นครพนม – วันที่ 30 กันยายน 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมศรีวรขาน ชั้น 5 อาคารสำนักงานเทศบาลเมืองนครพนม คณะกรรมาธิการศึกษาจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร นำโดย นายไชยา พรหมา ประธานคณะกรรมาธิการฯ นายการุณ โหสกุล รองประธานคณะกรรมาธิการฯคนที่สอง นายแพทย์ประสงค์ บูรณ์พงศ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการฯ นายสราวุธ วังริยา ผอ.กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น นางนิรมล พาณิชพงษ์พันธุ์ ผอ.กองจัดทำงบประมาณฯ นายนิยม เวชกามา เลขาธิการฯ และ นายพร้อมพงศ์ พฤกธารา ผอ.กองจัดทำงบประมาณเขตพื้นที่ 15 จัดสัมมนาเรื่องศึกษากระบวนการจัดทำ ติดตาม และการบริหารงบประมาณหน่วยงานของรัฐ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งมีนายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวรายงานเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวจังหวัดนครพนม นอกจากนี้ยังมีนายนิวัต เจียวิริยบุญญา นายกเทศมนตรีฯ นายชวลิต วิชยสุทธิ์ สส.นครพนม เขต 4 นายณพจน์ศกร ทรัพยสิทธิ ว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ.นครพนม และประชาชนจำนวน 200 คน ร่วมสัมมนาในครั้งนี้ด้วย
นายไชยาฯประธานคณะกรรมาธิการฯงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงวัตถุประสงค์ว่า ด้วย รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 มาตรา 78 และมาตรา 129 ประกอบกับข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนฯ พ.ศ.2562 ข้อ 90(14) คณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ มีหน้าที่และอำนาจกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลในด้านงบประมาณประจำปีของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งนโยบายของรัฐบาลในการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ได้ให้ความสำคัญกับความต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาล ให้ประสบผลสำเร็จ และเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นการวางรากฐานประเทศอย่างยั่งยืน ในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ และเชิงพื้นที่ด้วยการเร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ควบคู่กับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการเสริมสร้างศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างสมดุล ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ความมั่นคง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ได้ให้ความสำคัญกับความสอดคล้องและการถ่ายทอดเป้าหมายและประเด็นยุทธศาสตร์ของยุทธศาสตร์ชาติ(2561-2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564) นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ(2558-2564) แผนแม่บทอื่นๆ และนโยบายสำคัญของชาติ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของรัฐบาลได้อย่างต่อเนื่องและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
นายไชยาฯกล่าวต่อว่า ในภารกิจอันสำคัญดังกล่าวนี้ คณะกรรมาธิการฯงบประมาณ ได้ตระหนักถึงความสำคัญโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในฐานะกลไกสนับสนุนให้การดำเนินตามภารกิจของคณะกรรมาธิการให้บรรลุเป้าหมาย และเกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้ จึงจำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำ ติดตาม และบริหารงบประมาณ โดยเป็ยผู้ให้ข้อมูลข่าวสาร สอดส่องดูแล แจ้งเบาะแสให้รัฐได้รับทราบเพื่อหาทางแก้ไขป้องกันรักษาประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนส่วนรวมไว้ และเพื่อเป็นเสียงสะท้อนกลับไปสู่รัฐบาลในการตัดสินใจกำหนดนโยบายสำคัญๆของประเทศต่อไป
ข่าวน่าสนใจ:
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
- นครพนม ทหารพรานสนธิกำลังยึดยาบ้าเกือบ 2 แสนเม็ด! ตรวจพบฝิ่นดิบกว่า 3 กิโลกรัม ริมแม่น้ำโขง
- ผกร.ป่วนไม่เลิก!วางบึ้ม 5 (แตก 4, กู้ 1) ทางไปสนามบิน
- ชมคลิป-เตรียมเที่ยวงาน 10 ชาติพันธุ์ ยิ่งใหญ่กว่าเดิมในรูปแบบใหม่ ชมขบวนแห่กลุ่มชาติพันธุ์อลังการ
จากนั้นคณะกรรมาธิการฯงบประมาณ เปิดโอกาสให้ประชาชนนำปัญหาที่ประสบมาสอบถาม ซึ่งก็มีกลุ่มชาวบ้านห้วยพระ หมู่ 9 และหมู่ 14 ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ประกอบด้วย นายพันธ์ ชมภูพระ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 นางแตงอ่อน แก้วห้วยพระ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 นายเรืองชัย วงศ์อุระ เข้ายื่นหนังสือร้องทุกข์จากกรณีถูกนายทุนต่างพื้นที่เข้ามาบุกรุกที่ทำกิน และที่ดินสาธารณประโยชน์ ไม่เว้นแม้กระทั่งทางหลวงชนบท ซึ่งนายเรืองชัยในฐานะผู้นำในการต่อต้านนายทุนรายนี้ เปิดเผยว่าเรื่องดังกล่าวยืดเยื้อมานานกว่า 20 ปี เปลี่ยนเจ้าพนักงานที่ดิน และนายอำเภอมาแล้วหลายคน ทุกอย่างไม่มีอะไรคืบหน้า แม้ทางจังหวัดนครพนม จะตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และพบว่ามีการบุกรุกจริง จึงมีหนังสือถึงกรมที่ดินให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่นายทุนครอบครอง จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลา 2 ปีเศษ กรมที่ดินไม่มีหนังสือตอบกลับ ล่าสุดกลุ่มชาวบ้านถูกนายทุนยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดนครพนม ในข้อกล่าวหาบุกรุกฯ
หลังที่คณะกรรมมาธิการฯงบประมาณ รับหนังสือร้องทุกข์ดังกล่าว ก็ได้มอบให้นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม นำไปตรวจสอบข้อมูลว่ามีข้อเท็จจริงอย่างไร และจะนำปัญหาการบุกรุกที่ดินบ้านห้วยพระเข้าไปหารือกันอีกครั้งในสภาผู้แทนราษฎร
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: