นครพนม – จับมือทุกภาคส่วนขับเคลื่อนโครงการนครพนมสร้างสุข บำบัดทุกข์ด้วยชุมชนท้องถิ่น สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ประชาชน
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บริเวณศาลาเทิดพระเกียรติ 5 ธันวามหาราช บ้านนาจอก หมู่ที่ 5 ตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม นายสุวิทย์ จันทร์หวร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมเป็นประธานนำหัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม กลุ่มและองค์กรเครือข่ายต่าง ๆ ของจังหวัดนครพนม รวม 20 หน่วยกล่าวปฏิญาณตนแสดงเจตนารมณ์ เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการที่จะร่วมมือกันขับเคลื่อนโครงการนครพนมสร้างสุข บำบัดทุกข์ด้วยชุมชนท้องถิ่น (Nakhon Phanom Happy Creation) ในการขับเคลื่อนงานโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อทำให้ประชาชนในพื้นที่ 12 อำเภอ 98 ตำบล 1,130 หมู่บ้าน 167,326 ครัวเรือน มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในยุค New Normal จากนั้นจึงร่วมกันลงนามบันทึกในข้อตกลง
ข่าวน่าสนใจ:
- นครพนม รวมใจทำบุญตักบาตร ทุกวันพระ สืบทอดประเพณี ส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
- **"ดร. ศุภพานี อ้อนชาวนครพนม! สานต่อโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน วอนขอโอกาส อย่าให้พ่ายเลือกตั้ง"**
- นครพนม จัดกิจกรรมปั่นจักรยานชายโขงทุกวันอาทิตย์ ส่งเสริมการปั่นจักรยานออกกำลังกาย กระตุ้นให้เกิดกระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
- **"สุริยะ-มนพร เดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นครพนม เร่งโครงการรถไฟทางคู่ บ้านไผ่-นครพนม และถนนเชื่อมสะพานมิตรภาพ 3"**
โดยโครงการนครพนมสร้างสุข บำบัดทุกข์ด้วยชุมชนท้องถิ่นนี้ จะมีการให้น้อมนำพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาเป็นแนวทางสร้างความมั่นคงทางอาหาร รณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย 10 ชนิด การสร้างครัวชุมชนถนนกินได้ การจัดการขยะเปียกเพื่อลดโลกร้อนตามนโยบายประเทศไทยไร้ขยะของรัฐบาล โดยมีอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกเป็นแกนนำ รวมถึงการสร้างพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ตลอดจนการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ ที่จะมีการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาชุมชนไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ เพื่อใช้พลังชุมชนในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม และสร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนในภาวะวิกฤตของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ภายใต้แนวคิด 1 หมู่บ้านสามารถดูแลได้ทั้งตำบล สร้างความมั่นคงทางอาหารด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: