นครพนม – วินาทีบุกจับเจ้าสำนักเถื่อน “อรหันต์ลวงโลก” อ้างเป็นพระพุทธเจ้าปางพญาธรรมมิกราช ตุ๋นเหยื่อกว่า 400 ราย มูลค่าความเสียหาย 10 ล้านบาท
วันที่ 27 เมษายน 2564 เวลา 13.00 น. พล.ต.ต.ธนชาติ รอดคลองตัน ผบก.ภ.จว.นครพนม พร้อมด้วย พ.ต.อ.จตุรงค์ มหิทธิโชติ ผกก.สืบสวนจังหวัดนครพนม พ.ต.อ.ณัฏฐวิชฌ์ ราชแก้ว ผกก.สภ.เมืองนครพนม นายสมลักษ์ ยกน้อยวงษ์ นายอำเภอเมืองนครพนม ร่วมกับนายจุลสัน ทันอินทร์อาจ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดฯ เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์อำเภอเมืองนครพนม นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมฝ่ายปกครอง นำหมายจับศาลจังหวัดนครพนม ที่ ค 181/2564 ลงวันที่ 27 เมษายน 2564 เข้าจับกุมนางสาวอิสรีย์ อินทร์ไชยา หรือพญาธรรมมิกราช อายุ 49 ปี ผู้แอบอ้างตนเป็นภิกษุณี เจ้าสำนักสถานปฏิบัติธรรมวิปัสสนาพระพุทธสิกขี ตั้งอยู่เลขที่ 210 หมู่ 1 บ้านดงโชค ต.หนองญาติ อ.เมือง จ.นครพนม ฐานความผิดฉ้อโกงประชาชน หลังมีชาวบ้านผู้เสียหายในพื้นที่ อ.เมืองฯ,ท่าอุเทน และ อ.ปลาปาก จ.นครพนม เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน จำนวน 3 สภ. ได้แก่ สภ.เมืองนครพนม,สภ.ท่าอุเทน และ สภ.กุตาไก้ รวมกว่า 400 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 10 ล้านบาท
โดยผู้ถูกกล่าวหามีพฤติกรรมฉ้อโกงประชาชน จัดตั้งกองทุนขึ้นมาอ้างว่านำไปช่วยเหลือโควิด จึงระดมทุนให้ผู้หลงเชื่อซื้อผ้าป่าสะสมบุญกองละประมาณ 3,500 บาท โดยให้ผลตอบแทนสูงเช่นคืนกำไรด้วยทองคำรูปพรรณหนัก 1 สลึง เริ่มแรกมีคนลงทุนซื้อกองทุนดังกล่าวเพียงกองทุนเดียว ไม่ถึง 10 วัน ก็เรียกให้ไปรับกำไรเป็นทองคำ 1 สลึงจริง ทำให้มีคนหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อ ควักเงินซื้อกองทุนเพิ่มมากขึ้น บางคนอยากได้ทองคำเยอะก็ลงทุนซื้อผ้าป่าหลายสิบกอง เวลาผ่านไปประมาณ 3 เดือน ไม่ได้ผลตอบแทนเหมือนทีแรก จึงคิดว่าถูกเจ้าสำนักหลอกลวงให้สูญเงินแน่แล้ว จึงชักชวนกันไปแจ้งความเพื่อดำเนินคดีดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะเจ้าหน้าที่นำหมายศาลเข้าจับกุม ได้พบพระสงฆ์รูปหนึ่ง ทราบว่าชื่อเล่นพระตึ๋ง ออกมาด้านหน้าสำนักอ้างว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพียงมาปฏิบัติธรรมเท่านั้น ทางเจ้าหน้าที่จึงเชิญตัวไปสอบสวนที่สำนักพุทธศาสนาจังหวัดนครพนม จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ถือหมายจับเข้าไปภายใน พบตัวนางสาวอิสรีย์หรือพญาธรรมมิกราช แต่งกายในคล้ายสงฆ์ห่มกายด้วยจีวรสีเหลือง นั่งบนเก้าอี้ในห้องที่เปิดแอร์เย็นฉ่ำ และเรียกสรรพนามแทนตัวเองว่าอาตมา พร้อมอ้างตนว่าเป็นอรหันต์ แรกๆพูดเป็นภาษาอังกฤษทำทีเป็นพูดไทยไม่ชัด และแสดงธรรมเทศนาโปรดเจ้าหน้าที่ ซึ่งจ้องใช้การเจรจานานกว่า 10 นาที จึงยอมให้จับกุมตัวแต่โดยดี โดยยืนยันว่าไม่ได้ฉ้อโกงและไม่มีส่วนรู้เห็น ถ้าผู้เสียหายต้องการเงินคืน บอกเลยว่าไม่มีเงินคืนให้ ทั้งนี้ตลอดเวลาที่พูดคุยนางสาวอิสรีย์จะอ้างตนเป็นพระอรหันต์ชั้นสูงที่มาโปรดพุทธศาสนิกชน เพื่อพาไปสู่เส้นทางแห่งความสงบ ก่อนเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไปสอบสวนในข้อกล่าวหาฉ้อโกงประชาชน และขยายผลติดตามผู้เกี่ยวข้องมาดำเนินคดี
ข่าวน่าสนใจ:
- ม.นครพนม จัดประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 19 ภายใต้หัวข้อ “บูรณาการ AI and Soft Power ในการบริหารภาครัฐ”
- นครพนม : กองทัพบก ร่วมกับ Kubota มอบไออุ่นในพื้นที่ภาคอีสาน มอบเสื้อกันหนาวให้ชาวนครพนม ตามโครงการ "คูโบต้า พลังใจ สู้ภัยหนาว" ปี 2567
- นายกเทศบาลตำบลนาคำ แจงเหตุต้องระงับเพลิงล่าช้า จากกรณีเหตุเพลิงไหม้บ้านพักอาศัยของชาวบ้าน
- ประชาชนแห่ เสกเหรียญหลวงปู่คำไหล ในพระมหาเจดีย์วัดดัง แห่ตีเลขน้ำตาเทียน หลังสาธุชนนับพันแห่ร่วมพิธี
นอกจากนี้พบว่าพื้นที่สำนักดังกล่าว มีเนื้อที่กว่า 7 ไร่ มีการก่อสร้างอาคารสถานที่ปฏิบัติธรรม พระพุทธรูปจำนวนมาก รวมถึงมีแม่ชีอีก 2 รูปที่ดูแลในวัด แต่อ้างไม่รู้เห็น และไม่เกี่ยวข้องเพียงมาปฏิบัติธรรมเท่านั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่จะได้มีการสอบสวนเพิ่มเติมภายหลัง
ด้าน พล.ต.ต.ธนชาติ รอดคลองตัน ผบก.ภ.จว.นครพนม เปิดเผยว่า วันนี้ทางตำรวจและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ได้นำหมายศาลจังหวัดนครพนม เข้าจับกุม นางสาวอิสรีย์ หรือพญาธรรมมิกราช ที่ตั้งตนเป็นภิกษุณี แต่ไม่ได้รับการอนุญาตตามระเบียบของศาสนา และมีการตั้งสำนักปฏิบัติธรรม เพื่อแสวงผลประโยชน์จากชาวบ้าน ด้วยการ ตั้งกองทุนผ้าป่าช่วยเหลือโควิด โดยมีการมอบหมายให้สายบุญ เดินสายตระเวนเหยื่อในพื้นที่อำเภอต่างๆ ร่วมบริจาคทำบุญกองผ้าป่า กองละประมาณ 3,500 บาท และมีผลตอบแทนคืนกำไรสูงเป็นเงินสดบ้าง รวมถึงทองคำรูปพรรณ และแต่จำนวนที่ ลงทุนซื้อกองผ้าป่า ในช่วงแรกเป็นการเชิญชวนให้หลงเชื่อ ทำให้ชาวบ้านตกเป็นเหยื่อซื้อกองทุนผ้าป่ามากขึ้น สุดท้ายไม่ได้ผลตอบแทนคืน และไม่ได้ตามข้อตกลง ทำให้หลายคนตกเป็นเหยื่อกว่า 400 ราย รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 10 ล้านบาท อย่างไรก็ตามวันนี้เบื้องต้นได้แจ้งข้อหาความผิดฉ้อโกงประชาชน และจะได้สอบสวนขยายผลในฐานความผิดอื่นๆ รวมถึงตรวจสอบเส้นทางการเงิน ว่า จะมีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ เพื่อเอาผิดตามกฎหมายต่อไป แต่ในเบื้องต้นได้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาที่อ้างเป็นพระภิกษุณีตามหมายจับศาลจังหวัดนครพนม นอกจากนี้ยังมีการจับกุมแม่ชีอีก 2 คนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการทำหน้าที่เดินสายหลอกชาวบ้าน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างควบคุมตัวไปสอบสวนดำเนินคดี
อนึ่ง การบวชเป็นพระภิกษุณีนั้น ในประเทศไทยยังไม่เปิดกว้าง สตรีผู้เสื่อมในพระพุทธศาสนา ต้องการจะบวชต้องเดินทางไปที่ประเทศศรีลังกาเพียงแห่งเดียวเท่านั้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: