นครพนม อ่วมพายุฤดูร้อนถล่ม 3 วันรวด รวม 7 อำเภอ บ้านพังกว่า 500 หลัง ต้นยางพาราหักโค่นหลายพื้นที่ เร่งช่วยซ่อมหวั่นฝนซ้ำอีก
วันที่ 17 เมษายน 67 นครพนม อากาศยังคงแปรปรวนหนัก อุณหภูมิในช่วงกลางวันสูงกว่า 40 องศา ทำให้เกิดพายุฤดูร้อน ฝนตก ลมพีแรง ในหลายพื้น 3 วัน รวม 7 อำเภอ บ้านเรือนพังกว่า 500 หลัง สวนยางหักโค่นเสียหาย บางรายหนักสุดค่าซ่อมแซมนับแสน พ่อเมืองกำชับ ทุกภาคส่วน ให้การช่วยเหลือชดเชยเยียวยาอย่างเร่งด่วน พร้อมสั่งเฝ้าเฝ้าระวังช่วงอากาศแปรปรวนอย่างใกล้ชิด
ซึ่งล่าสุด วันที่ 16 เมษายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม ได้เกิดพายุฤดูร้อนพัดถล่มบ้านเรือนของชาวบ้านเพิ่มอีก ในหลายอำเภอ จากเดิม 5 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมือง นครพนม อ.นาแก อ.ท่าอุเทน อ.โพนสวรรค์ และ อ.ศรีสงคราม เมื่ิอวานเพิ่มอีก คือ อ.ปลาปาก เสียหายจำนวน 83 หลัง อ.นาทม 20 หลังคาเรือน
ข่าวน่าสนใจ:
โดยตั้งแต่ช่วงเย็นที่ผ่านมา ได้เกิดพายุ ลมแรงพัดถล่มซ้ำ ทำให้บ้านเรือนของชาวบ้าน ได้รับความเสียหายรวมกว่า 500 หลังคาเรือน เนื่องจากสภาพอากาศยังคงแปรปรวน ในช่วงนี้มีอุณภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ทำให้มีความเสี่ยงเกิดพายุฤดูร้อนอย่างต่อเนื่อง
โดยทางด้าน นายวันชัย จันทร์พร ผวจ.นครพนม พร้อมด้วย นางสาวศุภพานี โพธิ์สุ นายก อบจ.นครพนม ประสานเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารท้องถิ่น ลงพื้นที่ ตรวจสอบ เร่งให้การช่วยเหลือมอบถุงยังชีพ บรรเทาความเดือดร้อน พบว่า มีชาวบ้านได้รับผลกระทบพายุดพัดบ้านเรือนพังเสียหาย ต้องการความช่วยเหลือผู้ ในพื้นที่อำเภอโพนสวรรค์ จำนวน 191 หลังคาเรือน พื้นที่อำเภอท่าอุเทน จำนวน 150 หลังคาเรือน พื้นที่อำเภอศรีสงคราม จำนวน 57 หลังคาเรือน อำเภอเมือง 91 หลังคาเรือน อำเภอนาแก 20 หลังคาเรือน อำเภอนาทม 20 หลังคาเรือน อำเภอปลาปาก 83 หลังคาเรือน รวมบ้านเรือนได้รับเสียหายรวมทั้ง 7 อำเภอ จำนวน 521 หลังคาเรือน พร้อมเร่งประสาน องค์กรปกครองส่วนท้องถี่น เร่งสำรวจ ให้การช่วยเหลือ จ่ายเงินชดเชยเยียวยา ตามระเบียบทางราชการ และระดมจิตอาสาเข้าตรวจสอบซ่อมแซม แก้ไขอย่างเร่งด่วนต่อไป
โดยทาง ปภ.นครพนม ยังแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง ติดกับแม่น้ำโขง รวมถึงพื้นที่ 12 อำเภอ เฝ้าระวัง ตรวจสอบอาคารบ้านเรือนให้มีความมั่นคงแข็งแรง เนื่องจากในช่วงนี้อากาศแปรปรวน มีความเสี่ยงต่อการเกิดพายุถล่มซ้ำอีก ยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ควรตรวจสอบบ้านเรือน ที่พักอาศัย ให้มีความแข็งแรง และดูแลความปลอดภัยหากเกิดพายุฝนฟ้าคะนองลมกรรโชกแรง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: