X

“โตโน่” ทำสำเร็จ!! หนึ่งคนว่าย หลายคนให้ ส่งมอบศูนย์หัวใจสองฝั่งโขง

นครพนม : “โตโน่” ทำสำเร็จ!! หนึ่งคนว่าย หลายคนให้ ONE MAN AND THE RIVER ส่งมอบศูนย์หัวใจสองฝั่งโขง

เมื่อวันที่  21 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.30 น.ที่โรงพยาบาลนครพนม จัดงานส่งมอบศูนย์หัวใจสองฝั่งโขง ONE MAN AND THE RIVER  ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด  โรงพยาบาลนครพนมตามรายการบริจาคว่ายน้ำข้ามแม่น้ำโขง ONE MAN AND THE RIVER  “หนึ่งคนว่าย  หลายคนให้” นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม พร้อมด้วยนางสงวน จันทร์พร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครพนม  พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ บุคคลากรทางการแพทย์ให้การต้อนรับ

นายนฤพนธ์  ยุทธเกษมสันต์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครพนม กล่าวว่า ปัจจุบันมีการเปิดประเทศจะมีผู้เดินทางมาเยือนจังหวัดนครพนมเพิ่มขึ้น จากทั้งภาคเศรษฐกิจ ภาคการท่องเที่ยวและภาคการแพทย์และสุขภาพ ในด้านสาธารณสุข จังหวัดนครพนมได้ดำเนินการรองรับผู้สูงอายุ  มีประชากรสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เดินทางเข้ามารับบริการทางการแพทย์และสุขภาพในจังหวัดนครพนม ปี 2563 เราให้บริการผู้ป่วยนอก 320,210 ครั้ง ผู้ป่วยใน 27,992 ครั้ง คาดว่าการเปิดประเทศจะมีประชากรต่างชาติ เดินทางเข้ามารักษาจำนวนเพิ่มมากขึ้น   โดยเฉพาะโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันยังเป็นปัญหาหลักในพื้นที่ตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นการก่อตั้งศูนย์หัวใจสองฝั่งโขงโรงพยาบาลนครพนม จะช่วยให้ผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome) ในจังหวัดนครพนม และพื้นที่ข้างเคียงได้อย่างรวดเร็วตามมาตรฐานการรักษา เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและทุพลภาพ โดยในส่วนของโรงพยาบาลนครพนมนั้นได้ดำเนินการยื่นเรื่องไปที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว คาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในเดือนเมษายนและระหว่างที่เรากำลังพัฒนาบุคลากรให้ด้านนี้ให้มากขึ้น เราได้ทีมศูนย์หัวใจเพื่อแผ่นดินจากโรงพยาบาลสกลนครมาช่วยก่อน

ด้าน น.ส.เอด้า  จิรไพศาลกุล กรรมการผู้จัดการเทใจดอทคอม กล่าวว่า เทใจดอทคอมเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ระดมทุนและจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้โรงพยาบาลนครพนม และโรงพยาบาลแขวงคำม่วนให้ครบถ้วนตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเริ่มจากการสำรวจความต้องการใช้งาน  ความพร้อมของเจ้าหน้าที่และบุคคลากรทางการแพทย์ จากนั้นจึงเปิดโอกาสให้บริษัทต่างๆ เข้ามานำเสนอต่อคณะกรรมการกลาง โดยกระบวนการดังกล่าวทางองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น hand social enterprise ช่วยออกแบบกระบวนเพื่อให้การคัดเลือกโปร่งใสที่สุด และการทำศูนย์หัวใจสองฝั่งโขงยังได้ความอนุเคราะห์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจจากที่ต่าง ๆ ผศ.นพ.วรการ พรหมพันธุ์ หัวหน้าศูนย์โรคหัวใจ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ผศ.นพ.ไชยสิทธิ์ วงศ์วิภาพร หัวหน้าสาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นพ.เขตต์ ศรีประทักษ์  นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานอายุรศาสตร์หัวใจโรงพยาบาลทรวงอก น.พ.ธนพัฒน์ เลิศวิทยากำจร นายแพทย์ชำนาญการ อายุรกรรม (หัวใจ) ผศ.พ.ญ.รัตนา คำวิลัยศักดิ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ นายภาคิน คำวิลัยศักดิ์  ที่ได้ร่วมกันคัดเลือกเพื่อให้ได้เครื่องที่ดีและเหมาะสมกับโรงพยาบาลที่จะเป็นศูนย์หัวใจสองฝั่งโขง

โตโน่ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์  กล่าวว่า พวกเราทั้งพี่น้องชาวไทยและพี่น้องชาว สปป.ลาวได้ร่วมบริจาคเงินเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้โรงพยาบาลนครพนม และโรงพยาบาลแขวงคำม่วน โดยมูลค่าสิ่งของที่เราจัดซื้อไปทั้งหมดคิดเป็น 92,500,000 บาทวันนี้ถือเป็นวันที่ดีมากๆ อีกวันที่เรามาร่วมกันเป็นสักขีพยานในการปิดโครงการ เพื่อส่งสอบ “ศูนย์หัวใจสองฝั่งโขง”(Cath Lab)  ที่ใช้เวลากว่า 6 เดือนในการจัดตั้งศูนย์หัวใจแห่งนี้ เริ่มตั้งแต่การทำห้องสวนหัวใจใหม่ที่มีระบบความปลอดภัยจากอันตรายจากรังสีต่างๆ รวมถึงการทำระบบไฟฟ้าสำรองที่สามารถตรวจรักษาผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง แม้ระบบไฟฟ้าจะดับทั้งเมืองนครพนม

นอกจากนี้ยังมีการจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์อื่นๆที่จำเป็นสำหรับใช้ในห้องตรวจรักษาแบบครบครัน ได้แก่ เครื่องสวนหัวใจระนาบเดี่ยว ,เครื่องอัลตร้าซาวด์หัวใจ ,เครื่องอัลตร้าซาวด์ชนิดดูเส้นเลือดหัวใจ,เครื่องตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด ,เครื่องปั้มหัวใจไฟฟ้า, เครื่องตรวจคลื่นหัวใจ พร้อมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้เพื่อให้วิเคราะห์การตรวจรักษาได้อย่างแม่นยำ  ปัจจุบันเราทราบว่าทั้งสองโรงพยาบาลได้ใช้เครื่องมือแพทย์ที่ได้รับบริจาคจากโครงการหนึ่งคนว่ายหลายคนให้ อย่างคุ้มค่าเช่นโรงพยาบาลนครพนมมีการใช้งานเครื่องต่างๆทุกวัน  ขณะที่โรงพยาบาลแขวงคำม่วนได้ใช้ตรวจรักษาคนลาวไปแล้วกว่า 12,000 คน

ผมรู้สึกดีใจที่พวกเราได้มีส่วนร่วมทำให้พี่น้องชาวไทยและชาว สปป.ลาว ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงโรงพยาบาลแห่งนี้ได้เข้าถึงการตรวจรักษาที่ทันสมัย เพื่อให้ทุกท่านได้มีสุขภาพที่ดีและทีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสุดท้ายนี้ผมขอบคุณพระคุณทุกๆท่านที่มีส่วนในการทำให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วงตามเจตนาที่ได้ตั้งใจไว้

โตโน่ได้กล่าวทิ้งท้ายถึงคนรุ่นใหม่ว่า เริ่มแรกให้ลงมือทำเชื่อว่าความรักความสามัคคี และน้ำใจ 3 อย่างนี้ไม่เคยมีผลเสียและผลร้ายกับใคร

ตัวแทนแขวงคำม่วน ดร.สมจิตร อ่ำพิลาวง รองหัวหน้าแผนกสาธารณสุขแขวงคำม่วน ท้าววันทะวี สานุวง รองหัวหน้าแผนกการต่างประเทศ ดร.นางคำหล้า ราชวง รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลแขวงคำม่วน พร้อมคณะ มาร่วมพิธีด้วย

โรงพยาบาลนครพนมได้รับ เครื่องมือแพทย์ 11 รายการ ประกอบด้วย ศูนย์ปฏิบัติการสวนหัวใจ 1 ศูนย์ ที่โครงการได้จัดซื้ออุปกรณ์ครบครัน ประกอบด้วย, เครื่องสวนหัวใจระนาบเดี่ยว, เครื่องอัลตร้าซาวด์หัวใจ , เครื่องอัลตร้าซาวด์ชนิดดูเส้นเลือดหัวใจ, เครื่องตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด, เครื่องปั้มหัวใจไฟฟ้า, เครื่องตรวจคลื่นหัวใจ, ระบบ IT ต่างๆ เพื่อให้การวิเคราะห์แม่นยำ,  งบประมาณเพื่อปรับปรุงสถานให้รองรับการใช้งาน, เครื่องช่วยหายใจสำหรับเด็กชนิดความถี่สูงพร้อมชนิดควบคุมแรงดันและชนิดไม่สอดใส่ท่อ 1 เครื่อง สำหรับ PICU (ห้องไอซียูเด็ก), เครื่องเฝ้าติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญานชีพ Monitor NIBP 1 เครื่อง สำหรับ PICU (ห้องไอซียูเด็ก), เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมปริมาตรและแรงดันพร้อมระบบหย่าเครื่องอัตโนมัติ ขนาดกลาง จำนวน 5 เครื่อง, เครื่องควบคุมการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ 20 เครื่อง

เตียงผู้ป่วยสำหรับไอซียูปรับด้วยไฟฟ้า 3 Motor 12 เตียง

เตียงผู้ป่วยสำหรับไอซียูปรับด้วยไฟฟ้าชนิด 4 motor ชนิดชนิดที่ชั่งน้ำหนักได้ 2 เตียง เตียงผู้ป่วยสำหรับไอซียูปรับด้วยไฟฟ้าชนิด 4 motor จำนวน 3 เตียง

เตียงสำหรับผู้ป่วยควบคุมด้วยรีโมทคอลโทลที่นอนโฟม (Stroke) 12 เตียง

เครื่องอัลตร้าซาวด์หัวใจ 1 เครื่อง เครื่องวัดความดันโลหิต 5 เครื่อง

 

โรงพยาบาลแขวงคำม่วน ได้เครื่องมือแพทย์ 20 รายการ ดังนี้

เครื่องช่วยหายใจเด็ก ชนิด nCPAP จำนวน 2 เครื่อง ซึ่งเป็นเครื่องช่วยหายใจสำหรับทารกที่มีภาวะหายใจลำบาก ภาวะหยุดหายใจ หรือหลังจากถอดท่อช่วยหายใจทางหลอดลม เพื่อช่วยให้ทารกหายใจเหนื่อยน้อยลง

เครื่องเฝ้าติดตามสัญญาณชีพชนิดข้างเตียงผู้ป่วย Bedside Monitor ที่สามารถติดตามภาวะการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต จำนวน 5 เครื่องเพื่อติดตั้งในห้อง ICU  เครื่องกระตุกหัวใจ AED จำนวน 3 เครื่อง เพื่อติดตั้งในห้องฉุกเฉิน รถกู้ชีพ

เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติพร้อมขาตั้ง 12 เครื่อง เพื่อติดตามอาการคนไข้ในแผนกและวอร์ดผู้ป่วยในต่างๆ

เครื่องวัดความดันชนิดสอดแขนจำนวน 3 เครื่อง เพื่อใช้แผนก OPD , ผู้ป่วยฉุกเฉิน

เครื่องดึงคอ/ดึงหลัง (traction) จำนวน 1 เครื่อง สำหรับแผนกกายภาพบำบัดที่ปัญหาด้านกระดูกคอและสันหลังเครื่องอัลตร้าซาวด์สำหรับกายภาพ จำนวน 2 เครื่อง แผนกกายภาพบำบัดเพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านกล้ามเนื้อ หม้อต้มแผ่นประคบร้อน จำนวน 1 เครื่อง (แผนกกายภาพบำบัด)

Infant Incubator 2 เครื่อง

Radian Warmer 2 เครื่อง

Surgical Light (อยู่ระหว่างการขนส่ง) Infusion Pump 5 เครื่อง Syringe Pump 5 เครื่อง ชุดกล้องส่องตรวจและผ่าตัดโพรงจมูลและท่อมซิล ENT Diagnostic Set 1 ชุด เครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง 1 เครื่อง ULTRASOUND 4 มิติ แผนกสูติ 1 เครื่อง

เครื่องวัดการบีบตัวของมดลูก ครรภ์แฝด 1 ชุด

ชุดกล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ้พร้อมเครื่องล้างกล้องส่องตรวจ 1 เช็ต อุปกรณ์ผ่าตัดสมอง (เครื่องเจาะและตัดกะโหลกชนิดความเร็วสูง) Autocave เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อขนาด 280 ลิตร

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน