นครพนม – ณ ลานมหาเจดีย์วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม พระเทพวรมุนี เจ้าอาวาสฯ จัดพิธีสักการะพระธาตุพนมองค์ปฐมมหาเจดีย์แห่งภาคอีสาน ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจพุทธศาสนิกชนสองฝั่งแม่น้ำโขงทั้งไทยและลาว และประชาชนทั่วโลกกราบไหว้สักการะมากว่า 2,500 ปี พร้อมเจริญชัยมงคลคาถาเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยมีนายดำรงค์ สิริวิชย อิ่มวิเศษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร/ที่ปรึกษามรดกโลกนครพนม/กรรมการกิตติมศักดิ์ตลอดชีพ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ว่าที่ร้อยตรีจุลสัน ทันอินทร์อาจ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครพนม นางสาวกนกวรรณ ดุงศรีแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครพนม (ผอ.ททท.นครพนม) ในฐานะรองประธานกรรมการฝ่ายส่งเสริมพัฒนาการท่องเที่ยว และประชาสัมพันธ์พระธาตุพนมสู่มรดกโลก ตลอดจนประชาชน นักท่องเที่ยวร่วมในพิธีศักดิ์สิทธิ์นี้
สืบเนื่องจากวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ได้ดำเนินการเสนอองค์พระธาตุพนมขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จากการที่องค์กร UNESCO ได้ขึ้นบัญชีเบื้องต้น (Tentative List) โดยใช้หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม (Cultural Criteria) ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 41 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2560 ณ เมืองคราคูฟ สาธารณรัฐโปแลนด์ นั้น พระธาตุพนมซึ่งเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธา และเป็นสมบัติอันล้ำค่า เหมาะสมและคู่ควรกับการที่จะเป็นมรดกของคนทั้งโลก
นางสาวกนกวรรณ ดุงศรีแก้ว ผอ.ททท.นครพนม กล่าวว่าพระธาตุพนมถือเป็นปูชนียสถานสำคัญที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคนไทย-ลาว สองฝั่งโขงมาเนิ่นนาน ในครั้งนี้เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้การขึ้นทะเบียนสู่มรดกโลกขององค์พระธาตุพนม ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวนครพนม พุทธศาสนิกชน และประเทศเพื่อนบ้าน สปป.ลาว เคารพบูชามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และได้รับความเมตตาจากพระเทพวรมุณี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ได้ให้คำแนะนำ ชี้แนะ ททท.สำนักงานนครพนม ดำเนินการร่วมกับ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จัดทำสติ๊กเกอร์ “ศูนย์รวมแห่งศรัทธา สมบัติล้ำค่าเมืองนครพนม” ให้ผู้มีศรัทธาต่อองค์พระธาตุพนม บูชาเพื่อเสริมบารมีและเสริมความเป็นสิริมงคล ซึ่งได้จัดทำขึ้นจำนวนจำกัด โดยมีพิธีสักการะองค์พระธาตุพนมบรมเจดีย์และเจริญชัยมงคลคาถา ในวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ณ ลานมหาเจดีย์ องค์พระธาตุพนม วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ทั้งนี้ ผู้มีจิตศรัทธามีความประสงค์จะบูชาสติ๊กเกอร์เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตัวเองและครอบครัว สามารถบูชาได้ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
ผอ.ททท.นครพนม กล่าวทิ้งท้าย ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวและผู้มีศรัทธาได้มาชมความยิ่งใหญ่และสง่างามขององค์พระธาตุพนม และเตรียมพร้อมรองรับสู่การขึ้นทะเบียนพระธาตุพนมเป็นมรดกโลก ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาท่องเที่ยวยังจังหวัดนครพนม แต่ต้องดำเนินการภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด – 19 ของจังหวัดฯ
ข่าวน่าสนใจ:
- หมดวาระอบจ.ตรัง รุ่งขึ้น “บุ่นเล้ง” เปิดตัวทันควัน ใช้ชื่อ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” แทน “ทีมกิจปวงชน” ชูนโยบาย “รวมพลังที่ยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนตรังให้เป็น 1”
- บุรีรัมย์ คริสตจักรเมืองบุรีรัมย์ จัดงานเฉลิมฉลองวันคริสต์มาส ส่งความสุขก่อนปีใหม่อย่างยิ่งใหญ่
- นักท่องเที่ยวแห่ชมดอกไม้งามดอยตุง ชิมอาหารพื้นถิ่น ถ่ายรูปดอกไม้สวย
- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขานรับนโยบายกระทรวงคมนาคม พร้อมอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
องค์พระธาตุพนม ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.8 ผู้เป็นประธานสร้างคือพระมหากัสสปะ พร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 รูป ได้นำพระอุรังคธาตุหรือกระดูกส่วนหน้าอกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเพื่อบรรจุไว้ในพระธาตุ มีผู้ร่วมช่วยในการสร้างพระธาตุ เป็นท้าวพระยาเมืองต่างๆ ได้แก่ 1.พญานันทเสน เมืองศรีโคตรบูร 2.พญาจุลนีพรหมทัต 3.พญาอินทรปัตนคร 4.พญาคำแดง เมืองหนองหารน้อย พากันยกโยธามาช่วยสร้างองค์พระธาตุจนเสร็จ และบรรจุพระอุรังคธาตุพร้อมของมีค่าไว้ภายในเป็นจำนวนมาก รูปลักษณะพระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมก่อดวยอิฐ มีลวดลายสลักลงบนแผ่นอิฐสวยงาม มีซุ้มกั้นด้านละซุ้มซ้อนกันสามชั้น ลดหลั่นกันลงมาแล้วจึงถึงองค์พระส๔ป เบื้องบนยอดพระธาตุหุ้มทองคำประดับเพชรพลอยเปล่งประกายสวยงามยิ่งนัก
นอกจากนี้องค์พระธาตุพนมยังมีการบูรณะรวมทั้งหมด 6 ครั้ง (พ.ศ.500-2511) โดยองค์พระธาตุพนมมีอายุเก่าแก่นับพันปี ทำให้ส่วนฐานด้านล่างทานน้ำหนักไม่ไหว จึงเริ่มร้าวเมื่อต้นดเดือนกรกฎาคม 2518 กระทั่งเวลา 19.38 น.ของวันที่ 11 สิงหาคม 2518 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 9 ปีเถาะ พระธาตุพนมก็ได้พังทลายลงทั้งองค์ ท่มมกลางสายฝนที่กำลังตกอย่างหนัก จึงมีการสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ 1.การสร้างโครงภายในด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มีรูปทรงสี่เหลี่ยมคล้ายองค์เดิมและสร้างในที่เดิม โดยพระธาตุองค์ใหม่สูง 53 เมตร ต่อฉัตรอีก 4 เมตร รวมสูง 57 เมตรเท่าเดิม แต่ฐานกว้างกว่าองค์เดิมด้านละประมาณ 1 เมตร และ 2.ประดับลวดลายภายนอก ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร แล้วเสร็จสมบูรณ์เด่นสง่ามาถึงปัจจุบันเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2522 รวมยอดเงินบริจาคผ่านทางวัดและส่วนราชการ 12,574,420 บาท
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: