นครพนม – “นครพนมพร้อม” ดีเดย์ฉีดวัคซีนกลุ่มที่สองอายุ 60 ปีขึ้นไป+ 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง วันที่ 7-11 มิย. ณ ศาลายงใจยุทธ ทึ่งวัยใสกว่า 5 แสนมีภูมิคุ้มกันฆ่าไวรัสโควิด
วันที่ 6 มิถุนายน 2564 นพ.มานพ ฉลาดธัญญกิจ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม(สสจ.ฯ) ประกาศความพร้อมในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนที่ได้ลงทะเบียนไว้ล่วงหน้า โดยใช้สถานที่อาคารศาลายงใจยุทธ ภายในบริเวณรั้วศาลากลางจังหวัดนครพนม ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางโอ่โถงสะดวกแก่การให้บริการ ระหว่างวันที่ 7 -11 มิถุนายน 2564 เวลา 08.00น.-16.00 น. พร้อมลงรายละเอียดชี้แจงเรื่องแผนการฉีดวัคซีนของนครพนมมี 3 ระยะ ได้แก่ระยะแรกเป็น บุคคลากรทางการแพทย์ ผู้นำด่านหน้า อสม. ทหาร ตำรวจ โดยเน้นเป็นกลุ่มพบปะประชาชนกลุ่มเสี่ยง ซึ่งระยะนี้ได้ดำเนินการฉีดไปแล้วประมาณหมื่นกว่าคน ได้รับวัคซีนซินโนแวค(sinovac)
ถัดมาก็เป็นกลุ่มที่ 2 คือกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีโรคประจำตัว กลุ่มนี้จะเริ่มฉีดเข็มแรก ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายนฯ ที่ลงทะเบียนจองล่วงหน้าผ่านช่องทาง app.และช่องทางอื่นเช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) โรงพยาบาล(รพ.) ทั้ง 12 อำเภอ หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ(รพ.สต.) ซึ่งในฐานข้อมูลบันทึกว่าได้โทรศัพท์จองคิวเบื้องต้น ประมาณ 4 หมื่นกว่าคน จะได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (astrazeneca)
ข่าวน่าสนใจ:
- “น้องขวัญ” ดร.ศุภพานี โพธิ์ ปราศรัยอ้อนคะแนนชาวบ้านนาจอก
- นครพนม คึกคักนักท่องเที่ยวนับหมื่นแห่ชมดาวคริสต์มาส สีสันไฟประดับนับล้านดวง เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ Nakhonphanom Winter Festival 2025
- จังหวัดนครพนม เปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2568
- รัฐมนตรีคมนาคมห่วงภาพลักษณ์สุวรรณภูมิหลังผู้โดยสารแห่ใช้บริการทะลุวันละสองแสนคนสั่ง ดร. กีรติ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ลุยตรวจกลางดึก
และกลุ่มที่ 3 คือกลุ่มประชาชนทั่วไปผู้มีอายุ 18-59 ปี ตามจำนวนประชากรในทะเบียนราษฎร์ประมาณ 5-6 แสนกว่าคน ในจำนวนนี้ 70 % ที่จะเกิด Herd immunity (หมายถึง สถานการณ์ที่สัดส่วนของประชากรที่มีภูมิคุ้มกัน ไม่ว่าจะเป็นภูมิคุ้มกันที่ร่างกายผลิตขึ้นมาเองตามธรรมชาติ หรือได้รับวัคซีนป้องกันโรค แต่ก็มีจำนวนมากพอ จนเชื้อไวรัสไม่สามารถแพร่กระจาย หรือถูกส่งผ่านไปยังคนอื่นๆ ได้) ประมาณ 5 แสนกว่าคน ซึ่งน่าจะมีทั้งวัคซีน sinovac และ astrazeneca
นายแพทย์ สสจ.นครพนม กล่าวต่อว่า ในกลุ่มที่จะเริ่มฉีดต่อไปนี้ วันที่ 7 มิถุนายน จะเป็นกลุ่มอายุ 60 ปี +7 กลุ่มโรค เริ่มแรกจะมีวัคซีนแอสตร้าเซเนก้ามาจำนวน 11,000 โดส และจะมีมาเรื่อยๆทุกสัปดาห์
ดังนั้นในช่วงแรก จะฉีดให้คนที่ลง APP และมีการลงนัดเรียบร้อยแล้ว ฉีดเป็นชุดเเรกตามนโยบายของรัฐบาล และตามคิวการจอง แต่เนื่องจากเพื่อให้การฉีดเกิดขึ้นโดยเร็ว การนัดจึงต้องมีการปรับให้มาฉีดเร็วขึ้น โดยไม่ได้ยกเลิกสิทธิ์การจองใดๆทั้งสิ้น แต่ปรับเวลามาฉีดในวันที่ 7-11มิถุนายน 2564 ดังนั้นนัดเดิมที่แจ้งไว้ก่อนหน้านี้ ได้เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 7-11มิถุนายน จึงขอให้เข้าใจโดยทั่วกัน
นอกจากนี้ สสจ.นครพนม จะเริ่มพิจารณาฉีดในกลุ่มโรงเรียน สถานศึกษา และกลุ่มวิชาชีพ บุคลากรที่เสี่ยงจะแพร่เชื้อก่อน เพื่อป้องกันคลัสเตอร์(cluster)และในกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ สุดท้ายราวกรกฎาคมเป็นต้นไป ประชาชนอายุ 18-59 ปีที่เสี่ยงน้อย ไม่มีโรคประจำตัว ก็จะได้รับวัคซีนต่อมาตามลำดับ
ซึ่ง นพ.มานพ ฉลาดธัญญกิจ กล่าวทิ้งท้ายว่า “ผมและทีมต้องบริหารจัดการวัคซีนภายใต้สถานการณ์ของวัคซีนที่มีความจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร็วที่สุด และให้เกิดความสมดุลพึงพอใจให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ขอให้ประชาชนชาวนครพนมทุกท่าน มั่นใจว่าจะได้รับวัคซีนทุกท่านขอบพระคุณมากครับ”
จากข้อมูลล่าสุดพบว่าประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้ว จำนวนมากที่สุดมี 4 ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากกว่า 200 ล้านโดส รวมกันกว่า 3 ใน 4 ของปริมาณการฉีดทั่วโลก ได้แก่ 1. จีน จำนวน 704.83 ล้านโดส (35 % ของจำนวนการฉีดทั่วโลก) 2. สหรัฐอเมริกา จำนวน 297.72 ล้านโดส (14.75 %) 3. สหภาพยุโรป จำนวน 258.87 ล้านโดส (12.83 %) และ 4. อินเดีย จำนวน 223.73 ล้านโดส (11.09 %)
ส่วนในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนรวมกันแล้ว 54,942,784 โดส ได้แก่ 1.อินโดนีเซีย จำนวน 28,347,058 โดส (เฉลี่ยครอบคลุมประชากรอย่างน้อย 5.3 % ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca 2.ฟิลิปปินส์ จำนวน 5,382,172 โดส (เฉลี่ย 2.4 % ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca, Pfizer และ Sputnik V 3.กัมพูชา จำนวน 4,782,587 โดส (เฉลี่ย 14.1 % ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sinovac และ AstraZeneca 4.สิงคโปร์ จำนวน 4,047,651 โดส (เฉลี่ย 35.5 % ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderna 5. ไทย จำนวน 3,961,589 โดส (เฉลี่ย 3.0 % ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca 6.มาเลเซีย จำนวน 3,330,436 โดส (เฉลี่ย 5. 1% ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Pfizer, Sinovac และ AstraZeneca 7.พม่า จำนวน 2,994,900 โดส (เฉลี่ย 2.8 % ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ AstraZeneca 8.เวียดนาม จำนวน 1,110,111 โดส (เฉลี่ย 0.6 % ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ AstraZeneca 9.ลาว จำนวน 933,505 โดส (เฉลี่ย 6.3 % ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinopharm และ Sputnik V 10. บรูไน จำนวน 52,775 โดส (เฉลี่ย 6 % ของประชากร) โดยฉีดวัคซีนของ Sinopharm และ AstraZeneca
สำหรับข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทย (แหล่งข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข) ได้จัดส่งวัคซีนแล้วจำนวน 5,008,369 โดส แบ่งเป็นวัคซีน Sinovac 4,682,349 โดส และ AstraZeneca 326,020 โดส ส่วนจำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 3,961,589 โดส ข้อมูลณ วันที่ 4 มิถุนายน 2564 แบ่งเป็นเข็มแรก 2,727,759 โดส เป็นวัคซีน Sinovac 2,607,483 โดส และ วัคซีน AstraZeneca 120,276 โดส เข็มที่สอง 1,233,830 โดส เป็นวัคซีน Sinovac 1,222,456 โดส และ วัคซีน AstraZeneca 11,374 โดส หากพิจารณาจากผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดส จะมีจำนวน 2,727,759 คน หรือเท่ากับ 4.12 % ของประชากร
สัดส่วนการฉีดวัคซีนแบ่งตามกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง 42.8 %บุคลากรการแพทย์ สาธารณสุขและ อสม. 30.6 % เจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 16.1 % บุคคลที่มีโรคประจำตัว 7.3 % ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 3.2 % (แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, Covidvax, Our World in Data, The New York Times และกระทรวงสาธารณสุข)
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: