วันจันทร์ ที่ 16 มกราคม 2566 ห้องแกรนด์บอลลูม โรงแรมฟอร์จูนริเวอร์วิว จังหวัดนครพนม ผศ.ดร.กัญลยา มิขะมา รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนม จัดกิจกรรมประชุมการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดนครพนม ร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องโครงการส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เสริมสร้างการค้า การลงทุนของกลุ่มจังหวัดสนุกและส่งเสริมการยกระดับสินค้าให้ได้มาตรฐาน GI
โดย นายจิรศักดิ์ สีหามาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ผู้แทนหน่วยงานจังหวัดทุกท่าน คณะกรรมการขับเคลื่อนและบริหารจัดการสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จังหวัดนครพนม มีชาวเกษตรกรผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
ในการนี้มหาวิทยาลัยนครพนม ได้ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครพนม กรมทรัพย์สินทางปั
หน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ ในจังหวัดนครพนม ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ผลิต ผู้ประกอบในการขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: Gl) ได้แก่ ลิ้นจี่นครพนม ซึ่งเป็นลิ้นจี่พันธุ์ นพ.๑ และสับปะรดท่าอุเทน ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่มีลักษณะเฉพาะที่มีอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียน Gl ของจังหวัดนครพนม
ข่าวน่าสนใจ:
ในปี 2565 จังหวัดนครพนมได้อนุมติให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครพนมดำเนินโครงการเสริมสร้าง
การค้าและการลงทุนของกลุ่มจังหวัดสนุก ภายใต้กิจกรรมหลักที่จะช่วยส่งเสริมและยกระดับสินค้ากลุ่มจังหวัดสนุกสู่สากล กิจกรรมย่อยส่งเสริมและยกระดับสินค้าให้ได้มาตรฐาน GI โดยมีมหาวิทยาลัยนครพนมร่วมเป็นที่ปรึกษาโครงการและดำเนินการศึกษาและส่งเสริมให้สินค้าของจังหวัดนครพนมให้ได้รับการยื่นจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เพิ่มเติม
จากการดำเนินงานศึกษาสินค้าที่มีศักยภาพในการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดนครพนม จำนวน 7 ชนิด ได้แก่ ครกดินเผาบ้านกลาง ผลิตภัณฑ์จากกกบ้านเหล่าพัฒนา มันแกวน้ำก่ำธาตุพนม ผ้ามุกนครพนม อุเรณู ข้าวน้ำย้อย และข้าวปุ้นหรือเส้นขนมจีนเรณู
โดยก่อนหน้านี้เคยได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและบริหารจัดการสินค้า เมื่อปลายปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จังหวัดนครพนม เพื่อเสนอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการระดับจังหวัด ซึ่งผลสรุปในการขึ้นทะเบียนสินค้าที่มีความเป็นไปได้ของการขอขี้นทะเบียน GI ของจังหวัดนครพนม จำนวน 3 รายการสินค้าได้แก่ ครกดินเผาบ้านกลางซึ่งเป็นที่ยอมรับจากพ่อค้าที่เข้ามารับซื้อว่ามีความแข็งแกร่งและทนทานมากกว่าที่อื่น ผลิตภัณฑ์จากกกบ้านเหล่าพัฒนา มีความโดดเด่นด้วยเส้นกกที่เส้นใหญ่และเหนียวและเมื่อนำมาถักทอเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้มีความมันวาวและทนทาน ส่วนมันแกวน้ำก่ำ ต.น้ำก่ำ อ.ธาตุพนม เป็นพืชเกษตรที่ปลูกจากดินลำน้ำโขง รสชาดที่หอมกรอบอร่อยและหวานเป็นพิเศษ
ซึ่งทางมหาวิทยาลัยนครพนม โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ลงพื้นที่และจัดการประชุม “การจัดทำคำขอสิ่งบ่งชี้ภูมิศาสตร์ร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบร่างคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในประเด็นการจัดทำคำขอสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI ไทยของทั้ง 3ชนิดนี้ เชื่อว่าจังหวัดนครพนม จะได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เพิ่มเติมอย่างแน่นอน.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: