วันที่ 23 ส.ค.67 เวลา 10.30 น.ณ ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชน บ้านห้วยไห ม.4 ต.บ้านค้อ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม
นางสาวมัณฑนา ฟูกุล พลังงานจังหวัดนครพนม กล่าวภายหลังการพาสื่อมวลชนเยี่ยมชมโครงการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรบ้านห้วยไหว่า กลุ่มวิสาหกิจฯ บ้านห้วยไห เป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง สร้างงานสร้างรายได้ให้คนในชุมชน ด้วยการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวออแกนิค ข้าวไรซ์เบอรี่ และกล้วยตาก, รวมถึงมีการแปรรูปข้าว เช่น เครื่องดื่มผงข้าวระยะน้ำนมผสมผักเคล ข้าวกล้องงอกผงชงพร้อมดื่ม และเครื่องดื่ม กล้วยน้ำว้าผงชงดื่ม, ผงตะไคร้ผสมใบเตย ที่ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยกรรมวิธีที่สะอาดมีมาตรฐาน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงาน โดยในส่วนของการสนับสนุนด้านพลังงาน ได้รับงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปี 2565 จำนวน 739,658 บาท ผลิตภัณฑ์จากข้าวที่มีการตากแห้ง ซึ่งการตากในรูปแบบเดิมมีพื้นที่ไม่เพียงพอ และผลิตสินค้าไม่ทันกับความต้องการของตลาด
“การอบแห้ง ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการตากแดดตามธรรมชาติ ซี่งใช้พื้นที่มาก อีกทั้งยังทำให้ผลิตภัณฑ์แห้งที่ได้มีการปนเปื้อนจากการรบกวนของแมลง ฝุ่นละออง และการเปียกฝน มีผลทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน เมื่อชุมชนได้นำระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ ช่วยเพิ่มผลผลิตจากเดิมที่ผลิตได้เพียงข้าวฮางงอก ข้าวกล้องงอก และข้าวหอมมะลิ แต่ปัจจุบัน มีการทำข้าวฮางบด กล้วยตาก สับปะรดแช่อิ่มอบแห้ง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทำให้สินค้ามีมาตรฐาน และทำให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวได้หลากหลายขึ้น ทำให้สมาชิกไม่ต้องขายข้าวเปลือกธรรมดา มีการประกันราคาข้าวในแต่ละปีให้กับสมาชิกอีกด้วย” นางสาวมัณฑนา กล่าว
ทั้งนี้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวบ้านห้วยไห ได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรบ้าน ห้วยไห ในปี พ.ศ.2558 โดยมีสมาชิกจำนวน 12 คน โดยนางนิ่มอนงค์ แก้วไพศาล ประธานกลุ่มฯ ได้หาวิธีเพิ่มรายได้เพิ่มจากการปลูกข้าวอินทรีย์และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว เช่น ข้าวกล้อง ข้าวฮางงอก และข้าวฮางงอกบด ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 30% ซึ่งต่อมาได้ขยายกลุ่มโดยการตั้งกลุ่มแปลงใหญ่ขึ้น ในปี พ.ศ. 2561 ภายใต้ชื่อ นาแปลงใหญ่บ้านห้วยไห ตำบลบ้านค้อ มีสมาชิก 53 คน ซึ่งทำการปลูกข้าวอินทรีย์ทั้งหมด 939 ไร่ ต่อมานางนิ่มอนงค์ ได้มีการจัดตั้งบริษัท เพชรไพศาลค่ำคูณ เพื่อรองรับและซื้อข้าวอินทรีย์จากสมาชิกกลุ่มมาแปรรูป และหาช่องทางการตลาดโดยการส่งออกข้าวไปต่างประเทศ นอกจากนั้นยังมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ เช่น สับปะรดแช่อิ่มอบแห้ง กล้วยตาก เป็นต้น.
นางนิ่มอนงค์ กล่าวกับผู้สื่อข่าว ว่าเมื่อก่อนมีปัญหาที่ตากข้าวฮาง งอกมันเป็นระบบเปิด แต่ลูกค้าที่ส่งออกอยากได้ระบบปิด หน้าฝนทางกลุ่มผลิตไม่ได้ และคุณภาพไม่ดี สินค้าคุณภาพไม่ดี ที่ได้รับผลประโยชน์ ทำให้ผลผลิตมากขึ้น ลดการใช้แรงในงานคน จากเคยใช้ 3 คน เหลือ 2 คน ผลผลิตและคุณภาพเพิ่มขึ้น ค่าตอบแทนได้มากขึ้น ตอบโจทย์และแก้ปัญหาได้ดีกว่าเดิม
ข่าวน่าสนใจ:
- นครพนมคึกคัก! เปิดศึกเลือกตั้ง อบจ. วันแรก “ศุภพานี-ประสงค์” ชิงชัย พร้อมนโยบายพัฒนาท้องถิ่น
- ตรัง "เมนูลูกปลาปิ้งเครื่อง" จับปลาสดๆจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ปรุงเป็นอาหารพื้นบ้านแสนอร่อย
- กองเชียร์นายกก้อยคึก แม้ไม่มีคู่แข่งดีกรีพอทาบบารมีได้ ในสนามชิงนายก อบจ.แปดริ้ว
- นนทบุรี หนุ่ม 16 ขับเบนช์ เสียหลักเหินขึ้นไปคาอยู่บนรถ 6 ล้อรอดตายปาฏิหาริย์
นางสาวมัณฑนา กล่าวถึงการส่งเสริมตลอด 2 ปีที่ผ่านมา มีการขอเป็นจำนวนมาก และที่ได้รับการสนับสนุนราว 170 โครงการ โดยส่วนใหญ่จะเป็นระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งขนาดใหญ่และเคลื่อนที่ ครอบคลุมเกือบทุกอำเภอของจังหวัดนครพนม
นอกจากนี้ยังได้กล่าวตอนท้ายว่า การจะขอติดตั้งระบบ อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ก็ไม่ยากเพียงแต่ว่ากลุ่มต้องดำเนินการผลิตมีและการแปรรูปจริงๆแล้วก็มีสมาชิกจริงๆแล้วประสานผ่านไปยัง อปท.เช่น อบจ. อบต.และเทศบาล
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: