นครพนม – สัญญาณอันตราย น้ำโขงลดต่ำเหลือแค่ 1 เมตรเกิดสีน้ำทะเล ระบบนิเวศพังปลาส่อสูญพันธุ์ ผอ.ศูนย์วิจัยเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ชี้กระทบหนักเศรษฐกิจอาชีพประมง รายได้ลดเกินครึ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 ว่า ในช่วง นี้สถานการณ์น้ำโขงยังวิกฤต โดยได้ลดระดับลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ล่าสุดมีระดับน้ำเฉลี่ยต่ำสุดที่ประมาณ 1 เมตร ถือว่าต่ำสุดในรอบ 15 ปี ทำให้ พื้นที่บางจุดเกิดหาดทรายเป็นบริเวณกว้าง ระยะทางยาวเป็นกิโลเมตร
นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบให้น้ำโขงนิ่งไม่ไหลเชี่ยวตามธรรมชาติ เกิดการตกตะกอนหรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่าหิวตะกอน จากน้ำสีขุ่นหรือสีปูนกลายเป็นน้ำสีฟ้าครามคล้ายทะเล ถึงแม้สีของน้ำจะสร้างความสวยงานตื่นตาให้กับประชาชน นักท่องเที่ยว แต่ในทางตรงกันข้ามถือเป็นสัญญาณอันตราย ที่บ่งชี้ถึงผลกระทบของการสร้างเขื่อนกั้นน้ำโขงของประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ระบบนิเวศเริ่มพัง ระดับน้ำโขงไม่ไหลเวียนตามธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อลำน้ำสาขาแห้งขอด โดยเฉพาะลำน้ำสาขาสายหลัก อาทิ ลำน้ำอูน ลำน้ำสงคราม และลำน้ำก่ำ มีปริมาณน้ำน้อย ส่งผลกระทบมากสุดคืออาชีพประมง ชาวบ้านจับปลาได้น้อย และกระทบการขยายพันธุ์ของปลาน้ำโขง ไม่สามารถขึ้นไปวางไข่ได้ตามฤดูกาล เนื่องจาก 2-3 ปี ที่ผ่านมา ในช่วงฤดูฝนถือว่าระดับน้ำโขงต่ำ เมื่อเทียบกับหลาย 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณปลาน้ำโขงลดลงเท่าตัว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ อาชีพการประมงในพื้นที่
นางสาวศิราณี งอยจันทร์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครพนม เปิดเผยว่า ต้องยอมรับว่าสถานการณ์น้ำโขงในช่วง 2 -3 ปีที่ผ่านมา มีความเปลี่ยนแปลงผิดธรรมชาติเป็นอย่างมาก น้ำโขงลดระดับเร็วตั้งแต่ช่วงฤดูฝน ผลกระทบจากการสร้างเขื่อนของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปกติฤดูในทุกปีจะเป็นฤดูน้ำหลากที่ปลาน้ำโขงจะขึ้นไปวางไข่ต้นน้ำในลำน้ำสาขา คือ ลำน้ำอูน ลำน้ำสงคราม ลำน้ำก่ำ แต่เมื่อน้ำโขงปริมาณน้ำต่ำ โอกาสที่ปลาจะขึ้นไปวางไข่ ขยายพันธุ์ยาก ทำให้มีการวางไข่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง
ข่าวน่าสนใจ:
- นครพนม: เลขาธิการ ป.ป.ส. และ มทภ.2/ผบ.นบ.ยส.24 ประชุมสรุปผลรอบ 3 เดือน โชว์ผลงานยึดยาบ้ากว่า 45 ล้านเม็ด มูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท
- นครพนม : หมอสงค์ หมอผู้สร้าง เปิดตัวสมัครนายก อบจ.นครพนม พร้อม ส.อบจ.นครพนม
- มุกดาหาร แรลลี่ลุ่มน้ำโขง MEKONG CAR RALLY ท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดสนุก ปชส. จังหวัดทั้ง 3 รับนักท่องเที่ยวปีใหม่
ซึ่งจากการวิจัยพบว่า การขยายพันธุ์ในลำน้ำโขง ทำให้ปริมาณการเติบโตของปลาลดลงเกินครึ่ง เพราะมาจากปัจจัยของสภาพแวดล้อม ยิ่งในปีนี้ปริมาณน้ำโขงต่ำ เกิดการตกตะกอน ทำให้ แพงตอนในน้ำรวมถึงสาหร่าย ตาย ปลาน้ำโขงไม่มีอาหาร จากข้อมูลการสำรวจในช่วงปีที่ผ่านมา ถึงปัจจุบัน พบว่าปลาน้ำโขงเดิมมีอยู่ประมาณ 1,000 กว่าชนิด แต่ปัจจุบันเริ่มสูญพันธุ์หายากกว่า 100 ชนิด อาทิ ปลาบึก ปลายี่สกไทย ปลานวลจันทร์ ปลานาง ปลาโจก ปลากาดำ หรือปลาอีตุ๊ ส่วนใหญ่จะเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีราคาแพง ประมาณกิโลกรัมละ 150 -200 บาท เป็นที่ต้องการของตลาด และมีระยะเวลาการขยายพันธุ์ช้า พ่อพันธุ์แม่พันธ์ต้องอายุ 3-4 ปีขึ้นถึงจะสามารถขยายพันธุ์ได้ ทำให้เริ่มสูญพันธุ์ บวกกับสภาพน้ำโขงเปลี่ยนแปลง ระบบนิเวศถูกทำลาย สิ่งที่ตามมาคือ รายได้จากอาชีพประมง เศรษฐกิจด้านประมงลดลงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
นางสาวศิราณีฯกล่าวต่ออีกว่า สำหรับแนวทางการป้องกันแก้ไข สำคัญที่สุด ทางหน่วยงานประมง ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครพนม ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจ ตรวจสอบ ทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ห้ามจับปลาในฤดูวางไข่ และห้ามใช้อุปกรณ์จับปลาที่มีการห้ามในช่วงฤดูปลาขยายพันธุ์ นอกจากนี้ยังได้วางแนวทางในการจัดพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์ปลาแบบธรรมชาติ ในลำน้ำโขง ด้วยการสร้างเขตพื้นที่ห้ามจับปลาตามหน้าวัดเขตอภัยทาน โดยใช้ความเชื่อมาเป็นส่วนในการอนุรักษ์ เพื่อขยายพันธุ์ปลาน้ำโขง ที่สำคัญจะต้องเร่งทำการเพาะพันธุ์ขยายพันธุ์ปลา ลงสู่แม่น้ำให้มากที่สุด แต่มีปัญหาเพราะปลาบางชนิดต้องใช้เวลาเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ 3 -4 ปี กว่าจะสามารถขยายพันธุ์ได้ แต่มีปริมาณการจับ และการสูญพันธุ์มากกว่าการขยายพันธุ์ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการประมงอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามในอนาคตเชื่อว่าถึงแม้จะมีการเพิ่มการขยายพันธุ์ปลามากขึ้น แต่ปัจจัยหลักคือระบบนิเวศ ระดับน้ำโขง ที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ส่งผลกระทบตามมาขั้นวิกฤติแน่นอน ในอนาคต
แม่น้ำโขงคือแม่น้ำนานาชาติที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยได้ชื่อว่าราชาแห่งสายน้ำ เนื่องจากมีความหลากหลายของพันธุ์สัตว์น้ำเกือบ 1,000 สายพันธุ์ และยังมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์น้ำอย่างอื่น รวมถึงพืชน้ำ ที่มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์ เศรษฐกิจ และความมั่นคงทางอาหารของผู้คนกว่า 60 ล้านคน แต่ปัจจุบัน จีนได้มีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงสายหลักที่ไหลผ่านจีนถึง 11 เขื่อน ขณะที่ทุนไทยได้ข้ามแดนไปสร้างเขื่อนไซยะบุรีกั้นแม่น้ำโขงในเขตลาว
ที่ผ่านมาหายนะของแม่น้ำโขงเห็นได้อย่างชัดเจนจากน้ำโขงขึ้น-ลงผิดธรรมชาติ ปลาอพยพไม่ตรงกับฤดูกาลจากการกระตุ้นของมนุษย์เนื่องจากมีการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนที่ไม่ตรงกับการขึ้นลงตามธรรมชาติ และการเกิดน้ำโขงสีฟ้าราวกับน้ำทะเลเนื่องจากเกิดภาวะหิวตะกอน (hungry water)
ขณะที่ปรากฏการณ์ไกตายจำนวนมากคือหายนะล่าสุดที่เกิดจากการสร้างเขื่อนของธุรกิจพลังงานที่ไม่ยึดหลักธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ขณะที่คนเล็กคนน้อยริมฝั่งโขงต้องแบกรับภาระ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: