รมช.เกษตรฯ มอบเงินเยียวยาผู้เลี้ยงโคกระบือนครพนมเกือบ 16 ล้านบาท ที่ประสบปัญหาโรคลัมปีสกินระบาด ธ.ก.ส.รับลูกให้กู้รายละ 1 แสนไร้หลักทรัพย์ค้ำ
วันที่ 22 มกราคม 2565 เวลา 15.30 น. ณ หอประชุมมรุกขนคร โรงเรียนนครพนมวิทยาคม เขตเทศบาลเมืองนครพนม นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รมช.เกษตรฯ) พร้อมคณะฯ พร้อมคณะลงพื้นที่จังหวัดนครพนม เพื่อมอบเงินเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือ หลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน (Lumpk Skin Disesae) และชี้แจงโครงการสานฝันสร้างอาชีพ ยกระดับรายได้เกษตรกร โดยมีนายชาญชัย คงทัน รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง/ส.ส.นครพนมเขต 1 พรรคภูมิใจไทย นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนมเขต 3 พรรคเพื่อไทย ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ประมาณ 200 คนร่วมให้การต้อนรับ
โดยนายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรฯ ได้กล่าวกับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือ ว่า ในปี 2564 ที่ผ่านมาจังหวัดนครพนม มีผู้เลี้ยงโค-กระบือ รวมทั้งสิ้น 42,788 ราย แบ่งเป็นโคเนื้อ 144,859 ตัว กระบือ 75,814 ตัว และเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 ปศุสัตว์จังหวัดฯ ได้มีการตรวจพบโคเนื้อป่วยด้วยโรคลัมปี สกิน เป็นครั้งแรกที่ตำบลมหาชัย อำเภอปลาปาก จากนั้นก็พบการระบาดในอำเภอต่าง ๆ จนครบทั้ง 12 อำเภอ ซึ่งทางปศุสัตว์จังหวัดฯ รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ให้ทางกระทรวงทราบทุกระยะ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีก็ห่วงเรื่องนี้มาก ทุกครั้งที่เข้าประชุมสภาฯท่านจะสอบถามความคืบหน้าตลอดเวลา
และภายหลังสถานการณ์โรคได้คลี่คลายลง ในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่านมาซึ่งตลอดระยะเวลามีโค-กระบือป่วยรวมทั้งสิ้น 8,571 ตัว ตาย 709 ตัวและดำเนินการฝังกลบตามคำแนะนำของปศุสัตว์ทุกตัว ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 3,975 ราย โดยทางหน่วยงานราชการได้ดำเนินการขออนุมัติงบประมาณให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดลองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 เพื่อช่วยเหลือเยียวยารวม 625 ราย เป็นโค-กระบือ 677 ตัว เป็นเงินทั้งสิ้น 15,785,000 บาท และเมื่อได้รับการจัดสรรงบประมาณจึงได้มีพิธีมอบในวันนี้ โดยเป็นการโอนเงินเข้าบัญชีของเกษตรกรผู้เลี้ยงโค – กระบือที่ได้รับผลกระทบ
ข่าวน่าสนใจ:
- นครพนม : หมอสงค์ หมอผู้สร้าง เปิดตัวสมัครนายก อบจ.นครพนม พร้อม ส.อบจ.นครพนม
- สงขลา"นทท.มาเลย์ฯเที่ยวไทยเเน่น"รับปิดเทอมและปีใหม่ คาดเงินสะพัดในสงขลานับพันล้านบาท
- สอ.สามัญศึกษาเพชรบูรณ์ประชุมใหญ่ โชว์กำไร 52 ล้าน พร้อมเลือกตั้งกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการ
- นครพนมคึกคัก! เปิดศึกเลือกตั้ง อบจ. วันแรก “ศุภพานี-ประสงค์” ชิงชัย พร้อมนโยบายพัฒนาท้องถิ่น
นอกจากนี้ นายประภัตร โพธสุธน ได้กล่าวถึงโครงการ “สานฝันสร้างอาชีพ ยกระดับรายได้เกษตรกร” นั้น เป็นความร่วมมือระหว่างกรมปศุสัตว์กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในการส่งเสริมการประกอบอาชีพด้านการเกษตรให้กับเกษตรกรเพื่อทำให้ทุกคนมีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาเกษตรกรได้รับผลกระทบ ทั้งจากปัญหาภัยเเล้ง น้ำท่วม การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดและโรคต่าง ๆ โดยโครงการดังกล่าวจะนำร่องจากกรมปศุสัตว์และขยายไปยังกรมอื่นๆ ต่อไป เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกษตรกรทุกคนมีความกินดี อยู่ดี อย่างยั่งยืน
ซึ่งกรมปศุสัตว์จะมีการอบรมถ่ายทอดให้ความรู้ ทำให้เกษตรกรมีความสามารถในการบริหารจัดการเลี้ยงสัตว์ การแปรรูป และด้านอื่น ๆ รวมถึงการหาช่องทางตลาดให้เกษตรกร ส่วนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะสนับสนุนวงเงินที่เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ ทั้งเกษตรกรที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. เดิม และเกษตรกรรายใหม่ โดยสามารถยื่นกู้ได้ที่ ธ.ก.ส.ทุกสาขา เกษตรกร 1 ราย สามารถกู้ได้ไม่เกิน 1 แสนบาท ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ในการค้ำประกัน เพียงมีคนค้ำ 2 คน สามารถยืมได้ 3 ปี ในอัตราดอกเบี้ยต่ำในโอกาสที่เดินทางมามอบเงินช่วยเหลือให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคลัมปีสกิน
โรคลัมปี สกิน ที่ระบาดในโค-กระบือ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส Lumpy skin disease virus สกุล Capripoxvirus ที่พบและแพร่กระจายในโค-กระบือ แต่ไม่สามารถติดต่อสู่คนได้ โดยอาการของสัตว์ที่ติดเชื้อจะมีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต มีตุ่มขนาดใหญ่บนผิวหนัง พบมากที่คอ หัว เต้านม ถุงอัณฑะและหว่างขา โดยตุ่มที่เกิดขึ้นสามารถแตกและตกสะเก็ดเกิดเป็นเนื้อตายหรือมีหนอนชอนไชได้
นอกจากนี้ยังพบตุ่มน้ำใสที่เยื่อเมือกทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ทำให้สัตว์มีอาการน้ำลายไหล ไม่เพียงแค่อาการที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเหล่านี้เท่านั้น แต่สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีลักษณะซึม เบื่ออาหาร รวมถึงอาจมีภาวะเป็นหมันหรือแท้งลูก สำหรับในโคนมน้ำนมจะลดลง 25 – 65 เปอร์เซ็นต์ สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีอัตราการป่วยอยู่ที่ 5-45 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอัตราการตายจะสูงในพื้นที่ที่ไม่เคยมีการระบาดมาก่อน โดยโรคลัมปี สกินนี้มีพาหะมาจากแมลงดูดเลือด เช่น เห็บ แมลงวัน และยุง รวมไปถึงน้ำลาย สารคัดหลั่ง สะเก็ดแผล การใช้อุปกรณ์ร่วมกันของสัตว์ เมื่อสัตว์ได้รับเชื้อในช่วงแรกจะต้องทนกับอาการที่เกิดขึ้นเพราะมันไม่สามารถพูดหรือบอกได้เหมือนมนุษย์เมื่อเจ็บป่วย สำหรับการรักษาจะไม่มีการรักษาที่จำเพาะ ต้องรักษาตามอาการเท่านั้น เนื่องจากวัคซีนป้องกันโรคนี้จะมีเฉพาะในประเทศที่เคยมีการระบาดของโรคมาก่อนแล้วเท่านั้น
ในประเทศไทยโรคนี้ถือเป็นโรคอุบัติใหม่ที่พบเป็นครั้งแรก ซึ่งได้รับเชื้อมาจากการลักลอบนำเข้าโคเนื้อมาเลี้ยงจากประเทศเพื่อนบ้าน การระบาดของโรคลัมปี สกิน ในครั้งนี้ไม่เพียงแต่ส่งผลให้สัตว์มีปัญหาด้านสุขภาพเท่านั้น แต่มันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในกลุ่มของเกษตรกรที่เลี้ยงโค กระบือ สหกรณ์โคเนื้อ โคนม รวมถึงตลาดนัดค้าสัตว์ ถึงแม้ว่าโรคนี้จะสามารถรักษาหายได้แต่ก็ต้องใช้เวลา
ดังนั้นแล้วการป้องกันและกำจัดแมลงในพื้นที่ หรือทำความสะอาดคอก อุปกรณ์ในการเลี้ยง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงพาหะ การกักสัตว์ใหม่เมื่อต้องนำเข้าพื้นที่ จึงเป็นวิธีที่ช่วยลดโอกาสการเกิดโรค และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อหากมีสัตว์ที่ได้รับเชื้ออาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน
โดยจังหวัดนครพนมพบโรคลัมปีสกินครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2564 ต่อมาเดือนพฤษภาคมฯจึงประกาศให้ท้องที่ทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล ทุกอำเภอของจังหวัดนครพนม เป็นเขตโรคระบาดชนิดโรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) ในสัตว์ชนิดโคและกระบือ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: