จ.นครพนม จัดประเพณีถวายต้นกัลปพฤกษ์ ทางน้ำ ในวันสงกรานต์ สักการะพระพุทธบาทเวินปลา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม
วันที่ 14 เม.ย.66 สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม โดยนายคมสิน ศรีมานะศักดิ์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม ร่วมกับ เทศบาลตำบลเวินพระบาท ได้จัดประเพณีถวายต้นกัลปพฤกษ์ทางน้ำ สักการะพระพุทธบาทเวินปลา ต.เวินพระบาท อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม การเดินทางเริ่มต้นทางเรือไปตามลำแม่น้ำโขง ล่องไปทางทิศเหนือ จาก ท่าเรือลานพญาศรีสัตตนาคราช อ.เมือง จ.นครพนม ไปยังพระพุทธบาทเวินปลา ซึ่งอยู่กลางลำแม่น้ำโขง บ้านเวินพระบาท อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ห่างจากเทศบาลเมืองนครพนม 12 กม. โดยมีการนิมนต์ พระเทพวรมุนี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร/ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 พระราชสิริวัฒน์ เจ้าคณะจังหวัดนครพนม พร้อมคณะสงฆ์จำนวนหนึ่งร่วมในพิธี เดินทางโดยเรือแม่น้ำโขงพาราไดซ์ครูซ นายวันชัย จันทร์พร ผวจ.นครพนม เป็นประธานในพิธีฯ เดินทางถึงจุดพระพุทธบาทเวินปลา ทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และทำพิธีชัยมงคล บริเวณกองประทาย (กองทรายริมโขง) นำกล่าวถวายต้นกัลปพฤกษ์ทางน้ำ นำต้นกัลปพฤกษ์ถวาย เจ้าอาวาสวัดพุทธบาทเวินปลา จำนวนประมาณ 240,000 บาท จากการร่วมทำบุญถวายของพุทธศาสนิกชน
ประเพณีสักการระบูชาพระพุทธบาทเวินปลา เป็นประเพณี บุญเดือน 5 (ฮีต 12 คอง 14 อีสาน) วิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง จังหวัดนครพนม พระพุทธบาทเวินปลา อยู่กลางแม่น้ำโขงเพียงแห่งเดียวในโลก มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
ข่าวน่าสนใจ:
- ผู้ว่าฯ นครพนม รุกลงพื้นที่สั่งการเหตุเพลิงไหม้บ่อขยะเทศบาลเมืองนครพนม
- นครพนม บรรยากาศคึกคักต้อนศักราชใหม่ ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 พร้อมลุ้นของขวัญปีใหม่
- นครพนม ผู้ว่าฯนำจัดกิจกรรมทำบุญตักบาตรต้อนรับ พุทธศักราช 2568
- หมอสงค์ กระโดดลงสนามเลือกตั้งนายก อบจ.นครพนม ย้ำชัดไม่ได้สู้กับพรรคใด
ประวัติพระพุทธบาทเวินปลา พระพุทธบาทเวินปลาแห่งนี้ เกิดขึ้นในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่า “กัสสปทศพล” ซึ่งเป็น พระพุทธเจ้าองค์ที่ 3 ในกัทรกัปป์ ภัทรกับป์นี้มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ 5 พระองค์ พระกกุสันโร
พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระศรีอริยเมตไตรโย) ต่อมาในสมัยพระพุทธเจ้า ชื่อ โคตโม (องค์ที่ 4) ได้เสด็จมาภูกำพร้า (วัดพระธาตุพนม มีพระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐากตามเสด็จ ทรงพักที่ภูกำพร้า 1 คืน รุ่งขึ้นจึงได้เสด็จออกมาบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตรบูรโดยพักที่ใต้ต้นฮัง (ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระธาตุอิงฮังในปัจจุบัน) ก่อนจะเสด็จกลับทำภัตกิจ (ฉันอาหาร ที่ภูกำพร้าและบำเพ็ญพุทธกิจต่าง ๆ ในอุษาคเนย์ตามที่พระองค์มีพระประสงค์ต่อไป ในการเสด็จครั้งนั้น เมื่อได้มาถึงเวินปลาในแม่น้ำโขงซึ่งเป็นจุดที่ตั้งพระพุทธบาทพระพุทธเจ้ากัสสปทศพล พระองค์ได้ทรงแย้มพระโอษฐ์ขึ้น พระอานนท์เห็นดังนั้นจึงสงสัยและทูลถามสมเด็จพระ สัมมาพระพุทธเจ้าว่า “ทรงแย้มพระโอษฐ์เพราะเหตุอันใดพระเจ้าข้า” พระพุทธองค์ตรัสตอบพระ
อานนท์ว่า “ที่ตรงนี้ มีพญาปลาปากคำตัวหนึ่งอยากได้ของที่ระลึกจากพระกัสสปะพุทธเจ้าไว้กราบไหว้บูชา” จากนั้นจึงถือโอกาสเล่าถึงประวัติพญาปลาปากคำตัวนี้ให้พระอานนท์ฟังว่า ในสมัยหนึ่งเมื่อครั้งพระกัสสปะพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก พญาปลาปากคำตัวนี้เคยบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีล ได้นั่งเรือมาตามลำน้ำโขง พอมาถึงจุดนี้เกิดอาการกระหายน้ำขึ้นมา แต่ไม่มีภาชนะที่จะตักดื่มก็เลยไปเด็ดเอาใบไคร้นุ่น ขึ้นมาทำเป็นจอกตักเอาน้ำมาดื่มแล้วไม่แสดงอาบัติ (ต้นไคร้นุ่นจะมีใบใหญ่ ขนาดกว้าง 10 ซม. ยาว 20 ซม. เป็นพืชทนน้ำ เมื่อมีน้ำท่วมใบเป็นเวลานานสามารถทนอยู่ได้โดยไม่ตาย) จากผลกรรมที่กล่าวมานี้ พระภิกษุหลังมรณภาพแล้วได้เกิดมาเป็นพญาปลาปากคำเฝ้าอยู่ที่เวินปลาแห่งนี้เป็นเวลาช้านาน จนกระทั่งพระพุทธเจ้านามว่า กัสสปะ เสด็จมาถึง พญาปลาปากคำตัวนี้จึงได้ทูลขอของที่ ระลึกจากพระองค์เพื่อเป็นสิ่งไว้สักการะบูชาในภายภาคหน้า ด้วยเหตุนี้
พระกัสสปะพุทธเจ้าจึงได้ประทับพระพุทธบาทไว้บนแผ่นหินตามที่พญาปลาปากคำทูลขอ รวมถึงเหล่าพุทธบริษัททั้งหลายได้สักการะบูชาอีกด้วย
พระพุทธบาทเวินปลาประดิษฐานอยู่บนแผ่นดิน (กลางลำแม่น้ำโขงซึ่งเป็นจุดที่มีน้ำวน) คำว่า “เวิน” ในความหมายคือ บริเวณที่มีน้ำวน “ปลา” หมายถึง ปลาปากคำ ปัจจุบันคือ ปลาตะเพียนทอง ดังนั้น คำว่า “พระพุทธบาทเวินปลา” ก็คือ พระบาทของพระพุทธเจ้า
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: