นครพนม – ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจังหวัดนครพนม ได้ร่วมกับการกีฬาแห่งประเทศไทย(กทท.) และสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนครพนม จัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 36 รอบคัดเลือกตัวแทนภาค 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “มรุกขนครเกมส์” ระหว่างวันที่ 19-29 พฤศจิกายน 2562 ณ จังหวัดนครพนม เพื่อคัดเลือกนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 36 “ช้างขาวเกมส์” ระหว่างวันที่ 19-29 มีนาคม 2563 จังหวัดตราด โดยใช้ม้าพลาหกเป็นสัตว์นำโชค ซึ่งสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดนครพนม โดย ดร.สมชอบ นิติพจน์ นายก อบจ.นครพนม/นายกสมาคมฯ และนายภาสกร พุทธานุภากร ผอ.กกท.นครพนม ร่วมกับชมรมกีฬาทุกชมรมได้สำรวจสนามที่สามารถจัดการแข่งขัน ที่สามารถจัดการแข่งขันได้จำนวน 30 ชนิดกีฬา และยังกระจายไปจัดการแข่งขันที่ต่างจังหวัดอีก 4 ชนิดกีฬา ได้แก่ กรีฑา ที่สนามมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตมหาสารคาม กอล์ฟ แข่งขันที่สนามกอล์ฟ เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น จักรยานประเภทลู่ ประเภท BMX และกีฬายิงปืนที่สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาจังหวัดนครราชสีมา
ส่วนกีฬาที่แข่งขันในพื้นที่จังหวัดนครพนมได้แก่ว่ายน้ำ กาบัดดี้ เครื่องบินเล็ก คาราเต้ – โด คริกเก็ตจักรยานประเภทถนน ประเภทภูเขา ชักกะเย่อ ซอฟท์บอล ซอฟท์เทนนิส ตะกร้อ เทควันโด เทนนิส เทเบิลเทนนิส เนตบอล บริดจ์ บาสเกตบอล แบดมินตัน เปตอง ปันจักสีลัต เพาะกาย ฟุตบอล มวยปล้ำ มวยสากลสมัครเล่น ยกน้ำหนัก ยูโด ยูยิตสู รักบี้ฟุตบอล ลีลาศ เรือพาย วอลเลย์บอล ฟุตบอล สนุกเกอร์ แฮนด์บอล และหมากล้อม
ซึ่งนายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม มอบหมายให้นางวิไลวรรณ ไกรโสดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตามความคืบหน้าในการเตรียมความพร้อมในการจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 36
สำหรับตัวนำโชค หรือ มาสคอต (mascot) คณะกรรมการเลือกม้าพลาหกหรือม้าวลาหก(แปลว่าเมฆหรือฝน) ซึ่งเป็นสัตว์อยู่ในตำนานของอินเดีย กล่าวว่า พระพายเทพแห่งลม ผู้เป็นบิดาของหนุมาน ผู้สร้างขึ้นบังเกิดเป็นม้า 4 ตระกูล คือ พลาหก(วลาหก) อาชาไนย สินธพ และ อัสดร โดยม้าพลาหกนี้เป็นพาหนะในบางโอกาสของพระพาย ที่ปกติจะทรงมฤค (กวาง) เสียมากกว่า ม้าพลาหกนั้นจะเคลื่อนที่ได้อย่าง
ข่าวน่าสนใจ:
- ม.นครพนม จัดประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 19 ภายใต้หัวข้อ “บูรณาการ AI and Soft Power ในการบริหารภาครัฐ”
- จัดกิจกรรมวิ่งการกุศล UNITHAI-CUEL Run for Charity 2025 ครั้งที่ 3 วิ่งด้วยใจ ในสวนสวย ช่วยผู้ป่วยมะเร็ง
- เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
- นายกเทศบาลตำบลนาคำ แจงเหตุต้องระงับเพลิงล่าช้า จากกรณีเหตุเพลิงไหม้บ้านพักอาศัยของชาวบ้าน
ในตำนานพระธาตุพนม ก็มีการกล่าวถึงม้าพลาหกไว้เช่นกัน เริ่มมาจากสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์เสด็จมายังภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และได้ทำนายถึงการเกิดเมือง ซึ่งอนาคตจะเป็นชุมชนที่ค้ำชูพระพุทธศาสนา และได้บอกถึงการกลับชาติมาเกิดของพญาศรีโคตรบูร ผู้อัญเชิญพระพุทธเจ้าไปรับบาตรในเมืองของตน เสร็จแล้วถือบาตรมาส่งพระพุทธเจ้าถึงบริเวณภูกำพร้า ด้วยผลบุญอันนี้เมื่อพญาศรีโคตรบูรกลับชาติมาเกิดเป็นพญาสมิตธรรมวงศาเจ้าเมืองมรุกขนคร ก็มีโอกาสเป็นผู้สถาปนาพระอุรังคธาตุ(กระดูกส่วนหน้าอกด้านซ้าย) ณ ภูกำพร้าในเวลาต่อมา
ในตำนานกล่าวต่อว่า หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ในปี พ.ศ.8 พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 รูป ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุมาจากประเทศอินเดียมายังบริเวณภูกำพร้า เมื่อมาถึงได้มีท้าวพญาจาก 5 แคว้นในภูมิภาคนั้น มาร่วมสร้างอูปมุง(เป็นภาษาอีสานแปลว่า เจดีย์ที่ก่ออิฐถือปูน รูปกลมไม่มียอด ข้างในเป็นโพรง สำหรับบรรจุสิ่งเคารพสักการะ มีพระพุทธรูปและอัฐิของผู้ที่เคารพ)เพื่อประดิษฐานพระอุรังคธาตุ โดยก่อกำแพงกันองค์ละด้านในทิศที่แคว้นของตนอยู่ดังนี้ 1.พญาจุลมณีพรมทัติ ผู้ครองแคว้นหลวงพระบางสิบสองจุไทย ก่อทางทิศตะวันออก 2.พญาคำแดง ผู้ครองแคว้นหนองหานน้อย ก่อด้านทิศเหนือ 3.พระยานันทเสน ผู้ครองแคว้นศรีโคตรบูร ก่อด้านทิศเหนือ และ 4.พญาอินทปุฐนคร ผู้ครองแคว้นเขมรโบราณ ก่อทางด้านทิศใต้
การก่อสร้างได้ใช้อิฐดิบก่อเป็นผนังทั้ง 4 ด้าน กว้างด้านละ 2 วา สูง 1 วา และก่อยอดรูปฝาชีสูง 1 วา ส่วนผนังเป็นอูปมุงนั้น เปิดประตูไว้ทุกด้านแล้วจึงนำเอาไม้ฟืนคือ ไม้คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รังมาใส่ทุกประตู แล้วเผาเป็นเวลา 3 วัน 3 คืนจึงแล้วเสร็จ จากนั้นพญาทั้ง 5 ก็บริจาคของมีค่าจำนวนมากบรรจุไว้ในอูปมุงเป็นพุทธบูชา และได้นำหลักหินที่นำมาจากอินเดียและลังกา มาปักไว้ที่มุมทั้งสี่ ทั้งยังสร้างรูปอัจมูขี(สัตว์ประหลาด) มาปักไว้ที่มุมทิศตะวันออกด้านเหนือ-ใต้ด้วย และได้สร้างรูปม้าไว้ โดยหันหน้าไปทิศเหนือ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่าพระธาตุพนมเสด็จมาทางนั้น และพระพุทธศาสนาจะเจริญจากเหนือลงใต้
ในตำนานพระธาตุพนมจึงกล่าวไว้ว่า ครั้งหนึ่งพญาสุวรรณภิงคารได้สดับพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดาที่ตรัสถึงม้าพลาหกจึงเป็นเหตุให้สร้างรูปม้าอาชาไนย(เป็นม้าที่มีกำเนิดดี ตระกูลดี ฝึกหัดมาดี มีระเบียบวินัย เชื่อฟังคำสั่งผู้เป็นนาย) ไว้หนึ่งตัว โดยมีหางชี้ไปทางทิศเหนือเป็นปริศนาให้รู้ว่าพระบรมธาตุได้เสด็จมาทางนั้น ส่วนพระมหากัสสปะเถระท่านได้สร้างม้าเพิ่มขึ้นอีกตัวหนึ่ง โดยให้เลี้ยวหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นปริศนาให้รู้ว่า พญาศรีโคตรบูรณ์จักทะนุบำรุงพระอุรังคบรมธาตุให้ดำรงอยู่ตราบเท่า ๕,๐๐๐ ปี
ปัจจุบันประติมากรรมรูปม้าพลาหกและม้าอาชาไนย ซึ่งสลักจากศิลาพบอยู่ภายในวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม ที่บริเวณทางขึ้นวิหารหอพระแก้ว ทางด้านทิศเหนือ มีข้อความเขียนไว้ว่า พญาสุวรรณภิงคารได้สร้างรูปม้าอาชาไนยไว้หนึ่งตัว พระมหากัสสปะเถระจึงให้คนสร้างม้าพลาหกไว้อีกหนึ่งตัวเป็นคู่กัน ซึ่งม้าดังกล่าวมีรูปแบบศิลปกรรมเฉพาะถิ่น แตกต่างจากที่พบในชุมชนโบราณแห่งอื่นๆ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: