นครพนม – 19 ต.ค. 2561 ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม นายราชันย์ ไชยศิลป์ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช รักษาการเกษตรจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า ปัญหาผลผลิตสินค้าเกษตรล้นตลาดเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ที่ตกต่ำลง และจากการสำรวจข้อมูลพบว่าเกษตรกรในประเทศไทยสามารถผลิตข้าวเปลือกได้ประมาณ 32.63 ล้านตันต่อปี แต่มีความต้องการตลาดรองรับเพียง 30.88 ล้านตันเท่านั้น ขณะที่ในภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์กับมีความต้องการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงถึง 8 ล้านตันต่อปี แต่เกษตรกรสามารถผลิตได้เพียง 5 ล้านตัน
อีกทั้งพื้นที่จังหวัดนครพนมก็มีความเหมาะสมกับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่ 4 อำเภอ คือ อำเภอเมืองนครพนม อำเภอปลาปาก อำเภอธาตุพนม และอำเภอเรณูนคร รวม 2,112 ไร่ ที่สำคัญอีกอย่างคือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยกว่าการทำนาประมาณ 2-3 เท่า นอกจากนี้ยังช่วยลดการแพร่ระบาดของแมลง ราคาดีและช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาให้เกษตรและเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดทำให้ทุกคนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น จึงได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจ ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนะนำการปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยวแก่เกษตรกรในพื้นที่
ข่าวน่าสนใจ:
- นครพนม: เลขาธิการ ป.ป.ส. และ มทภ.2/ผบ.นบ.ยส.24 ประชุมสรุปผลรอบ 3 เดือน โชว์ผลงานยึดยาบ้ากว่า 45 ล้านเม็ด มูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท
- นครพนม : หมอสงค์ หมอผู้สร้าง เปิดตัวสมัครนายก อบจ.นครพนม พร้อม ส.อบจ.นครพนม
- มุกดาหาร แรลลี่ลุ่มน้ำโขง MEKONG CAR RALLY ท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดสนุก ปชส. จังหวัดทั้ง 3 รับนักท่องเที่ยวปีใหม่
เพื่อปรับเปลี่ยนแนวความคิดในการผลิตสินค้าเกษตรหลังฤดูการเก็บเกี่ยวที่เดิมจะทำนาปรังเปลี่ยนมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทน ซึ่งเกษตรกรจะได้รับค่าตอบแทนที่คุ้มค่ามากกว่าการทำนาปรัง เพราะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1,003 กก./ไร่ ขณะที่เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตประมาณ 4,624.53 บาท/ไร่ นั้นหมายถึงเกษตรกรจะมีกำไรประมาณ 3,690.34 บาท/ไร่ แต่ถ้าทำนาปรังจะได้ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 666 กก./ไร่ ซึ่งมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยประมาณ 4,895.17 บาท/ไร่ จะมีกำไร 306.29 บาท/ไร่เท่านั้น
ทั้งนี้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสานพลังประชารัฐ เพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา ยังจะได้รับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่ให้กู้เงินมาลงทุนการผลิตไร่ละ 2,000 บาท แต่ไม่เกิน 15 ไร่ต่อราย โดยจะคิดอัตราดอกเบี้ยเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรร้อยละ 0.01 ที่เหลือร้อยละ 3.99 รัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. แทน รวมถึงมีการประกันภัยพืชผลให้กับเกษตรทุกไร่ โดยได้รับเบี้ยประกันภัยกรณีเหตุสาธารณภัยไร่ละ 1,500 บาท และกรณีโรคพืชและแมลงศัตรูพืช ไร่ละ 700 บาท
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: