“ตำแหน่งที่ไม่ต้องการ” จ.นครพนม ครองแชมป์ ยอดฉีดวัคซีนเข็มแรกต่ำสุดในประเทศ หรือนี่จะสะท้อนการรณรงค์ทำความเข้าใจประชาชนไร้ประสิทธิภาพ?
สืบเนื่องจาก นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมศูนย์ปฎิบัติการภาวะฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข หารือกันถึงปัญหาที่พบว่า ในตอนนี้การฉีดวัคซีนไม่ได้รวดเร็วเหมือนเดิมแล้ว ทั้งๆที่เปิดประเทศและมีวัคซีนเข้ามามากขึ้น อาจจะเกิดจากกลุ่มคนที่อยากฉีดมาฉีดไปแล้ว คนที่ลังเลยังไม่ตัดสินใจ แต่พบว่าเมื่อมีวัคซีนเข้ามามากขึ้น คนสนใจชนิดสูตรไขว้มากขึ้น เช่น แอสตร้าเซนเนก้าและไฟเซอร์ เป็นต้น
กระทรวงสาธารณสุข จึงเตรียมจัดกิจกรรมสัปดาห์การฉีดวัคซีนในช่วงวันที่ 27 พฤศจิกายน-ธันวาคม นี้ หรือบางจังหวัดที่มีการจัดกิจกรรมสร้างแรงจูงใจให้คนมาฉีดวัคซีน หรืออาจจะให้โชว์เอกสารการฉีดวัคซีน หรือ เมื่อฉีดแล้วให้จับสลากเป็นของรางวัล ขอให้กระทรวงมหาดไทย ไปดำเนินการช่วยกันหาคนที่ยังไม่ฉีดวัคซีนมาฉีดเพิ่มเติม
ข่าวน่าสนใจ:
- นครพนม : หมอสงค์ หมอผู้สร้าง เปิดตัวสมัครนายก อบจ.นครพนม พร้อม ส.อบจ.นครพนม
- นครพนมคึกคัก! เปิดศึกเลือกตั้ง อบจ. วันแรก “ศุภพานี-ประสงค์” ชิงชัย พร้อมนโยบายพัฒนาท้องถิ่น
- มุกดาหาร แรลลี่ลุ่มน้ำโขง MEKONG CAR RALLY ท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดสนุก ปชส. จังหวัดทั้ง 3 รับนักท่องเที่ยวปีใหม่
- ตำรวจนครพนมทลายขบวนการค้ายาเสพติด ยึดยาบ้า 2 ล้านเม็ด ไอซ์ 46 กก. ผู้ต้องหา 4 ราย รับจ้างข้ามชาติ
นอกจากนี้ ในฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยข้อมูล ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน เวลา 18.00 น. ว่า มีจังหวัดที่มีการครอบคลุมการได้รับวัคซีนโควิด เข็มที่ 1 ในอัตราต่ำที่สุด จำนวน 10 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครพนม,หนองบัวลำภู,บึงกาฬ,สกลนคร,กาฬสินธุ์,แม่ฮ่องสอน,สุรินทร์,ร้อยเอ็ด,ยโสธร และ จังหวัดอ่างทอง
ล่าสุด วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 ผู้สื่อข่าวได้สอบถามบุคคลที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มแรก ชื่อ นายสอน ศรวงค์ อายุ 69 ปี ชาวคุ้มชุมชนวัดพระอินทร์แปลง เขตเทศบาลเมืองนครพนม ขณะเดินออกกำลังกายบริเวณริมแม่น้ำโขง ว่า ติดตามข่าวสารแล้วกลัวเมื่อฉีดวัคซีนแล้วจะมีผลข้างเคียงตามที่มีข่าว ประกอบกับตนมีโรคประจำตัวจึงไม่กล้าฉีด แต่ก็มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เข้ามาบอกให้ไปฉีด ตนยังไม่ตัดสินใจเพราะลูกสาวจะพาไปฉีดที่จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นวัคซีนที่ต้องจ่ายเงินเองแต่มีความปลอดภัยกว่า
ทั้งนี้ จังหวัดนครพนมมีประชากร 717,588 คน ยอดฉีดวัคซีนที่ประชาชนควรจะได้รับ เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันระดับจังหวัด จำนวน 502,312 คน หรือ 70 % ปรากฏว่ามีประชาชนฉีดเข็มแรกแล้ว 280,398 คน หรือเพียง 39.08 % เท่านั้น ส่วนเข็มที่สองมีจำนวน 226,230 คน หรือ 31.53 % และเข็มที่สามมี 9,214 คน หรือ 1.28 % (ข้อมูล ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2564) จึงกลายเป็นจังหวัดที่มีผู้ได้รับฉีดวัคซีนเข็มแรกต่ำที่สุดในประเทศ แม้มีการรณรงค์ผ่านหลายช่องทางแล้วก็ตาม แต่ไม่มีการตอบรับจากประชาชนเท่าที่ควร ในขณะที่ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม (สสจ.ฯ) ก็ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ในการรณรงค์หรือทำความเข้าใจแก่ประชาชน ทำให้เกิดจุดบกพร่องทั้งด้านมาตรการป้องกันและแก้ไข เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันได้เปลี่ยนไป เพราะมีการเปิดประเทศนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าพื้นที่โดยอิสระมากขึ้น การแพร่ระบาดของโรคโควิดจึงไม่ได้อยู่เพียงจุดเดียว แต่จะเป็นแบบกระจายตัว แตกต่างจากเชื้อนำเข้าจากพื้นที่เสี่ยงที่ผู้เดินทางเข้าสู่ระบบสาธารณสุขเพราะมีมาตรการเข้มข้น การควบคุมโรคจึงอยู่ในวงจำกัด ขณะที่การแพร่เชื้อในพื้นที่จะอันตรายกว่าเชื้อนำเข้าหลายเท่าตัว ขณะรายงานข่าวก็มีการแพร่เชื้อในพื้นที่เป็นวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: