ตามที่รัฐบาล มีเจตนารมณ์ที่จะลดความรุนแรงของปัญหายาเสพติด ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม เพื่อไม่ให้ส่งผลกระบบต่อการดำรงชีวิต และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา กำหนดให้การแก้การแก้ไขปัญหายาเสพติดอยู่ในนโยบายการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี นำความปลอดภัยมาสู่ประชาชน เพื่อดำเนินการปราบปรามผู้มีอิทธิพลและยาเสพติดให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทย ภายใต้แนวคิด “เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย” ส่วนผู้ผลิตและผู้ค้าต้องได้รับโทษ รวมทั้งการ “ยึด อายัดทรัพย์สิน” เพื่อตัดวงจรการค้ายาเสพติด
วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม 2567 เวลา 10.45 น. นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม มอบหมายนายแพทย์กิตติเชษฐ์ ธีรกุลพงศ์เวช รักษาการนายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม ร่วมพิธีเปิด “ปฏิบัติการ Kick Off แก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดนครพนม เพื่อทำให้ประชาชนมีความสุข” โดยนายปราชญา อุ่นเพชรวรากร รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานในพิธีฯ พร้อมมอบนโยบายการดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดนครพนม และร่วมการตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะของเจ้าหน้าที่รัฐ มีหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และชุดปฏิบัติการประจำตำบล ร่วมพิธีเปิดฯ ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ซึ่งตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม ได้ซักซ้อมการปฏิบัติหน้าที่ในการประชาคม X-ray พร้อมทั้งขั้นตอนการลงพื้นที่ปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดนครพนม สาธารณสุขอำเภอศรีสงคราม โรงพยาบาลศรีสงคราม ได้ปฏิบัติการตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะของช้าราชการ พนักงานของรัฐ และชุดปฏิบัติการที่เข้าร่วมประชุม
ข่าวน่าสนใจ:
- มุกดาหาร - ล่า "ไอ้พล"หลังถูก M-16 ยิงจนรถพรุน ทิ้งยาบ้า 1.2 ล้านเม็ดหลบหนีไปได้
- นรข.เขตนครพนม มอบผ้าห่ม สร้างความอบอุ่นให้ชาวบ้าน
- "ทหารพรานที่ 2103 ลุยจับยาเสพติด! ยึดยาบ้า 96,000 เม็ด พร้อมผู้ต้องหา 2 รายที่ อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม"
- "ผู้ว่าฯ นครพนมนำทีม! ปลูกผักสวนครัวสู่ความมั่นคงทางอาหาร แนวพระราชดำริ 'THE CONCEPTS OF CHANGE FOR 5 G'"
เวลา 11.15 น. นายปราชญา อุ่นเพชรวรากร รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ประธานพิธีฯ และหัวหน้าส่วนราชการ ปล่อยขบวนชุดปฏิบัติการประจำตำบล พร้อมร่วมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจแก่ชุดปฏิบัติตำบลพื้นที่หมู่บ้านที่อำเภอกำหนด รวมทั้งได้พบปะ พูดคุยพี่น้องประชาชนเพื่อสร้างความเข้าใจ ในอันที่จะเป็นการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดนครพนม เพื่อทำให้ประชาชนมีความสุขที่สุด
นายปราชญา อุ่นเพชรวรากร รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จังหวัดนครพนม (ศอ.ปส.จ.นพ.) ได้ดำเนินการตามข้อสั่งการในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งจังหวัดนครพนม เป็น 1 ใน 10 จังหวัด ที่นายกรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นพื้นที่เป้าหมายในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี 2568 ตามแบบ “ธวัชบุรีโมเดล” จังหวัดร้อยเอ็ด มาปรับใช้เพื่อร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เพื่อให้ประชาชนมีความสุขที่สุด โดยน้อมนำพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขสิ่งผิด สืบสานพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
“ในวันนี้จังหวัดนครพนม ร่วมกับอำเภอศรีสงคราม และส่วนราชการระดับจังหวัด-อำเภอ ทุกภาคส่วน ได้กำหนดเปิดปฏิบัติการการเปิดปฏิบัติการ (Kick Off) โดยมีเจ้าหน้าที่และชุดปฏิบัติการประจำตำบล จำนวน 9 ตำบล 109 หมู่บ้าน เข้าร่วมเปิดปฏิบัติการ ซึ่งผมกับหัวหน้าส่วนราชการทุกภาคส่วน มีความตั้งใจ
อย่างแน่วแน่ ที่จะทำหน้าที่เพื่อให้พี่น้องชาวนครพนมด้วยการบูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ภาครัฐ ภาคเอกชน พี่น้องประชาชน นักเรียน นักศึกษา ต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาไปด้วยกัน จึงจะเกิดผลสำเร็จอย่างยั่งยืน และได้กำหนดอำเภอศรีสงคราม เป็นอำเภอนำร่องในการดำเนินงาน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ และเป็นอำเภอต้นแบบ เพื่อขยายการดำเนินงานไปยังอำเภออื่น ๆของจังหวัดนครพนมต่อไป”
นายแพทย์กิตติเชษฐ์ ธีรกุลพงศ์เวช รักษาการนายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า ภาพรวมการขับเคลื่อนบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ดำเนินการโดยฐานข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง : One Data Center ซึ่งในการตรวจคัดกรองฯ เมื่อตรวจพบก็จะจัดเป็นกลุ่ม “สีแดง สีส้ม สีเหลือง และสีเขียว” ตามระดับอาการทางจิตเวช โดยมีมาตรการดูแลในพื้นที่ และระบบบริการดูแลบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (Patient Journey) ดำเนินงานรูปแบบ “นครพนมโมเดล” ซึ่งปฏิบัติการเชิงรุก X-ray ตรวจปัสสาวะกลุ่มเสี่ยงยาเสพติด ค้นหาผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัด (โดยชุดปฏิบัติการคัดกรองฯ 12 ทีม) พื้นที่ไข่แดง (อำเภอศรีสงคราม) จำนวนประชากร (ช่วงอายุ 14-65 ปี) มีจำนวน 51,260 ราย เริ่มดำเนินงานวันที่ 1-15 ธันวาคม 2567 พื้นที่ไข่ขาว (อำเภอนาหว้า บ้านแพง ท่าอุเทน และอำเภอโพนสวรรค์) จำนวนประชากร (ช่วงอายุ 14-65 ปี) มีจำนวน 146,351 ราย ดำเนินการในช่วงระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม-15 กุมภาพันธ์ 2568 พื้นที่กะทะ (อำเภอปลาปาก วังยาง เรณูนคร นาแก และอำเภอธาตุพนม) จำนวนประชากร (ช่วงอายุ 14-65 ปี) มีจำนวน 189,207ราย และพื้นที่พิเศษ (อำเภอเมืองนครพนม) จำนวนประชากร (ช่วงอายุ 14-65 ปี) มีจำนวน 87,263 ราย ซึ่งทุกพื้นที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 28 กรกฎาคม 2568
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม โดยโรงพยาบาลศรีสงครามและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีสงคราม ได้จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยยาเสพติดเชิงรุก “นครพนมโมเดล” อำเภอศรีสงคราม ให้แก่ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตและยาเสพติด (รพ./ สสอ./ รพ.สต.) ทุกแห่งในพื้นที่อำเภอศรีสงคราม) ณ ห้องประชุมร่มเย็น โรงพยาบาลศรีสงคราม ในประเด็นนโยบายการขับเคลื่อนงาน “นครพนมโมเดล” จังหวัดปลอดยาเสพติด 100% การตรวจคัดกรองและแยกประเภทความเสี่ยงตามประเภทสีในผู้ป่วยยาเสพติด อย่างถูกต้องด้วยแบบประเมิน QAS (ก้าวร้าวรุนแรง) การวางแผนการตรวจปัสสาวะ/ คัดกรอง เพื่อแยกประเภทสีในผู้ป่วยยาเสพติด โดยมีศูนย์วิทยาศาตร์ที่ 8 อุดรธานี ร่วมเป็นวิทยากรในการตรวจสารเสพติด ประเภทยาบ้า กัญชาและยาไอซ์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: