นครพนม – ผวาหนัก ไบค์เลน ถล่มซ้ำอีก กรมโยธาสั่งปิดชั่วคราว เร่งสำรวจแก้ไข ด้านโยธาจังหวัด แจงงานกรมโยธา ชี้ชัดไม่ได้คำนวณ ดินสไลด์ก่อนก่อสร้าง
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม ความคืบหน้าเกี่ยวกับ ปัญหาไบค์เลน เส้นทางจักรยาน เลียบริมฝั่งแม่น้ำโขง ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม ทรุดตัวพังถล่มเสียหาย บริเวณช่วงหน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดหลังเก่า ยาวไปถึงชุมชนหนองแสง ซึ่งเป็นงบประมาณก่อสร้าง ของกรมโยธาธิการและผังเมืองรับผิดชอบ เป็นเงินประมาณกว่า 20 ล้านบาท ระยะทาง รวม ประมาณ 500 เมตร โดยพึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างผู้รับจ้าง เตรียมส่งมอบตรวจรับงาน สิ้นสุดสัญญาในวันที่ 17 กรกฎาคม 2562 แต่เกิดปัญหา ในช่วง 2 วันที่ผ่านมา เนะท่องจากเกิดฝนตกหนัก ส่งผลให้เกิดปัญหาดินริมตลิ่งสไลด์ กระทบโครงสร้าง ไบค์เลน เสาเข็มยาว 10 เมตรรับน้ำหนักไม่ไหวพังถล่ม ลงมาทั้งแถบซึ่งล่าสุดยังได้รับผลกระทบ พังถล่มเสียหาย เพิ่มอีก เป็นระยะทางยาวกว่า 30 เมตร นอกจากนี้ ยังพบว่า มีดินสไลด์ ตลอดแนวแม่น้ำโขง ช่วงจุดก่อสร้าง และคาดว่าจะส่งผลกระทบพังเสียหายต่อเนื่อง หากในยังคงตกลงมาอีกอย่างต่อเนื่อง
ทางด้าน นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้สั่งการให้ เจ้าหน้าที่ วิศวกรทีมช่างชำนท.ญ.การ ของกรม ลงพื้นที่ตรวจสอบ หาสาเหตุ วางแนวทางแก้ไข ระยะยาว ไม่ให้ได้รับผลกระทบ รวมถึง สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน นักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยวชม ใช้ปั่นจักรยาน ส่งเสริมการท่องเที่ยว ในอนาคต ซึ่งกำลังเป็นสถานที่ น่าสนใจของประชาชน นักท่องเที่ยว โดยได้มีการสำรวจทุกจุดที่มีความเสี่ยง และปิดกั้นการใช้งานชั่วคราว จนกว่าจะมีการตรวจสอบแก้ไข จนปลอดภัย
ด้านนายชิดชัย อินทรพาณิชย์ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า สำหรับโครงการดังกล่าว เป็นงบประมาณกลุ่มจังหวัด สนุกที่ประกอบด้วยจังหวัดนครพนม สกลนคร และมุกดาหารได้จัดสรรมาสนับสนุน สร้างไบค์เลน รวมถึง เส้นทางเดินชมวิวริมน้ำโขง รวมงบประมาณก่อสร้าง เฉพาะจุดนี้ ประมาณ กว่า 20 ล้านบาท เบื้องต้นทางกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ ร่วมกับ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครพนม ส่วนสาเหตุหลัก ยืนยันว่า ประเด็นสำคัญจุดก่อสร้างได้ยื่นออกไปยังแม่น้ำโขง และที่สำคัญในการก่อสร้าง ตรวจสอบแล้วไม่มีการคำนวณปัญหาดินสไลด์ ส่งผลกระทบต่อโครงสร้าง ซึ่งทางกรมโยธาธิการ ได้ลงพื้นที่ เตรียมหาทางแก้ไข แล้วสำหรับการแก้ไขปัญหาสำคัญจะต้องมีการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง ส่วนความรับผิดชอบ คือ กรมโยธาธิการและผังเมือง รวมถึงผู้รับจ้าง ที่จะต้องดำเนินการแก้ไข เพราะงานยังไม่มีการส่งมอบ ซึ่งจุดเสี่ยงได้มีการตรวจสอบและปิดตายห้ามประชาชนผ่านเข้าออกเด็ดขาด
ข่าวน่าสนใจ:
แหล่งข่าวในวงการก่อสร้างในจังหวัดนครพนมเปิดเผยว่าจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบการท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนมมากพอสมควรส่วนสาเหตุที่ไบท์เลนพังเสียหายก่อนใช้งานนั้นน่าจะมาจากการสำรวจออกแบบที่เร่งรีบมากเกินไปจนลืมคำนึงถึงว่าไบท์เลนดังกล่าวก่อสร้างอยู่ริมตลิ่งที่ลาดชันของแม่น้ำโขงที่มีการเคลื่อนตัวของดินตะกอนได้ตลอดเวลาดังนั้นรากฐานและเสาเข็มจะต้องได้รับการคำนวณและออกแบบให้สามารถรับน้ำหนักและแรงเฉือนขนาดหนักได้ แต่จากโครงการนี้มีชื่อว่าโครงการพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนหอนาฬิกาอินโดจีน ซึ่งก็ได้สร้างทางจักรยานยกระดับลักษณะเดียวกันและยังใช้งานได้จนถึงปัจจุบัน หากใช้หลักการออกแบบและงบประมาณในการก่อสร้างที่ชุมชนหอนาฬิกามาก่อสร้างที่ชุมชนหนองแสงซึ่งมีลักษณะทางกายภาพแตกต่างกัน ดังนั้นการคำนวณออกแบบเสาเข็มจึงมีส่วนสำคัญมากจะต้องมีการเจาะสำรวจชั้นดินพร้อมคำนวณความยาวของเข็มให้ลงลึกถึงชั้นดินดานจึงจะสามารถรับน้ำหนักได้ แต่จากการที่ได้เฝ้าติดตามดูการก่อสร้างโครงการดังกล่าวตั้งแต่เริ่มตอกเสาเข็มกลับพบว่ามีการตอกเสาเข็มขนาด ประมาณ 25 ซ.ม.คูณ 25 ซ.ม ความยาว เพียง 10 เมตรเท่ากันทุกต้นและสามารถตอกลงอย่างง่ายดาย จึงเป็นเหตุให้น่าสงสัยว่าเสาเข็มที่ใช้ในโครงการนี้เล็กและสั้นเกินไป ไม่เป็นไปตามมาตรฐานในการออกแบบ จนอาจเป็นสาเหตุหลักของการพังทลายของไบท์เลนในครั้งนี้ได้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: