นายณรงค์ชัย จันทร์พร เภสัชกรชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคแลเะเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม เล่าเหตุการณ์ในช่วงเกิดอาการโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ว่า ตอนนั้นมีอาการอ่อนแรง ผมก็มาพักบ้านพัก แต่นอนไปสักประมาณ 15 นาที คราวนี้มีอาการชามากขึ้น คือ มันเดินได้ครึ่งเดียว แล้วผมก็ไม่รู้ว่าเป็นไร แต่ก็คิดว่าน่าจะมีอะไรผิดปกติสักอย่าง ผมก็เดินกระต่ายขาเดียวออกจากบ้านพัก เพื่อไปขอความช่วยเหลือ โชคดีที่บ้านตรงข้ามเป็นบ้านพักนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และวันนั้นคุณนายนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม อยู่ในบ้านพัก ผมเลยขอความช่วยเหลือขอให้คุณนายพาไปส่งที่โรงพยาบาลนครพนม
ข่าวน่าสนใจ:
- ชาวนาเผยต้นทุนการทำนาสูงแถมข้าวยังคงราคาตกต่ำอยากให้ทางรัฐบาลช่วยเหลือ
- ตรัง ชื่นชมชุมชนท่องเที่ยวร่วมใจเก็บขยะบนเกาะเหลาเหลียง
- เพชรบูรณ์ - นักท่องเที่ยวสุดเซ็ง! วางแผนไปเที่ยวเขาค้อภูทับเบิก หลังรู้ข่าวต้องเจอ"ทริปน้ำไม่อาบ" ยอมยกเลิกหรือปรับไปเที่ยวที่อื่นแทน
- กทม. ร่วม"ฟูกูโอกะ" เปิดงาน "Fukuoka Fair" ฉลอง18 ปีเมืองพี่เมืองน้อง
“คือตอนนั้นรู้สึกว่าตัวเองมันทําอะไรไม่ได้ มีอาการชายหมดเลยครับ เจ้าหน้าที่พาไปที่ห้องไอซียู แล้วพอดีวันนั้นเตียงข้าง ๆ ก็มีคนไข้ที่เป็นสโตรคเหมือนกัน แต่เขามาช้า ก็เลยเป็นอัมพาต ลูกหลานก็มาร้องไห้อยู่ข้างเตียงผม เหมือนกับว่าเราเห็นสภาพคนที่แบบเป็นสโตรก ที่มาโรงพยาบาลไม่ทันเวลา แล้วเขาก็กลายเป็นอัมพาตถาวรอยู่ข้างเตียง เราก็รู้สึกกลัว”
หลังจากอาการดีขึ้น ปรากฏว่าร่างกายด้านขวาของผมใช้งานไม่ได้ ผมเขียนหนังสือไม่ได้ทําอะไรไม่ได้เลย ผมก็เลยลางานกลับกรุงเทพฯ ไปพักฟื้น ตอนนั้นก็คิดว่าจะทําอะไรดีให้มันดีขึ้น คุณแม่ผมแนะนำให้ออกกําลังกายด้วยการบริหารมือ มันก็ดีขึ้นแต่ดีไม่มาก ทุกวันนี้ก็จะมีอาการชาถ้าเราไม่ออกกําลังกาย ผมก็เลยคิดว่าถ้าอย่างนั้นเรามาใช้วิธีออกกำลังกายด้วยกันเดินและก็วิ่งจะดีกว่าไหม
ตอนนั้นเรามองว่าการออกกำลังกายที่ถูกจริตเราก็คือ การเดิน กับการวิ่ง ก็เลยเริ่มด้วยการวิ่ง และคิดว่าการวิ่งจะทําให้การพักฟื้นให้เราดีขึ้น จากนั้นมาอาการชาของมือขวาก็เริ่มมีกําลัง สามารถเขียนหนังสือได้ เราก็รู้ว่าเราจะไม่พิการแล้ว ดีใจมากเลยครับ จุดประสงค์ของการออกกําลังกายของผมก็คือ การรักษาโรคแทรกซ้อนจากสโตรก รวมทั้งกลัวความพิการ ก็เลยต้องหันมาออกกําลังกาย ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา “จากคนที่ไม่เคยออกกำลังกาย ก็กลายมาเป็นคนออกกำลังกายอย่างจริงจัง”
“เวลาผ่านไป 6 เดือน ก็รู้สึกเบื่อ เลยไปสมัครงานวิ่งงานแรก คือ งานข้ามโขง ผมก็รู้สึกว่าการวิ่งมันก็สนุกดีนะ คือ มันไม่เหมือนเราออกกําลังกายตอนเช้า การออกไปร่วมงานวิ่งมันจะมีคนรอบข้างที่แข่งกับเรา แล้วเราก็ไม่ยอม เราต้องวิ่งนำหน้าเขา งานวิ่งมีส่วนทำให้ราออกกําลังกายสม่ําเสมอ และยั่งยืน ผมจึงตั้งเป้าหมายไว้ว่า เราจะวิ่งให้ถึงมาราธอนเลยไหม เพื่อให้เรายั่งยืน ก็เริ่มวิ่งจากงานวิ่งข้ามโขง ต่อด้วยฮาฟมาราธอน และผมใช้เวลา 3 ปี กว่าจะวิ่งมาราธอนได้ เรามีความสุขมากที่เราได้ทำในสิ่งที่เรารัก แต่ละคนอาจจะชอบไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะชอบแอโรบิค บางคนชอบไปว่ายน้ำ บางคนปั่นจักรยาน ส่วนผมคิดว่า การวิ่งทำให้ผมมีความสุขครับ”
นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวว่า ขอเชิญชวนพี่น้องชาวนครพนมทุกกลุ่มวัยในจังหวัดนครพนม ออกมาร่วมแสดงความจงรักภักดี เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ผ่านการออกกำลังกาย ในกิจกรรม ‘โครงการเดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 10 เฉลิมพระเกียรติฯ’ ในวันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2567 นี้ โดยสมัครลงทะเบียนร่วมกิจกรรมได้ทาง https://wrb10.thai.run/event/NPM ซึ่งสนามจังหวัดนครพนม มี 3 ประเภทกิจกรรม คือ เดิน ระยะทาง 5 กิโลเมตร วิ่ง ระยะทาง 10 กิโลเมตร และปั่นจักรยาน ระยะทาง 21 กิโลเมตร ปล่อยตัว ณ จุดสตาร์ท ‘ลานพญาศรีสัตตนาคราช’ ผู้ร่วมกิจกรรมสวมเสื้อเหลืองไม่จำกัดรูปแบบ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: