X

นครพนมยังเฝ้าเกาะติดสารปนเปื้อนกรดซัลฟิวริกอย่างใกล้ชิด

 

คืบหน้ากรณีที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ได้มีหนังสือแจ้งเตือนประชาชน เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 แจ้งการเกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกสารเคมีพลิกคว่ำ ทำให้กรดซัลฟิวริกไหลลงสู่แม่น้ำคาน บริเวณแขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 ซึ่งระยะทางจุดเกิดเหตุห่างจากอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ประมาณ 293 กิโลเมตร สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขง พบว่าสารเคมีจะเคลื่อนตัวผ่านเขื่อนไชยะบุรี วันที่ 5 เมษายน 2567 ซึ่งจะทำให้สารเคมีเจือจางลง จากนั้นจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย (จังหวัดเลย) ช่วงวันที่ 8 – 10 เมษายน 2567 และจากการประเมินในเบื้องต้นคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำแม่น้ำโขงในประเทศไทย

 

ล่าสุดวันที่ 7 เม.ย.67 เวลา 09.00 น.ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ไปพบคุณตาสนม คำวงษา อายุ 73 ปี ชาวบ้านผู้ประกอบการเลี้ยงปลากระชัง หมู่ที่5 บ้านอาจสามารถ ตำบลอาจสามารถทอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

ขณะนี้ได้เลี้ยงปลาเผาะอยู่ในกระชังเลี้ยงจำนวน 14 จาก 24 กระชังปลา โดยเลี้ยงมากว่า 8 เดือน และพร้อมจับออกมาจำหน่ายได้ราวช่วงเดือนสิงหาคม

ส่วนความกังวลเกี่ยวน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมีที่เกิดขึ้นที่ สปป.ลาว นั้น นายสนม กล่าวว่าตนได้ติดตามข่าวสารจากทางการอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด ทราบว่ามีเจ้าหน้าที่ออกตรวจคุณภาพน้ำว่ายังปกติ ทำให้เกิดความสบายใจแต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงว่า หากผู้บริโภคขาดความเชื่่อมั่นข่าวสารของทางการ ซึ่งส่วนใหญ่ ปลาเผาะที่เลี้ยงไว้ จะส่งขายร้านอาหารในระแวก ใกล้เคียง โดยเฉพาะร้านอาหารริมฝั่งแม่น้ำโขง ต.อาจสามารถ นำไปทำปลาลวกจิ้มจำหน่าย จนอาจไม่กล้าบริโภคปลาช่วงนี้ และตนต้องได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างแน่นอน

ผลกระทบจากการเลี้ยงปลาในช่วงระหว่างนี้มาจากสภาพอากาศที่ร้อน ส่งผลให้ปลาลอยตายเฉลี่ยวันละ 2-4 ตัวเป็นเรื่องปกติ แต่หากเมื่อใดพบมีปลาในกระชังลอยตายผิดปกติก็เชื่อว่าอาจจะได้รับกระทบจากสารเคมีที่เจือปน ซึ่งตนก็ขอภาวนาอย่าให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว

 

ด้านนายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม ได้สั่งการให้สาธารณสุขอำเภอ ทั้ง 4 อำเภอที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำโขง ประกอบด้วย อำเภอบ้านแพง อำเภอท่าอุเทน อำเภอเมืองนครพนม และอำเภอธาตุพนม ติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพอย่างใกล้ชิด โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำมาตรวจวัดคุณภาพน้ำโขงที่ไหลผ่านจังหวัดนครพนม ในเบื้องต้นพบคุณภาพน้ำยังปกติ ไม่พบสารกรดซัลฟิวริก (Sulfuric acid) หรือกรดกำมะถัน จากการตรวจวัดคุณภาพน้ำ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2567 เวลา 12.00 น. ทั้ง 4 อำเภอที่ติดแม่น้ำโขงของจังหวัดนครพนม มีค่าความสมดุลของกรด-ด่าง อยู่ในเกณฑ์ปกติ (pH 6.5-8.5) ยังไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ และจากการตรวจวิเคราะห์คุณภาพค่าความเป็นกรดด่างอำเภอบ้านแพง ค่า pH อยู่ที่ 7.4 อำเภอบ้านท่าอุเทน ค่า pH อยู่ที่ 7.8 อำเภอเมืองนครพนม ค่า pH อยู่ที่ 7.6 และอำเภอธาตุพนม ค่า pH อยู่ที่ 7.6

 

“ขอประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนถึงพี่น้องประชาชนที่สัญจร และประกอบกิจกรรมในบริเวณแม่น้ำโขง การทำประมงสัตว์น้ำ รวมทั้งผู้ที่อาศัยในพื้นที่ 4 อำเภอติดแม่น้ำโขง จากการตรวจวัดคุณภาพน้ำไม่พบสารเคมีปนเปื้อนจากกรดซัลฟิวริก แต่ต้องติดตามข้อสถานการณ์น้ำและข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่อย่างใกลัชิด จนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับผู้ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากกรดซัลฟิวริก ทั้งจากพี่น้องชาว สปป.ลาว และชาวไทย จะอย่างไรก็ตาม หากพี่น้องสัมผัสแหล่งน้ำแล้วมีอาการระคายเคืองผิวหนัง ระคายเคืองดวงตา ระคายเคืองจมูกและทางเดินหายใจ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ผิวหนังไหม้ปวดแสบปวดร้อนเกิดแผลพุพอง หรือตาพร่ามัว ตาแดง น้ำตาไหล ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการและรับการรักษาทันที

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน