นครพนม – วันที่ 11 กรกฎาคม 2563 ที่บ้านยอดชาด หมู่ที่ 2 ตำบลยอดชาด อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน พร้อมคณะผู้บริหารกรมพัฒนาที่ดินลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจเกษตรกรในโครงการ Zoning by Agri-map ของกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนการทำการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแผนที่ Agri-map เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้น
นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า โครงการ Zoning by Agri-map เป็นโครงการที่ดีมากเพราะตั้งแต่ดำเนินงานมา พบว่ามีเกษตรกรจำนวนมากที่ปลูกพืชในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้ามาร่วมโครงการแล้วเกือบ 10 ล้านไร่ เพราะการทำการเกษตรในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยง ผลผลิตที่ได้ก็ไม่เต็มที่ รวมทั้งเจอปัญหาน้ำท่วม ฝนแล้ง อะไรต่าง ๆ อีกมากมาย โดยโครงการนี้จะเป็นการปรับเปลี่ยนการทำการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ตามแผนที่ Agri-map เพราะเดิมทีเกษตรกรมักจะปลูกพืชเชิงเดี่ยว เวลาทำงานในแปลงในพื้นที่อาจจะน้อย ผลผลิตที่ได้ต่ำและมีความเสี่ยงสูง แต่เมื่อเข้าร่วมโครงการเกษตรกรอาจจะต้องเหนื่อยมากขึ้น แต่ก็จะได้ผลผลิตที่มากขึ้น รายได้ก็มากขึ้น คุณภาพชีวิตก็จะดีขึ้นตามไปด้วยเช่นเดียวกัน
ข่าวน่าสนใจ:
- มท.1 เยือนจังหวัดนครพนม เปิดงานมหกรรมเทศกาลปลาลุ่มน้ำสงคราม ประจำปี 2567 ครั้งที่ 21 ผลักดัน Soft Power อำเภอศรีสงคราม
- นครพนม: เลขาธิการ ป.ป.ส. และ มทภ.2/ผบ.นบ.ยส.24 ประชุมสรุปผลรอบ 3 เดือน โชว์ผลงานยึดยาบ้ากว่า 45 ล้านเม็ด มูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท
- นครพนม : หมอสงค์ หมอผู้สร้าง เปิดตัวสมัครนายก อบจ.นครพนม พร้อม ส.อบจ.นครพนม
- นครพนม เปิดคลิป วัยรุ่น เหิมหนัก ยกพวกใช้มีดไล่ฟันคู่อริ พร้อมทุบทำลายทรัพย์สินอย่างไม่เกรงกลัวกฏหมาย
ซึ่งในวันนี้เป็นการลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจเกษตรกรจังหวัดนครพนม ที่บ้านยอดชาด ตำบลยอดชาด อำเภอวังยาง ซึ่งพื้นที่ตรงนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการในปี 2563 จำนวน 34 ราย มีพื้นที่การเกษตรประมาณ 500 ไร่ มีนายสมัย แสนสุริวงค์ เป็นแกนนำในการนำเพื่อนเกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่การเกษตรของตนเอง ที่เดิมเป็นพื้นที่นา ก็จะเริ่มเห็นว่าที่นามีการปรับรูปแปลงนาให้มีขนาดแปลงที่ใหญ่ขึ้น มีการบริหารจัดการที่ดีขึ้น มีการขุดบ่อเล็ก ๆ สำหรับกักเก็บน้ำเพื่อทำการเกษตรและเลี้ยงปลา มีการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นไว้รับประทาน รวมทั้งมีการปลูกหญ้าสำหรับเลี้ยงโคของตนเองเพราะทราบว่าพื้นที่ตรงนี้มีการเลี้ยงโคเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าเกษตรกรมีการปรับจากการทำนาอย่างเดียวกลายเป็นการเกษตรผสมผสาน
และจากการพูดคุยสอบถามเกษตรกรที่นี่ดีใจมากที่มีโครงการแบบนี้ และทราบมาว่ามีเกษตรกรอีกหลายแห่งที่สนใจที่จะร่วมโครงการกับเรา โดยในปี 2563 กรมพัฒนาที่ดินเราทำโครงการทั้งประเทศ 100,000 ไร่ ปีหน้าก็จะมีอีก จึงขอเชิญชวนให้เกษตรกรทุกคนมาร่วมโครงการดี ๆ กับเรา ซึ่งสามารถติดต่อได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด หรือจะติดต่อผ่านทางหมอดินอาสาก็ได้เช่นเดียวกัน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: