วันที่ 21 พ.ค.66 ที่บริเวณทุ่งนาบ้านดอนยานาง อ.เมือง จ.นครพนม นายจเร รุ่นฐานิช รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีบวงสรวง วางศิลาฤกษ์ สถานีรถไฟรางคู่นครพนม โดยมีนายประสงค์ สุวิวัฒนชัย กรรมการ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัตชั่น พร้อมชาวบ้านดอนยานาง ร่วมงาน โดยมีพราหมณ์ปู่สุนทร จาก อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี เป็นผู้ทำพิธี นิมนต์พระภิกษุ 9 รูป จากวัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.นครพนม ร่วมทำพิธีฯ
การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้สร้างทางรถไฟทางคู่จากชุมทางจิระ นครราชสีมา – บัวใหญ่ – นครพนม การก่อสร้างสถานีรถไฟ ที่บริเวณบ้านดอนยานาง ต.นาทราย อ.เมือง จ.นครพนม เป็นช่วงสัญญาที่ 2 ระหว่างหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 จ.นครพนม ดำเนินการโดย กิจการร่วมค้า ยูนิค ประกอบด้วย บริษัท ยูนิคเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) บริษัท พี.ซีอีที จำกัด บริษัท ไทยพี ค่อนและอุตสาหกรรม จำกัด และบริษัท วัชรขจร จำกัด เป็นผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการ ก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม สัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 วงเงินทั้งสิ้นกว่า 28,000 ล้านบาท
ข่าวน่าสนใจ:
- 'โครงการสร้างโอกาสสานฝันเด็กและเยาวชน จ.ระยอง' มุ่งสร้างโอกาสทางการศึกษา
- จ.นครพนม บูรณาการร่วมปล่อยแถวระดมกวาดล้างอาชญากรรมช่วงเทศกาลลอยกระทง 2567
- จ.สุโขทัย 40 สาวงามขึ้นเวทีประชันโฉม ชิงตำแหน่งนางนพมาศ ในงาน "ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ" ประจำปี 2567
- ฉุนหนัก เพื่อนรักล้วงเล่นนกเขา คว้าขวดเบียร์ตีหัวแตก
โดยงานประกอบด้วยงานก่อสร้างทางรถไฟระดับพื้นดินและทางรถไฟยกระดับ รวมระยะทางประมาณ 175 กม. มีสถานี 9 สถานีและรวมถึงงานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างรถไฟสายใหม่ 2 เส้นทางทั้งสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ถือเป็นเส้นทางสำคัญที่ช่วยพัฒนาศักยภาพระบบการขนส่งทางรางของประเทศโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้สามารถรองรับการขยายตัวของการค้าชายแดนและผ่านแดน ตลอดจนเชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่กำลังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย
ในขณะเดียวกัน มีผู้ที่ได้ผลกระทบต่อโครงการ ได้ร้องเรียนถึงมูลค่าเวนคืนที่ดิน เป็นราคาที่ไม่สมเหตุสมผลต่อการสูญเสียพื้นที่เศรษฐกิจ และอาคารที่อยู่อาศัยเดิมมากอยู่สมควร ซึ่งบางพื้นที่ถูกโครงการเวนคืนที่ดินพาดผ่านสิ่งปลูกสร้าง โรงงานและบ้านพักอาศัยถึงแม้บางแห่งจะไม่ถูกเวนคืนทั้งหมด แต่ก็ไม่สามารถคงสภาพเพื่อดำเนินธุรกิจหรือพักอาศัยต่อไปได้ และบางรายถูกเวนคืนพื้นที่ต้องสูญเสียสถานประกอบการรีสอร์ตแทบทั้งหมด อย่างไรก็ตามยังมีช่องทางให้ประชาชนอุทธรณ์ เพื่อหาข้อยุติต่อปัญหาดังกล่าวนี้ได้
ดร.สุภชา ศิริวงศ์ยิ่งเจริญ ผู้จัดการโครงการรถไฟรางคู่ กล่าวว่า ในวันนี้ได้มีพิธีบวงสรวงสถานีรถไฟทางคู่ สร้างจากร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร นครพนม ระยะทาง 180 กม. เพื่อแสดงความเคารพดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ มีความยินดีที่ได้มาสร้างประโยชน์ และได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ มีการเริ่มสร้างสำนักงานสนาม สถานีรถไฟ สะพานข้ามคลอง โครงการสิ้นสุดประมาณ พ.ศ.2572 ได้รับความร่วมมือจากเจ้าของที่ เริ่มจาก อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด สิ้นสุดที่สะพานมิตรภาพไทยลาว แห่งที่ 3 (นครพนม – คำม่วน) ในการจ่ายค่าที่เวนคืนกำลังเริ่มทยอยจ่าย งบประมาณประมาณ 80 กว่าล้าน เครื่องจักรทยอยเข้ามาในพื้นที่ อุปสรรคในการก่อสร้าง ลักษณะน้ำในกรณีที่มีฝนตก มีการเบี่ยงทางน้ำไม่ให้มีการกระทบกับประชาชนในพื้นที่
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: