นครพนม – วันที่ 29 ม.ค.62 นายเอนก รัตน์รองใต้ เกษตรจังหวัดนครพนม กล่าวว่าพื้นที่การเกษตรของจังหวัดนครพนม มีแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตพืชที่ปลอดภัย โดยนอกเหนือจากพืชผักแล้วยังให้ความสำคัญกับไม้ผลพืชเศรษฐกิจ ที่ต่างประเทศรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในจังหวัดนครพนมมากยิ่งขึ้น
ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม ได้ดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกไม้ผลทดแทนการปลูกพืชชนิดอื่นในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม เพื่อช่วยสร้างอาชีพและรายได้ รวมไปถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ โดยได้กำหนดให้สวนเอื้อวิมานเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการดูแลจัดการสวนทุเรียนคุณภาพ เพราะมีลักษณะเด่นที่น่าสนใจไว้ดังนี้ 1.การเตรียมสภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักชีวภาพและใช้ประโยชน์จากกิ่งหรือใบทุเรียนที่ตัดแต่งออก โดยสุมไว้ใต้ทรงต้น ปล่อยให้ผุพัง ทำให้ดินดีขึ้นแล้วก็กลายเป็นปุ๋ยทุเรียน
ข่าวน่าสนใจ:
- ผู้กำกับ สภ.บางเสาธง เชิญตัวคู่กรณีทั้งสองฝ่ายพูดคุยถึงเหตุการณ์ที่รถชนกันแล้วมีอ้างรู้จักตำรวจ
- นครพนม เปิดคลิป วัยรุ่น เหิมหนัก ยกพวกใช้มีดไล่ฟันคู่อริ พร้อมทุบทำลายทรัพย์สินอย่างไม่เกรงกลัวกฏหมาย
- ระทึก เพลิงไหม้บ้าน 2 ชั้นวอดทั้งหลัง น้องแมว 7 ชีวิต รอดตายหวุดหวิด โดย 3 ตัวโดนไฟลวกบาดเจ็บ
- พรรคประชาชนเปิดตัว นายแพทย์จิรชาติ เรื่องวัชรินทร์ หรือ หมอมุดสัง ชิง นายก อบจ.สุราษฎร์ ฯ สมัครจันทร์นี้
ปุ๋ยหมักชีวภาพทำจากวัสดุหาง่ายในพื้นที่ เช่น ใบตำลึงหรือผักบุ้ง กล้วยน้ำว้า น้ำตาลทรายแดง นำไปหมักให้สลายตัวจนได้ที่ สามารถใช้เป็นปุ๋ยทางใบ หรือทางดิน ทำให้ทุเรียนได้รับฮอร์โมนและธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งเป็นสารไล่แมลงศัตรูทุเรียนบางชนิดได้อีกด้วย มีการให้น้ำทุเรียนตลอดปี แต่ให้ในระดับที่เหมาะสมตามช่วงเวลา แสงแดด และฤดูกาล ช่วยให้ทุเรียนมีความแข็งแรง สามารถได้รับธาตุอาหารจากดินตลอดฤดู ช่วยในการย่อยสลายอินทรียวัตถุ และปรับสภาพแวดล้อมในดินให้เหมาะสม มีผลต่อจำนวนประชากรของไส้เดือนดินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อต้นทุเรียนแบบถาวร 4. การใส่ปุ๋ยเคมีทางสวนพิจารณาตามความต้องการของต้นทุเรียน โดยการสังเกตดูใบ และปริมาณผลผลิตที่ตัดออกจากสวน/ต้น การใส่ปุ๋ยขี้ไก่ ปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิต การตัดแต่งผลทุเรียนเพื่อเลี้ยงไว้ในปริมาณที่พอเหมาะ เลือกขนาดของกิ่งที่ไว้ผล จำนวนผลทุเรียน/กิ่ง จำนวนผลทุเรียน/ช่อ การเลือกตัดแต่งผลที่ไม่ต้องการทิ้งไป และ 6.มีการวางแผนการผลิต บริหารจัดการสวนอย่างเป็นระบบ ตรวจสอบค่าใช้จ่าย รายรับทางระบบบัญชี และประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่โดยการเรียนรู้พร้อมประเมินผล และเป็นผู้นำด้านความรู้ การปฏิบัติในชุมชนและบุคคลทั่วไป
ด้านนางบุญเอื้อ ไชยสิทธิ์ เกษตรกรเจ้าของบ้านสวนเอื้อวิมาน บ้านหนองไผ่ ต.อาจสามารถ อ.เมือง จ.นครพนม เล่าว่า ปี พ.ศ.2538 ตนเองและสามีได้ซื้อที่ดินว่างเปล่า จำนวน 33 ไร่ ทำเป็นสวนเกษตรพอเพียง ตามแนวทางพระราชดำริรัชกาลที่ 9 โดยเริ่มปลูกสวนผลไม้นานาชนิด ไปซื้อกิ่งพันธุ์ต้นทุเรียนมาปลูก 100 ต้น แยกเป็นพันธุ์หมอนทอง 50 ต้น พันธุ์ชะนีอีก 50 ต้น นอกจากนี้ในสวนยังปลูกผลไม้หลากหลายชนิด เพื่อเป็นการทดลอง อาทิ มังคุด มะยงชิด มะปราง เงาะโรงเรียน ลิ้นจี่ พันธุ์ นพ.1 ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนครพนม และแก้วมังกร
หลังจากปลูกไปได้ประมาณ 5-6 ปี ต้นทุเรียนก็ให้ผลผลิต นำมารับประทาน พบว่ามีความอร่อยไม่แพ้ทุเรียนทางภาคตะวันออก เมื่อมีผลผลิตมากขึ้น จึงเก็บขายสู่ท้องตลาด เมื่อคิดรวมกับผลไม้อีกหลากหลายชนิด สามารถสร้างรายได้เดือนละหลายหมื่นบาท ที่สำคัญยังได้เปิดเป็นแหล่งศึกษาเที่ยวชมสวนเกษตรทางเลือก ให้ประชาชน นักท่องเที่ยวได้มาศึกษา มีผู้สนใจเข้ามาศึกษาและมาเที่ยวชมธรรมชาติ พร้อมกับชิมลองรสชาติทุเรียนนครพนม ทุกคนที่ได้สัมผัสลิ้นต่างยกนิ้วว่าอร่อย ถ้าไม่บอกว่าเป็นทุเรียนปลูกในพื้นที่นครพนม จะคิดว่าเป็นทุเรียนทางแถบภาคตะวันออกทั้งสิ้น
นางบุญเอื้อเจ้าของสวนเอื้อวิมาน กล่าวต่อว่า พื้นที่อีสานรวมถึงนครพนม ทุเรียนมีปลูกน้อย ตนร่วมกับสามีฟูกฟักทนุถนอมจนต้นทุเรียนเติบใหญ่ให้ผลิตผล ถือเป็นที่เดียวที่กล้ายืนยันว่าไม่แพ้ทุเรียนขึ้นชื่อทาง จ.ระยอง หรือจันทบุรี และพร้อมให้คำปรึกษาแนะนำเป็นวิทยาทาน เพราะประสบการณ์ที่ตนได้ศึกษาทดลองปลูกมานานกว่า 20 ปี โดยทางสวนเอื้อวิมานเน้นปลอดสารพิษ ไม่มีสารเคมี ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และปลูกแบบผสมผสานเข้าใจธรรมชาติ และการอยู่ร่วมกันของพืชทุกชนิดภายในสวน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: