นครพนม – บริหารจนเจ๊ง ทีมคณะบุคคล ม.นครพนม รับ เงินสะสมติดลบกว่า 80 ล้าน ขณะปัญหา ยุบ ว.การบิน ฯ ยังไม่ได้ข้อสรุป
เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564 รศ.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนม(รก.อธก.มนพ.) เป็นประธานในการเปิดแถลงข่าวเพื่อชี้แจงให้สื่อมวลชนกรณีการใช้งบประมาณของวิทยาลัยการบินนานาชาติ(ว.การบินฯ)
โดยในงานนอกจากจะมีสื่อมวลชนแล้วยังมีบุคลากร ว.การบินฯ กว่า 50 คนนำโดย พล.อ.อ.อารมย์ ปัถวี รักษาราชการแทนคณบดีวิทยาลัยการบินฯ เข้าร่วมรับฟังด้วยในฐานะผู้เสียหายจากการที่ มนพ.นำงบประมาณแผ่นดิน ที่สำนักงบประมาณจัดสรรให้ ว.การบินฯ แต่กลับถูกอดีตผู้บริหาร มนพ.ในขณะนั้น นำไปจัดสรรให้หน่วยงานอื่น จนเป็นเหตุให้ ว.การบินฯ มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย จนเป็นเหตุให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาศึกษาว่าจะยุบ ว.การบินฯ หรือเดินหน้าต่อไปอย่างไร
ที่ประชุมมี รศ.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย รก.อธก.มนพ.เป็นประธาน พร้อมด้วย นายเอื้อ มูลสิงห์ที่ปรึกษากฎหมาย ผศ.ดร.นุชรัตน์ มังคละคีรี ผศ.ดร.ทัศนา ประสานตรี รองอธิการบดีฯ ตลอดจนคณบดีบางคณะและบุคลากร มนพ.บางส่วน ขณะที่ น.ส.ชลธิชา ศรีลาอ่อน รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน นายวิศรุต สมเทพ หัวหน้าการเงิน ทำหน้าที่เป็นฝ่ายข้อมูล
ข่าวน่าสนใจ:
- เชียงใหม่- อบจ.มอบ 10 ล.เปิดศูนย์ รับ PM2.5 ปี 68
- แชร์สนั่น! ซอไม้ไผ่ สุดยอดนวัตกรรมดนตรีวัยรุ่นยุคใหม่ เท่อย่างไทยสู่สากล
- ฝ่ายปกครอง อ.ปลาปากสนธิกำลังตร .บุกรวบหนุ่ม 20 ขาใหญ่ จำหน่ายยาบ้า โดดหลังบ้าน คว้ามีดพร้าเปิดทาง หลบหนีไปไม่รอด
- พัทลุง!ล๊อตมโหฬารกว่า 200 ล้าน พัทลุงคือ1ใน 3 อันดับแรกของเมืองหลวงบุหรี่เถื่อน
หลังประธานกล่าวถึงวัตถุประสงค์แล้ว นายวัชรินทร์ เจียวิริยะบุญญา อดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัยนครพนมสายผู้ทรงคุณวุฒิแต่ได้ลาออกจากตำแหน่งก่อนที่กระทรวง อว. จะมีคำสั่งให้ยุบสภามหาวิทยาลัยนครพนม ได้ถามคณะผู้บริหารเกี่ยวกับกรณีที่ มนพ.หักเงินรายได้ประมาณ 40% ของรายได้ทั้งหมด โดยนำเงินไปใช้ในหน่วยงานอื่นทั้ง ๆ ที่ ว.การบินฯจะต้องนำเงินรายได้มาใช้จ่ายในการบริหารกิจการของ ว.การบิน จนทำให้สถานะทางการเงินของ ว.การบินต้องสั่นคลอนไม่มีเงินเหลือแม้สักบาทเดียว แถมยังมีงบประมาณติดลบอีกด้วย จึงใคร่ขอให้คณะบุคคลที่เข้ามาดูแลตอนนี้ช่วยแก้ไขปัญหาของวิทยาลัยการบิน ที่ถูกกลุ่มผู้บริหารเดิมนำเงินงบประมาณรวมถึงเงินรายได้ของ ว.การบินฯ ไปใช้ในคณะอื่นจนถึงขนาดทำให้ ว.การบินต้องประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไม่มีแม้กระทั่งเงินที่จะจ่ายเงินเดือนให้แก่บุคลากร ซึ่งเรื่องนี้นับเป็นการบริหารงานที่ผิดพลาดของคณะผู้บริหารชุดก่อนที่บริหารกันจนไม่มีเงินเหลือมีการดึงเงินรายได้ของ ว.การบินฯซึ่งถือได้ว่ามีรายได้อยู่ในลำดับต้นๆ ของม.นครพนมไปใช้โดยไม่คำนึงถึงสภาพการเงินของ ว.การบินฯ ว่าจะสามารถบริหารงานไปได้หรือไม่ และในที่สุดก็ขาดสภาพคล่อง จนเกินจะเยียวยาถึงขนาดต้องตั้งอนุกรรมการขึ้นมาศึกษากันว่าจะยุบหรือไปต่อซึ่งตนเห็นว่าไม่เป็นธรรมกับบุคลากรและนักศึกษา ของ ว.การบินที่ไม่มีความผิดใด ๆ แต่กลับต้องถูกยุบ ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นที่กังขาของบุคลากรวิทยาลัยการบินและนักศึกษา เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากที่ผ่านมาเป็นหน่วยงานที่สามารถทำรายได้ให้กับมหาวิทยาลัยนครพนมอันดับต้น ๆ ต้องระลึกไว้ว่าการที่กระทรวง อว. มีคำสั่งใช้ ม. 51 กับสภามหาวิทยาลัยนครพนม เนื่องเพราะมีปัญหาเรื่องธรรมมาภิบาลอย่างรุนแรง ดังนั้นผลพวงจากเหตุดังกล่าวได้ส่งผลให้เห็นแล้วว่าอดีตผู้บริหาร ม.นครพนมบริหารงานอย่างไร ทำไมถึงมีผลออกมาเยี่ยงนี้ นายวัชรินทร์ กล่าว พร้อมเรียกร้องให้คณะบุคคลหาเงินมาเยียวยา ว.การบิน ฯ เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และขอคำยืนยันจากคณะผู้บริหารว่าจะไม่มีการยุบ วิทยาลัยการบินนานาชาติ
ซึ่งรศ.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย รก.อธก.มนพ.ได้กล่าวตอบข้อซักถามว่าจากสถิติที่ผ่านมา ปัญหาของ ว.การบินฯ เกิดจากการที่มีจำนวนนักศึกษาน้อยเมื่อเทียบกับอาจารย์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ส่วนด้านงบประมาณนั้นได้มอบหมายให้นางสาว ชลธิชา ศรีลาอ่อน รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนเป็นผู้ชี้แจงสรุป ซึ่งน.ส.ชลิชา ได้บรรยายสรุปถึงงบดุลรายได้และรายจ่ายของ ว.การบินฯ สรุปได้ว่านับตั้งแต่ได้มีการก่อตั้งเมื่อปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ปี2564 ว.การบินฯ มีรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วเป็นเงิน 1,135 ล้านบาท และมีรายจ่ายรวมทั้งสิ้น 1,190 ล้านบาท มีการใช้จ่ายเกินรายรับไป 55 ล้านบาท และในช่วงไตรมาตรแรกของปีนี้ทาง ว.การบินจะต้องมีภาระที่จะต้องจ่ายค่าประกันภัย ค่าน้ำมันและค่าใช้จ่ายตามรอบบิลที่ได้ทำสัญญาไว้ รวมเป็นเงินอีก 20 ล้าน 2 แสนกว่าบาท นอกจากนั้นยังจะต้องมีการใช้ในการจ่ายเงินเดือนในปีงบประมาณ 2564 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกันยายน เป็นเงินอีก 28 ล้านบาท สรุปแล้วหากจะให้ ว.การบินดำเนินกิจการต่อไปจะต้องใช้เงินงบประมาณอีก ประมาณ 104 ล้านบาท ซึ่งเป็นข้อสรุปที่ทาง ม.นครพนมได้ใช้เวลาสองอาทิตย์ในการรวบรวมข้อมูลจากส่วน ต่าง ๆ ซึ่งตนคิดว่าน่าจะเป็นข้อมูลบทสรุปภาพรวมงบการเงินที่ชัดเจนที่สุดนับตั้งแต่มี ว.การบินฯ มา ปัญหาของนักศึกษา ว.การบินฯ จะต้องได้รับการดูแลอย่างแน่นอนแต่จะดูแลแบบไหนขึ้นอยู่กับมติของคณะอนุกรรมการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาว่าจะเดินหน้าอย่างไรหรือจะหยุดอย่างไรซึ่งยังไม่สามารถสรุปได้ ส่วนเรื่องเงินเดือนนั้นตนขอเรียนตรง ๆ ว่าเดือนนี้ยังไม่ทราบว่าจะหาเงินที่ไหนมาจ่ายเลยเพราะตอนนี้เงินสะสมของมหาวิทยาลัยนครพนมไม่มีเหลืออยู่เลยแถมยังติดลบอยู่อีกถึง 80 ล้านบาทเศษ ตนมาบริหารงานของมหาวิทยาลัยที่นี่อยู่บนพื้นฐานที่ไม่มีเงินให้ตนบริหารเลยแต่ก็ต้องบริหารเนื่องเพราะถูกคณะบุคคลมอบหมายให้มาบริหารมาขับเคลื่อนบางเรื่องที่เป็นสาระสำคัญของ ม.นครพนมต้องปรับภาพลักษณ์ใหม่ ต้องสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นกับคณะวิชาต่าง ๆ โดยตลอดสองเดือนเศษที่ตนมารับตำแหน่งตนทำงานทุกวันเพราะตนอยากให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป้นหลักของภูมิภาคนี้ให้ได้ ปัญหาความขัดแย้งที่ผ่านมามันเป็นธรรมชาติของมหาวิทยาลัยใหม่ๆ ที่เป็นการหลอมรวมเอาห้าถึงหกมหาวิทยาลัยมาเข้าด้วยกัน มันจึงไม่ใช่เรื่องง่ายมี่จะหลอมรวมกันได้ภายในระยะเวลาอันสั้นตนในฐานะผู้บริหารมหาวิทยาลัยก็ต้องขออภัยหากมีอะไรผิดพลาดเกิดขึ้นแต่จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดในระยะเวลาที่ตนต้องทำหน้าที่อยู่ที่นี่อีกสี่เดือนตนจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด รศ.กิตติชัย กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: