นครพนม – วันที่ 14 กันยายน 2564 ที่จังหวัดนครพนม สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนครพนม ได้เชิญคณะหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน ภาคีเครือข่าย อาสาสมัครกระทรวงยุติธรรมและตัวแทนภาคประชาชน ร่วมแสดงความคิดเห็นอภิปรายมุมมองเชิงพื้นที่ที่มีต่อระบบและกลไกการเฝ้าระวังการกระทำผิดซ้ำในชุมชน ตามโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังการกระทำผิดซ้ำเพื่อความปลอดภัยในชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2554 ตลอดจนรับฟังแนวนโยบายและการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับบทบาทของกระทรวงยุติธรรม กับมาตรการสำคัญในการเฝ้าระวังการกระทำผิดซ้ำในชุมชน เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับสังคม จากสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่ได้มาเป็นประธานผ่านระบบออนไลน์จากส่วนกลาง และการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับมุมมองของผู้หญิงกับการเฝ้าระวังการกระทำผิดซ้ำจากปัญหาอาชญากรรมสะเทือนขวัญ จากนางสาวณัฐธ์ภัสส์ ยงใจยุทธ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรรม
โดยกิจกรรมในครั้งนี้เกิดขึ้นจากการที่มีการผลักดันร่างพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้กระทำผิดความผิดกันที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. …. ปัจจุบันได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และกำลังอยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพความรุนแรงที่เกิดขึ้น ซึ่งกระบวนการทางกฎหมายยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ขณะเดียวกันกระทรวงยุติธรรมก็ได้มีการจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจเฝ้าระวังความปลอดภัยให้กับประชาชน หรือที่เรียกว่า jSOC ขึ้นมาทำหน้าที่ในการเฝ้าระวังและติดตามผู้พ้นโทษในคดีสะเทือนขวัญควบคู่กันไป โดยที่ผ่านมาพบว่าผู้กระทำความผิดที่พ้นโทษในคดีสะเทือนขวัญไม่หวนกลับไปทำผิดซ้ำและประกอบอาชีพที่เป็นกิจจะลักษณะ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากแนวคิดที่ว่าหากชุมชนรู้ถึงอันตราย ในชุมชนจะไม่มีผู้ได้รับอันตรายเหมือนที่ปรากฎในต่างประเทศ
ข่าวน่าสนใจ:
- ทนายเกรียง พา สาวนักแข่งรถจักรยานยนต์ทีมชาติไทย แจ้งความดำเนินคดีกับนายกสมาคม ข้อหาหมิ่นประมาท และ พรบ.คอม
- เชียงใหม่-แพทย์ มช.ล้ำยุค AI รักษาคนไข้ ที่แรกที่เดียวในอาเซี่ยน
- ชาวสวิตฯ ร่ำไห้ ถูกแก๊งค์วัยรุ่นเจ้าถิ่น ทุบรถ รุมสกรัมยับ คาดปมจอดรถขวาง
- กกต.อบจ.เพชรบูรณ์ ประกาศผลเลือกตั้ง "อัครเดช"รั้งแชมป์สมัย 7 ผู้ใช้สิทธิ์ไม่ถึงร้อยละ 50 ปชช.สงสัยผู้ใช้สิทธิกับบัตรลงคะแนน เลขเขย่งถามสาเหตุ
กระทรวงยุติธรรมจึงได้แสวงหาวิธีการที่ได้ผลเพื่อกำหนดเป็นนโยบาย ที่จะเฝ้าระวังและติดตามพฤติกรรมผู้กระทำผิดที่เคยกระทำผิดในลักษณะสำคัญสะเทือนขวัญ หรือมีความเสี่ยงที่จะทำผิดลักษณะสะเทือนขวัญ ด้วยการพักการลงโทษให้ผู้กระทำผิดออกมาปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับประชาชนในระยะหนึ่ง และมีมาตรการคุมความประพฤติ โดยนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวหรือที่เรียกว่า EM มาใช้เป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวังและติดตามพฤติกรรม มีอาสาสมัครคุมประพฤติตลอดจนภาคีเครือข่ายภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการสอดส่อง ดูแล สงเคราะห์ และช่วยเหลือผู้ที่ได้รับการพักโทษ ดังนั้นจึงได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการทุกมิติอย่างรอบคอบ ทั้งภาคราชการ อาสาสมัคร ตลอดจนภาคประชาชน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างความเข้าใจ และนำข้อเสนอแนะทั้งหมดที่ได้ ไปปรับปรุงนโยบายดังกล่าวให้มีความเหมาะสม ครบถ้วน รอบด้าน และมีความปลอดภัย สามารถนำไปใช้ปฏิบัติการได้จริง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: