วันที่ 12 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น.ณ โรงแรมไอโฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม นางสาวพิมล โพนทราย ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนครพนม จัดโครงการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย กิจกรรมอบรมเครือข่ายประชาธิปไตยเพื่อขับเคลื่อนโครงการ ศส.ปชต.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ขับเคลื่อนการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การมีส่วนร่วมในการดำเนินการกิจกรรมทางการเมือง ตลอดทั้งการใช้อำนาจรัฐอย่างต่อเนื่องโดยสร้างมาตรการและกลไก การมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบอาสาสมัคร เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการเลือกตั้งหรือเรียกว่าศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (ศส.ปชต.) โดยได้ทำความร่วมมือกับหน่วยงานที่กำกับดูแลและสนับสนุนองค์กรเครือข่ายให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทุกตำบลได้แก่ กรมส่งเสริมการเรียนรู้กระบวนการปกครอง กรมพัฒนาชุมชนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมกิจการผู้สูงอายุ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเครือข่ายในชุมชนที่มีความเข้มแข็งสามารถสนับสนุนกิจการสร้างพลเมืองให้เกิดผลสัมฤทธิ์
การอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย ศส.ปชต.ให้มีศักยภาพและมีความเข้มแข็ง สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองรวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือก สว. เพื่อนำไปต่อ ยอด เผยแพร่ ให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข่าวน่าสนใจ:
- ระทึก เพลิงไหม้บ้าน 2 ชั้นวอดทั้งหลัง น้องแมว 7 ชีวิต รอดตายหวุดหวิด โดย 3 ตัวโดนไฟลวกบาดเจ็บ
- ชายวัย 50 ปี เปลี่ยนถังแก๊สเอง จุดเตาทำกับข้าวไฟพรึ่บคลอกเจ็บหนัก
- ชมรมโฮปฯ ร่วมกับชุมชน จัดกิจกรรม ซานตาโฮป แจกของขวัญให้กับเด็กในชุมชนกว่าพันชิ้น
- มท.1 เยือนจังหวัดนครพนม เปิดงานมหกรรมเทศกาลปลาลุ่มน้ำสงคราม ประจำปี 2567 ครั้งที่ 21 ผลักดัน Soft Power อำเภอศรีสงคราม
การอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจำนวน 198 คน ประกอบด้วยประธานกรรมการ และเลขานุการ ศส.ปชต.ทั้ง 99 ตำบลโดยมีเนื้อหาในการอบรม เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการได้มาซึ่ง สว.และขั้นตอนในการเลือก สว. แนวทางการดำเนินกิจกรรม ศส.ปชต.การดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์การเลือก สว.การขับเคลื่อนศส.ปชต.ในการจัดตั้งคณะกรรมการ ศส.ปชต.ระดับอำเภอและ ศส.ปชต.ระดับจังหวัด
นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ประธานในพิธีได้กล่าวถึงศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยกิจกรรมอบรมเครือข่ายประชาธิปไตยเพื่อขับเคลื่อนโครงการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (ศส.ปชต.) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เสริมสร้างความเป็นพลเมือง เข้ามามีส่วนร่วมกับทางการเมืองและเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือก สว.ซึ่งจะมีขึ้นในปี 2567
ผู้ว่าฯยังได้กล่าวถึงความสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การขับเคลื่อนภารกิจศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยในการสร้างพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตยและเครือข่ายพลเมืองให้มีผลสัมฤทธิ์และมีประสิทธิภาพการบูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการพัฒนาสู่หลักประชาธิปไตยที่ยั่งยืน
การได้มากของ สว.แบ่งออกเป็น 20 กลุ่ม ประกอบด้วย
1.กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง ได้แก่ ผู้เคยเป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
2.กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ผู้เป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
3.กลุ่มการศึกษา ได้แก่ ผู้เป็นหรือเคยเป็นครู อาจารย์ นักวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
4.กลุ่มสาธารณสุข ได้แก่ ผู้เป็นหรือเคยเป็นแพทย์ทุกประเภท เทคนิคการแพทย์ สาธารณสุข พยาบาล เภสัชกร หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
5.กลุ่มอาชีพทำนา ปลูกพืชล้มลุก หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
6.กลุ่มอาชีพทำสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
7.กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคล ซึ่งไม่ใช่ราชการหรือหน่วยงานรัฐ ผู้ใช้แรงงาน หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
8.กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์ สาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
9.กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อยตามกฎหมาย หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
10.กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการตามกลุ่มที่ 9
11.กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบกิจการหรือพนักงานโรงแรม หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
12.กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
13.กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตรกรรม หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
14.กลุ่มสตรี
15.กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
16.กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
17.กลุ่มประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
18.กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
19.กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ หรืออื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
20.กลุ่มอื่นๆ
เมื่อผู้สมัครรับเลือกสว.ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ จะเข้าสู่การเลือกกันเองภายใน 20 กลุ่ม ผู้สมัครแต่ละคนเลือกสมัครได้แค่ 1 กลุ่ม และใน 1 อำเภอเท่านั้น ทุกกลุ่มจะเลือกกันเอง ตั้งแต่ในระดับอำเภอ พอได้ตัวแทนระดับอำเภอแล้วไปคัดเลือกกันเองในระดับจังหวัด จากนั้นเข้าสู่กระบวนการไปคัดเลือกกันเองต่อในระดับประเทศ
เมื่อผ่านการเลือกทั้ง 3 ระดับ ผู้ได้คะแนนสูงสุด 10 อันดับแรกของกลุ่ม จาก 20 กลุ่ม จะเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็น สว. 200 คน
แม้ตามวัตถุประสงค์ ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ จะคิดค้นวิธีกระบวนการเลือก แบ่งเป็น 20 กลุ่ม เพื่อให้ได้ สว.ที่มีความรู้ ความสามารถมาจาก วิชาชีพที่หลากหลายเข้ามาทำหน้าที่ ป้องกัน ภาคการเมืองเข้ามาควบคุม ผ่านกระบวนการเลือกตั้งตรงเพียงอย่างเดียว หรือ สรรหาเพียงอย่างเดียวอย่างที่เคยเป็นมา จึงได้ออกแบบวิธีเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมเริ่มจาก อำเภอ จังหวัด จนถึงระดับประเทศ อันค่อนข้างสลับซับซ้อน กระบวนการดังกล่าวจะป้องกันการเมือง ไม่ให้เข้ามาแทรกแซง เพื่อให้ได้ สว.ที่มีความเป็นอิสระจริงได้หรือไม่ คงต้องเฝ้าติดตามกันต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: