นครพนม – วันที่ 31 ม.ค.62 เวลา 10.00 น. ห้องประชุมพระธาตุท่าอุเทน ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดนครพนม นายสมพล พงษ์พิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนครพนม(ผอ.กกต.ฯ) และนายธงชัย ชำนาญไพร ผู้ตรวจการเลือกตั้งจังหวัดนครพนม อดีตประธาน กกต.นครพนม เชิญสื่อมวลชนท้องถิ่นประชุมในหัวข้อ การเตรียมพร้อมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประกอบด้วย สมาคมนักข่าวจังหวัดนครพนม สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยฯ(สวท.นครพนม) สถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือ 7(ส.ทร.7) และตัวแทนสถานีวิทยุชุมชน โดยมีนายสยาม ศิริมงคล ผวจ.นครพนม เข้าร่วมประชุมและรับฟังการชี้แจงรายละเอียดในครั้งนี้ด้วย
ก่อนจะเข้าวาระการประชุม เจ้าหน้าที่ กกต.ฯ ได้แจกพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พร้อมเอกสารขั้นตอนและวิธีการลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนก่อนวันเลือกตั้งทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และเอกสารวิธีการหาเสียง ข้อห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. แก่ผู้เข้าร่วมทุกคนเพื่อให้ทำความเข้าใจในเนื้อหา
ข่าวน่าสนใจ:
- ขอเชิญมาร่วมสัมผัส “ลมหนาว ริมฝั่งโขง ชมอุโมงไฟ ยาวที่สุด” ที่นครพนม
- นายก อบจ.ระยอง ประกาศลาออกก่อนครบวาระ 1 วัน พรัอมลงชิงชัยตำแหน่งนายก อบจ.ระยอง อีกหนึ่งสมัย
- ฝ่ายปกครอง อ.ปลาปากสนธิกำลังตร .บุกรวบหนุ่ม 20 ขาใหญ่ จำหน่ายยาบ้า โดดหลังบ้าน คว้ามีดพร้าเปิดทาง หลบหนีไปไม่รอด
- บุรีรัมย์ ปล่อยแถวระดมกวาดล้าง ตรวจค้น ยาเสพติด ก่อนปีใหม่
นายสมพลฯ ผอ.กกต.นครพนม เปิดเผยว่าวันรับสมัครผู้รับเลือกตั้ง ส.ส.นครพนม ทั้ง 4 เขต ได้เตรียมศาลายงใจยุทธ อาคารอเนกประสงค์ภายในบริเวณศาลากลางจังหวัดฯ ไว้เรียบร้อย รวมทั้งความพร้อมของ ผอ.การเลือกตั้งประจำเขตฯ คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขต และเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง
มีสาระสำคัญเช่นผู้สมัคร ส.ส. สามารถหาเสียงได้ เช่นแจกเอกสารหรือวีดีทัศน์เกี่ยวกับการหาเสียงในเขตชุมชน สถานที่ งานพิธีต่างๆ โดยระบุชื่อ รูปถ่าย หมายเลข ตลอดจนนโยบายพรรค ฯลฯ แต่ต้องระบุชื่อที่อยู่ของผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิต จำนวน และวันที่ที่ผลิตให้ชัดเจนในเอกสารหรือวีดีทัศน์ด้วย นอกจากนี้ผู้สมัครยังหาเสียงได้โดยส่งจดหมาย สื่อสิ่งพิมพ์ ถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งปัจจุบันมีการสื่อสารระบบอิเล็กทรอนิกส์กว้างขวาง ผู้สมัครหาเสียงเลือกตั้งทางช่องทางดังกล่าวด้วยตนเอง หรือจ้างบุคคล นิติบุคคลจัดทำ เช่น เว็บไซต์ โซเซี่ยลมีเดีย ยูทูป แอปพลิเคชั่น อีเมล์ SMS(ข้อความทางโทรศัพท์) และสื่ออีเล็กทรอนิกส์อื่นๆ โดยผู้สมัครจะต้องแจ้งความประสงค์ต่อ ผอ.กกต.ฯ ตั้งแต่วันสมัคร ก่อนจะหาเสียงทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งค่าใช้จ่ายทางสื่อดังกล่าวไม่เกิน 10,000 บาท ฯลฯ
สำหรับข้อห้ามในการหาเสียง ผอ.กกต.นครพนม เผยว่า ห้ามผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใด นำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ตลอดจนห้ามผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการเกี่ยวกับรายการทางวิทยุกระจายเสียง ใช้วิชาชีพดังกล่าว เอื้อประโยชน์ในการหาเสียงช่วยเหลือผู้สมัคร ส่วนการแจกจ่ายเอกสารห้ามวางหรือโปรยในที่สาธารณะ หรือช่วยเหลือเงิน หรือทรัพย์สิน ให้แก่ผู้ใดตามประเพณีต่างๆ อันอาจคำนวณเป็นเงินได้ ที่สำคัญห้ามใช้ถ้อยคำที่รุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ไปในทางปลุกระดมโดยเด็ดขาด
ส่วนผู้จะใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนนอกเขต ก่อนวันเลือกตั้งนั้น ผู้มีสิทธิยื่นคำขอลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยตนเอง ทางเว็บไซต์ htt://election.bora.dopa.go.th/ectaboad/ โดยให้บันทึกข้อมูลเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมเลขหลังบัตรประชาชน เลขรหัสประจำบ้าน(11 หลัก) แจ้งสถานที่และเขตจังหวัดที่จะไปใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนน ส่วนผู้ต้องการใช้สิทธินอกราชอาณาจักรให้เพิ่มหมายเลขหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุ ต่อสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ ที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ในที่ประชุมกล่าวถึงปัญหาการเลือกตั้งหลายครั้งที่ผ่านมา ว่า ระหว่างมีการนับคะแนน มักจะเกิดไฟฟ้าดับประจำ ทำให้บริเวณดังกล่าวมืดไประยะหนึ่ง ซึ่งมีประชาชนหวั่นเกรง ระหว่างนั้นอาจจะเป็นผลดีต่อผู้สมัครบางราย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อยมาก
นายสยาม ศิริมงคล ผวจ.นครพนม จึงมีความห่วงใยปัญหาไฟฟ้าดับขณะนับคะแนน ได้แนะนำให้ทาง กกต.ฯ เตรียมความพร้อมด้านระบบไฟฟ้า อย่าให้เกิดข้อครหาเช่นนี้ ทุกขั้นตอนจะต้องมีความโปร่งใส ยุติธรรม ด้วยการสำรองไฟฟ้าที่จุดนับคะแนนทุกจุด หากจะให้ทางจังหวัดสนับสนุนอะไร ก็ให้มีหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการ และนายสมพลฯ ผอ.กกต.ฯ กล่าวว่ามีงบประมาณเพียงพอ ที่จะเตรียมไฟฟ้าสำรองตามจุดนับคะแนน ไฟฟ้าดับในอดีตไม่น่าจะเกิดขึ้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: