นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า สถานการณ์ปริมาณน้ำฝนในพื้นที่จังหวัดนครพนมในช่วงนี้ปริมาณน้ำฝนมีตกลงมาน้อย แต่ภาพรวมน้ำในพื้นที่ยังคงมีอยู่ ซึ่งทางสถานีอุตุนิยมวิทยานครพนมมีการคาดการณ์ว่า ในช่วงวันที่ 9-10 สิงหาคม 2566 จะมีฝนตกในพื้นที่ประมาณ 40-60 % และจะกลับมาตกหนักอีกครั้งในช่วงวันที่ 11-14 สิงหาคม 2566 ซึ่งปัจจุบันมีการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย ไปแล้ว 12 อำเภอ มีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบประมาณ 28,900 ไร่ นอกจากนี้ยังมีถนนเพื่อการเกษตร โรงเรียน ไฟฟ้า ประมง และปศุสัตว์ อีกจำนวนหนึ่ง ดังนั้นในวันนี้ 7 สิงหาคม 2566 จึงพร้อมกับนายชวนินทร์ วงศ์สถิตจิรกาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม นายวิจิตร กิจวิรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม และนายจิรศักดิ์ สีหามาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เชิญคณะหัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมหารือผ่านระบบ VDO Conference กับนายอำเภอทั้ง 12 อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการติดตามความคืบหน้าสถานการณ์และข้อมูลด้านต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อร่วมกันวางแผนการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาและการให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ให้กลับเข้าสู่สถานนการณ์ปกติเร็วที่สุดเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน
โดยในวันนี้ทางชลประทานนครพนมได้มีการประสานเพื่อขออนุญาตส่วนกลางเกี่ยวกับการเปิดประตูระบายน้ำเต็มบานเพิ่มเติมเพื่อให้ระดับน้ำลดลงเร็วมากยิ่งขึ้น ส่วนแขวงทางหลวงและแขวงทางหลวงชนบทก็เตรียมปรับปรุงซ่อมแซมคอสะพานเชื่อมต่อถนนที่มีการชำรุดแต่ถนนยังใช้สัญจรไปมาได้ตามปกติให้กับมามีสภาพสมบูรณ์เหมือนเดิม รวมถึงเตรียมหาทางเพิ่มช่องทางการระบายน้ำในถนนให้มากยิ่งขึ้นด้วย ภายหลังได้รับทราบข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่และจากการส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจ ส่วนโรงเรียนที่ก่อนหน้านี้ต้องปิดไป 4 โรงเรียน สามารถกลับมาเปิดการเรียนการสอนได้ตามปกติแล้ว โดยมีการนำกระสอบทรายไปปิดกั้นทางน้ำไหลเข้าโรงเรียน พร้อมทั้งปรับให้ไปใช้อาคารเรียนหลังอื่นที่มีความสูง รวมถึงมีการเฝ้าระวังในเรื่องของกระแสไฟฟ้า โรคที่มากับน้ำ และห้ามเด็กแอบไปเล่นน้ำเพื่อความปลอดภัย ส่วนเสาไฟฟ้าที่ล้มจำนวน 1 ต้น คาดว่าวันนี้ทางเจ้าหน้าที่จะดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จก่อนช่วงเย็น ขณะเดียวกันทางประมงก็เตรียมเข้าช่วยเหลือชดเชยเยียวยาตามระเบียบราชการหลังจังหวัดประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย และตรวจพบความเสียหายจริงสำหรับเกษตรกรผู้ทำประมงไม่ว่าจะเป้นผู้ที่เลี้ยงปลาในบ่อและในกระชัง ขณะเดียวกันทางปศุสัตว์ก็มีโควตาสนับสนุนหญ้าแห้งจำนวน 1,500 กว่าฟ้อนให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบภัยได้ขอไปให้สัตว์เลี้ยงได้ทาน ซึ่งหากไม่เพียงพอจะมีการประสานขอการสนับสนุนเพิ่มเติมจากทางเขตได้อีก
นอกจากนี้ยังได้มีการชี้แจงเกี่ยวกับระเบียบถุงยังชีพที่จะจัดซื้อเพื่อให้การช่วยเหลือประชาชน ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้เลยไม่ต้องรอจังหวัดสั่งการ แต่ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบกฏกหมายที่กระทรวงการคลังกำหนด ขณะเดียวกันทางสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนมก็จะมีเมล็ดพันธุ์ผักจากกิจกรรมทอดผ้าป่าจัดหาเมล็ดพันธุ์พืชไปมอบให้ประชาชนทั้ง 12 อำเภอหลังน้ำลด สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนมจะมีการประสานขอการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชและข้าวมาช่วยเกษรตรกรเพิ่มเติม โดยในโอกาสนี้ได้มีการเน้นย้ำเจ้าหน้าที่ในเรื่องของการรายงานข้อมูลต้องเคลียร์และเป็นปัจจุบันที่สุด เพื่อให้สามารถเข้าช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว ทันท่วงที พี่น้องประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุด ทั้งให้ประสานหน่วยสาธารณภัยทุกหน่วยในการเตรียมความพร้อมเครื่องมือและเจ้าหน้าที่ในการเข้าสนับสนุนเพิ่มเติมได้ทันทีหากเกิดเหตุฉุกเฉิน
ข่าวน่าสนใจ:
- นครพนม ปลาส้ม ของแซ่บ ยอดขายพุ่งเท่าตัว ประชาชน แห่ซื้อหลังเทศกาลปีใหม่
- "พานเพชร โพธิ์ทอง" ผู้สมัคร ส.อบจ.ลำปางใจป้ำ ให้อภัยยอมความไม่เอาเรื่อง 3 โจ๋มือทำลายป้ายเสียง
- ‘สสจ.นครพนม’ ประกาศเจตนารมย์ องค์กรคุณธรรม-ต่อต้านการทุจริต ประจำปีงบประมาณ 2568
- ครูแก้วติงการเมืองใหญ่แทรกแซงท้องถิ่น ชี้เลือกตั้งนายก อบจ. นครพนม ควรปล่อยอิสระ หวั่นกระทบความสมดุลประชาธิปไตย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: