นครพนม – วันที่ 17 มิถุนายน 2563 ที่จังหวัดนครพนม นายร่มไม้ นวลตา เกษตรจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด – 19 เราจะเห็นว่าแหล่งอาหารถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญยิ่ง ถ้าทุกคนมีอยู่ที่บ้านก็จะเป็นทางออกที่ดีแม้ไม่ใช่ในยามที่เดือดร้อน โดยหลายคนอาจจะไม่มีองค์ความรู้ในด้านนี้และพยายามหาแหล่งเรียนรู้เพื่อนำไปปฏิบัติ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ของชุมชน ที่เป็นศูนย์กลางการบริการและการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตร ทั้งจากตัวเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร ตลอดจนเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ดังนั้นเพื่อเป็นการขับเคลื่อนศูนย์ดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจึงได้นำเกษตรอำเภอต่าง ๆ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และข้าราชการใหม่ในสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนมลงพื้นที่บ้านโพนทา ตำบลกุตาไก้ อำเภอปลาปาก เพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับอำเภอ (DW) กับกลุ่มเกษตรกรที่ฟาร์มตัวอย่างหนองปลาค้อเฒ่า ทำให้ทุกคนได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ แนวคิดใหม่ๆ ที่ได้มีการพัฒนา ต่อยอด ปรับปรุงจนประสบความสำเร็จและนำไปขยายผลต่อยังประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของตนเองผ่านทางศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่ต้องการขับเคลื่อนระบบส่งเสริมการเกษตรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน ทำให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืน
สำหรับฟาร์มตัวอย่างหนองปลาค้อเฒ่าแห่งนี้นั้น เป็นฟาร์มแบบเกษตรอินทรีย์ ที่ถือเป็นต้นแบบการทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเองที่ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้มาเรียนรู้และนำไปปรับใช้ได้เป็นอย่างดี โดยภายในฟาร์มมีกิจกรรมมากมายหลายรูปแบบทั้ง การทำก้อนเชื้อเห็ดและการเพาะเห็ดเพื่อจำหน่าย การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยหมักที่นอกจากจะช่วยในการย่อยสลายขยะอินทรีย์และเศษอาหารจากบ้านเรือนแล้วยังช่วยลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ย การผลิตถ่านไบโอชาร์จากวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดิน เพิ่มปริมาณคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรและลดระยะเวลาในการเพาะปลูกพืชชนิดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการปลูกพืชผักสวนครัวแบบอินทรีย์เพื่อการจำหน่าย การปลูกมันเทศ ปลูกเมล่อน ปลูกไม้ยืนต้น เช่น ลิ้นจี่พันธุ์ นพ.1 ซึ่งเป็นลิ้นจี่ที่ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ด้วยมีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว คือผลมีขนาดใหญ่ เปลือกสีแดงอมชมพู รูปทรงเหมือนไข่ เนื้อผลแห้งสีขาวขุ่น เมื่อปลอกออกมารับประทานจะให้รสหวานอมเปรียว ไม่มีรสฝาดเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงกิจกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรภายในฟาร์มเพื่อการจำหน่าย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ข่าวน่าสนใจ:
- รวบแล้ว ไอ้โชค มือฆ่าคนเลี้ยงวัววัย 59 ฉุนมาขุดจิ้งหรีดในสวนที่เช่าไว้ ก่อนหนีไปซ่อนในบ่อขยะ
- ปชน.ตรัง จัดรำลึกลุงนวมทอง เร่งขยายฐานสมาชิกให้ครบแสนคน ตรังพุ่ง 300 คนแล้ว รอตั้งสาขาพรรค ลั่น กวาดเก้าอี้ส.ส.เขตรอบหน้า
- ศาลฏีกาพิพากษายืน!! คดีผอ.ตุ๊ก่อเหตุฆ่า"น้องหลิว"ทิ้งศพนิรนามป่าอ้อย 12 ปี จำคุกตลอดชีวิตและชดใช้เงิน 1.7 ล้านบาท
- รถจักรยานยนต์พุ่งชนคนที่ยืนรอรถเจ็บหลายราย ก่อนจะซิ่งหลบหนีไป
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: