วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้นายวันชัย จันทร์พร เป็นผู้แทนพระองค์อัญเชิญเครื่องราชสักการะ เพื่อประกอบพระราชพิธีสงกรานต์ พุทธศักราช 2566 สรงน้ำองค์พระธาตุพนมถวายเป็นพุทธบูชา โดยมีพระเทพวรมุนี ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มีคณะหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่และประชาชนจังหวัดนครพนมร่วมประกอบพิธี
ข่าวน่าสนใจ:
- ประชาชนแห่ เสกเหรียญหลวงปู่คำไหล ในพระมหาเจดีย์วัดดัง แห่ตีเลขน้ำตาเทียน หลังสาธุชนนับพันแห่ร่วมพิธี
- เพชรบูรณ์ - นักท่องเที่ยวสุดเซ็ง! วางแผนไปเที่ยวเขาค้อภูทับเบิก หลังรู้ข่าวต้องเจอ"ทริปน้ำไม่อาบ" ยอมยกเลิกหรือปรับไปเที่ยวที่อื่นแทน
- จังหวัดสกลนคร พัฒนาศักยภาพบุคลากร ภาคีเครือข่าย เฝ้าระวัง ดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด
- เจ้าหน้าที่ตำรวจ-สาธารณสุขและฝ่ายปกครอง บุกพบหนุ่มป่วน.
โดยในเวลา 16.00 น. นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้นำทุกคนประกอบพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จากนั้นพระเทพวรมุนี ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร นำสวดเจริญชัยมงคลคาถา ก่อนที่จะอัญเชิญน้ำพระราชทานไปสรงรอบองค์พระธาตุพนมวรมหาวิหาร ทั้ง 4 ทิศ อัญเชิญน้ำพระราชทานไปสรงพระองค์แสนศาสดา พระประธานในพระอุโบสถ พร้อมทั้งเปลี่ยนผ้าแพรแดงประจำกาย และถวายเครื่องราชสักการะ ซึ่งประกอบไปด้วย น้ำหอม ต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน ธูปไม้ระกำ และเทียน โดยในโอกาสนี้พระเทพวรมุนี ได้มอบผ้าแพรแดงประจำกายพระองค์แสนศาสดา พระประธานในพระอุโบสถที่เปลี่ยนออก ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมเพื่อนำมาเก็บรักษาไว้ที่ศาลากลางจังหวัดนครพนม ให้ประชาชนที่เดินทางมาติดต่อราชการ ได้เรียนรู้และศึกษาพระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงทำนุบำรุงพระศาสนา
สำหรับการสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุนั้น เป็นประเพณีความเชื่อดั้งเดิมที่มีตั้งแต่สมัยโบราณ นิยมกระทำเป็นประจำทุกปี เปรียบเสมือนการได้สรงน้ำพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ทั้งหลาย โดยจะกระทำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาหรือวันงานเทศกาลประจำปี เช่น วันสงกรานต์ และวิธีปฏิบัติในการสรงน้ำก็จะแตกต่างกันออกไป แล้วแต่ความเชื่อและความศรัทธาของแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่นิยมนำเอาเครื่องหอม ข้าวตอกดอกไม้ และน้ำสะอาดหรือน้ำที่เจือด้วยน้ำหอมมาสรง โดยการราดน้ำไปบนองค์พระเจดีย์ เนื่องจากองค์พระบรมธาตุส่วนใหญ่จะบรรจุอยู่ใต้ฐานพระเจดีย์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: