นครพนม – หน.ฝ่ายอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำจืด WWF ประเทศไทย เผยวิกฤตน้ำโขงลดปริมาณ ไม่กระทบต่อพันธุ์ปลา ฝนชะกลิ่นดินกระตุ้นปลาผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ
คืบหน้าเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขง ที่ลดลดระดับลงต่อเนื่องเข้าขั้นวิกฤต ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้นมา ล่าสุดวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 มีระดับน้ำวัดได้ 1.22 เมตร ลดลงจากวานนี้ 5 ซม. ถือว่าต่ำสุดในรอบหลายปี หากยังไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มปริมาณน้ำ คาดว่าโอกาสจะลดระดับลงเรื่อยๆ มีสูงมาก ทำให้พื้นที่บางจุดในพื้นที่จังหวัดนครพนม เกิดหาดทรายขึ้นเป็นบริเวณกว้าง มีระยะทางยาวเป็นกิโลเมตร
ข่าวน่าสนใจ:
- หลวงพี่ขับเก๋งชนราวสะพาน เผยเดินทางดูแลโยมแม่ ชาวบ้านวอนหยุดดราม่า-ตรวจสอบความจริง
- ม.นครพนม จัดประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 19 ภายใต้หัวข้อ “บูรณาการ AI and Soft Power ในการบริหารภาครัฐ”
- ลำพูน เปิดตัว “สุขศาลา” ศูนย์สุขภาพชุมชน รับมือ PM 2.5 ยกระดับคุณภาพชีวิต ชาวหละปูนฮักปอด”
- "มิชลินไกด์" เผย 20 ร้านใหม่ และ156 ร้านที่ได้รับรางวัล"บิบ กูร์มองด์" 2568
นอกจากปริมาณน้ำจะมีระดับต่ำแล้ว ยังส่งผลกระทบให้น้ำโขงนิ่งไม่ไหลเชี่ยวตามธรรมชาติ เกิดการตกตะกอนหรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่าน้ำหิวตะกอน จากน้ำสีขุ่นหรือสีปูนกลายเป็นน้ำสีฟ้าครามคล้ายสีน้ำทะเล แม้สีของน้ำจะสร้างความสวยงามตื่นตาตื่นใจให้กับประชาชน นักท่องเที่ยว แต่ในทางตรงกันข้ามถือเป็นสัญญาณอันตราย ที่บ่งชี้ถึงผลกระทบของการสร้างเขื่อนกั้นน้ำโขงของประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ระบบนิเวศเริ่มมีปัญหา กระทบต่อลำน้ำสาขา อาทิ ลำน้ำอูน ลำน้ำสงคราม และลำน้ำก่ำ ชาวจับปลาได้ยากขึ้น และกระทบการขยายพันธุ์ของปลา ที่ไม่สามารถขึ้นไปวางไข่ได้ตามฤดูกาล
ล่าสุด วันที่ 22 กุภาพันธ์ 2564 นายยรรยง ศรีเจริญ หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำจืด WWF ประเทศไทย โดยเป็นผู้ดำเนินงานโครงการฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง และการเสนอขึ้นทะเบียน Ramsar site เป็นอันดับที่ 15 ของประเทศไทย เปิดเผยทางโทรศัพท์เกี่ยวกับปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงลดลงว่า “สำหรับผลกระทบกรณีที่น้ำโขงลดลงอย่างรวดเร็วในส่วนของการขยายพันธุ์ปลานั้น ยังไม่มีผลกระทบมาก เนื่องจากว่าไม่ได้อยู่ในช่วงของฤดูผสมพันธุ์ของปลา ส่วนที่ 2 ก็คือเรื่องของป่าบุ่งป่าทามก็ยังไม่มีผลกระทบอะไร แต่ที่เป็นผลกระทบที่ชัดเจนน่าจะเป็นในเรื่องของน้ำที่นำมาใช้ในการเกษตรและที่นำมาใช้ในครัวเรือน ส่วนในเรื่องของการคาดคิดว่าจะมีผลกระทบยาวไปจนถึงฤดูที่ปลาวางไข่หรือไม่นั้น คิดว่าก่อนที่จะถึงฤดูวางไข่ของปลาฝนก็น่าจะตกแล้ว เพราะว่าฝนหรือว่ากลิ่นดินที่ฝนชะล้างลงมาจะเป็นตัวกระตุ้นให้ปลาพัฒนาไข่ เพราะฉะนั้นในฤดูต้นฝนที่เป็นฤดูวางไข่ของปลาคิดว่าปริมาณน้ำน่าจะดีขึ้นกว่าตอนนี้คงไม่ถึงขนาดทำให้ปลาไม่สามารถวางไข่ได้จนสูญพันธุ์ แม้ว่าอาจจะทำให้ปลาบางชนิดเกิดปัญหาแต่ก็ไม่น่าจะเป็นอุปสรรคที่ทำให้ปลาวางไข่ไม่ได้ แต่จุดที่น่าจะได้รับผลกระทบจริงๆ ก็คือจุดที่น้ำแห้งมากๆ แล้วพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาไปอยู่รวมกันซึ่งจะทำให้สามารถโดนจับได้ง่าย อย่างเช่นในพื้นที่อำเภอสังคม (จังหวัดหนองคาย) หรือว่าแถวปากชม (จังหวัดเลย) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีโขดหินหรือว่าแก่งต่างๆ ค่อนข้างเยอะ ในจุดๆ นั้นจะได้รับผลกระทบมากกว่าในกรณีที่ปริมาณน้ำโขงลดลงอย่างรวดเร็ว ในเขตของหนองคาย นครพนม และมุกดาหารจะยังไม่ได้รับผลกระทบมากถึงขนาดนั้น”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: