นครพนม – “ผึ้ง ณัสฐ์ภัสส์” ที่ปรึกษา รมต.ฯสำนักนายกรัฐมนตรี ฟื้นตู้ปันสุขมอบน้ำใจสู้ภัยโควิด หน้าตลาดสดเทศบาลเมืองนครพนม
จากกรณีเกิดสถานการณ์โรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (covid-19) ระลอกใหม่สายพันธุ์อังกฤษระบาดอย่างรุนแรงอยู่ในขณะนี้ ทั่วทุกพื้นที่ 77 จังหวัดของประเทศไทยต่างประสบปัญหาขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคจำนวนมาก แม้รัฐบาลจะมีมาตรการช่วยเหลือประชาชนเช่น โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการเราชนะ ฯลฯ เป็นต้น
ข่าวน่าสนใจ:
- ม.นครพนม จัดประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 19 ภายใต้หัวข้อ “บูรณาการ AI and Soft Power ในการบริหารภาครัฐ”
- ประชาชนแห่ เสกเหรียญหลวงปู่คำไหล ในพระมหาเจดีย์วัดดัง แห่ตีเลขน้ำตาเทียน หลังสาธุชนนับพันแห่ร่วมพิธี
- นายกเทศบาลตำบลนาคำ แจงเหตุต้องระงับเพลิงล่าช้า จากกรณีเหตุเพลิงไหม้บ้านพักอาศัยของชาวบ้าน
- นครพนม : กองทัพบก ร่วมกับ Kubota มอบไออุ่นในพื้นที่ภาคอีสาน มอบเสื้อกันหนาวให้ชาวนครพนม ตามโครงการ "คูโบต้า พลังใจ สู้ภัยหนาว" ปี 2567
ปี 2563 เป็นการระบาดของโรคโควิดระลอกแรก สายพันธุ์อู่ฮั๋น ประเทศจีน คนไทยจึงเกิดแนวคิดการนำตู้กับข้าวมาตั้งไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ แล้วบรรจุข้าวสารอาหารแห้ง พร้อมตั้งชื่อว่า “ตู้ปันสุข” “ตู้แบ่งสุข” “ตู้เติมใจให้กัน” ตามแต่ผู้ตั้ง เพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิดและเปิดโอกาสให้ผู้ใจบุญนำสิ่งของบริจาคใส่ในตู้เพื่อทำบุญแบ่งปัน ก็มีเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ภายหลังโรคโควิดซาลงตู้ปันสุขก็เลือนหายไปด้วยเช่นกัน
กระทั่งปี 2564 โรคโควิดปะทุขึ้นมาอีกครั้ง และสายพันธุ์อังกฤษนี้มีการติดต่อแพร่เชื้อได้เร็วกว่าเดิมถึง 1.7 เท่า รัฐบาลจึงมอบอำนาจการควบคุมป้องกันให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม เพราะการแพร่ระบาดของแต่ละพื้นที่แตกต่างกันตามภูมิประเทศ
ล่าสุด วันที่ 28 เมษษยน 2564 นางสาวณัสฐ์ภัสส์ ยงใจยุทธ หรือน้องผึ้ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(นายอนุชา นาคาสัย) ร่วมกับกัลยาณมิตรได้ตั้งตู้ปันสุขขึ้นมาอีกครั้ง เป้าหมายเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่มีปัญหาจากสถานการณ์โควิดในขณะนี้ จึงขอเชิญชวนผู้ที่ประสบปัญหาหยิบสิ่งของในตู้ปันสุขไปบริโภคอย่างพอดี เพื่อแบ่งปันให้ผู้อื่นให้ทั่วถึง และเชิญชวนผู้ใจบุญนำสิ่งของมาเติมใส่ในตู้ปันสุขนี้ โดยตั้งตู้ปันสุขอยู่หน้าร้านดอกไม้ บริเวณช่องทางออกตลาดสดเทศบาลเมืองนครพนม
สำหรับแนวคิดตู้ปันสุขดังกล่าว มีประวัติว่าได้แรงบันดาลใจมาจากโครงการ Free Pantry / Food Sharing / Sharing Cupboard รวมไปถึงนโยบาย Food Bank (ธนาคารอาหาร) ในต่างประเทศ จนเกิดเป็น New Normal การแบ่งปัน ที่สร้างรอยยิ้มขึ้นในหลายพื้นที่ โดยกลางเดือนมีนาคม 2563 สหรัฐอเมริกาดูจะเป็นประเทศแรก ๆ ที่มีการริเริ่มทำ ตู้แบ่งปันอาหาร และสิ่งของจำเป็นขึ้นมา เป็นผลพวงจากการระบาดของโรคโควิดอย่างรุนแรง ทำให้เกิดการกักตุนสินค้า แต่อีกด้านหนึ่งของวิกฤตก็มีน้ำใจงามๆ ของอเมริกันชนปรากฏให้เห็นเช่นกัน
โดย Little Free Library องค์กรไม่แสวงหากำไรที่จัดตั้งตู้แลกเปลี่ยนหนังสือไว้ทั่วอเมริกา เพื่อส่งเสริมให้เกิดการอ่านในชุมชน ต่อมาได้เปลี่ยนตู้แลกเปลี่ยนหนังสือดังกล่าวในหลายชุมชน ให้เป็นตู้ใส่อาหารและสิ่งของจำเป็น ให้ผู้ที่มีความเดือดร้อนทางการเงินจากวิกฤตโควิดมาหยิบไปได้ฟรี และคนที่พอมีพอกินก็สามารถนำของมาใส่ไว้ได้เช่นกัน
เคธี (Cathy) จาก พอร์ตมอนเมาท์ (Port Monmouth) รัฐนิวเจอร์ซีย์ ได้แชร์รูปภาพตู้แลกหนังสือในชุมชนของเธอซึ่งกลายเป็นตู้ปันสุข และเต็มไปด้วยอาหารที่ไม่เน่าเสีย พร้อมทวีตข้อความว่า “กระจายข่าวออกไป! หยิบสิ่งที่คุณต้องการ ให้ในสิ่งที่คุณทำได้!”
ด้าน แอชลีย์ ฮาเมอร์ (Ashley Hamer) กล่าวว่า มีตู้แชร์อาหารของ Little Free Library ที่ชุมชนหนึ่งในชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ โดยมีป้ายบอกว่า “เพื่อช่วยเพื่อนบ้านของเราที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด ห้องสมุดเล็ก ๆ แห่งนี้ถูกเปลี่ยนเป็นห้องครัวเล็ก ๆ เชิญหยิบสิ่งที่คุณต้องการไปได้ฟรี กรุณาบริจาคสิ่งที่คุณสามารถให้ได้ ภายหลังประเทศไทยเห็นว่าตู้ดังกล่าวมีประโยชน์เป็นอย่างมากจึงนำมาใช้ดังกล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: