั้งให้ ศ.ดร.อภิรัฐ ศิริธราธิวัตร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นรักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนม(รก.อธก.มนพ.) แทนคนเดิมที่ถูกสั่งปลดพ้นจากตำแหน่ง
จากมูลเหตุที่ปลด ผศ.ดร.พัฒนพงษ์ วันจันทึก อดีต รก.อธก.มนพ.นี่เองจึงเป็นที่มาของจดหมาย ตัดพ้อของชายชราถึงนายกสภาฯ ออกหน้ารับแทนว่าอำนาจการอนุมัติเครื่องขึ้นบินเป็นของคณบดี ว.การบินฯ พร้อมให้ใช้ทำนองเอาสีข้างตะแบง งัดกฎหมายศรีธนญชัย วิเคราะห์คำว่า”อำนาจหน้าที่” กล่าวหาว่าการออกคำสั่งขัดต่อกฎหมาย โดยใช้กรรมการเสียงข้างมากในสภาฯออกมาเคลื่อนไหวกดดันคัดค้านคำสั่ง
สาระสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ชายชราผู้นี้ยอมรับว่าได้ปลดผู้รักษาราชการในตำแหน่งอธิการบดีนั้นจริง ซึ่งไปขัดแย้งกับกลุ่มลิ่วล้อที่ดาหน้าออกมาอ้างว่าไม่ได้ปลด เป็นแค่การปรับเปลี่ยนหน้าที่ชั่วคราวเท่านั้น
นอกจากนั้นชายชรายังแนะนายกสภา มนพ. ควรคุยกันแบบลับๆเฉพาะคนในครอบครัวเดียวกัน ยกคำอ้างถึงเกียรติยศเกียรติภูมิของสภา มนพ. และไม่จำเป็นต้องเอาคนนอกมาเป็น รก.อธก.มนพ. จะมีการสมคบคิดยึด มนพ. ในระยะยาว แถมอ้าง รมว.อว. ไม่ได้สั่งการให้ปลด จึงควรสั่งให้ไล่ รก.อธก.มนพ.คนปัจจุบันออกไปก่อน แล้วดึงคนเดิมกลับเข้ามา ทำฟอร์มลาไปเรียนเพิ่มพูนปัญญาสักสามเดือนหกเดือน แล้วมอบอำนาจให้รองอธิการฯคนใดคนหนึ่งให้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ซึ่งจากหนังสือดังกล่าว ปรากฏว่าเหตุการณ์เป็นไปตามคำชี้แนะของชายชราทุกประการ เพราะวันที่ 17 มกราคม 2563 หลัง ศ.ดร.อภิรัฐ ศิริธราธิวัตร นั่งรักษาการฯได้เพียง 7 วัน ก็ต้องเขียนหนังสือลาออก เพราะถูกข่มขู่ถึงขั้นเอาชีวิต และคนเก่าก็กลับเข้ามาแบบเถื่อนๆ โดยอาศัยจำนวนเสียงของกรรมการในสภา มนพ. ลงมติตามใบสั่งแบบอาศัยพวกมากลากไป ไม่ต้องผ่านกระบวนการสรรหาให้เสียเวลา อีกทั้งบังอาจแต่งตั้งรองอธิการบดีฯ คนหนึ่ง มาปฏิบัติหน้าที่แทนเป็นเวลา 3 เดือน ทั้งที่ตัวเองพ้นสภาพไปแล้วตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2563 จึงมีการแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ ผศ.ดร.พัฒนพงษ์ วันจันทึก กระทำการขัดต่อมาตรา 145 โดยแอบอ้างเป็นเจ้าพนักงาน ขณะเดียวกันก็มีขุนพลอยพยัก เขียนบัตรสนเท่ห์อ้างเป็นพฤติกรรมประพฤติมิชอบเตรียมโค่น ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ นายกสภา มนพ. ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 แต่มีหนังสือ set zero ผู้บริหารสภามหาวิทยาลัยนครพนมยกชุด ออกมาก่อนหน้านี้ แผนการณ์ดังกล่าวจึงถูกล้มไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: