นครพนม – จังหวัดนครพนม ประมาณ พ.ศ.2418 มีชาวเวียดนามอพยพเข้ามาพำนักอยู่มากพอสมควร เพราะเป็นจังหวัดที่มีพรมแดนติดกับอินโดจีน จึงมีกลุ่มชาวเวียดนามเข้ามาอยู่กระจัดกระจายในหลายพื้นที่ ส่วนมากจะพักอาศัยอยู่ในชุมชนหนองแสง เขตเทศบาลเมืองนครพนม โดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิค
ต่อมาปี พ.ศ.2419-20 ฝรั่งเศสนักล่าอาณานิคมเข้าปราบปรามชาวเวียดนามอย่างหนัก โดยยัดเยียดข้อหาต่างๆนาๆ สมาชิกของขบวนการและชาวเวียดนามอีกกลุ่ม จึงถอยร่นข้ามเทือกเขาอันนัม ที่มีความยาวประมาณ 1,100 กิโลเมตร (680 ไมล์) ซึ่งเป็นชายแดนตลอดแนวทิศตะวันตกของประเทศเวียดนามเชื่อมต่อกับลาวและทางตอนเหนือของกัมพูชา ซึ่งเทือกเขานี้มีชื่อเรียกในภาษาเวียดนามว่า “เจื่องเซิน”และ “ภูหลวง”ในภาษาลาว ก่อนจะข้ามแม่น้ำโขงมายังประเทศไทย โดยพำนักที่บ้านโพนบก(ชุมชนโพนบก) เขตเทศบาลเมืองนครพนม บ้านนาจอก และบ้านดอนโมง ต.หนองญาติ จ.นครพนม แต่ยังมีบางส่วนปักหลักอาศัยอยู่ที่เมืองท่าแขก ประเทศลาว
กระทั่งปี พ.ศ.2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีเครื่องบินไฟร์ (Spitfire) ของฝรั่งเศส จำนวน 2 ลำ เหาะมาทิ้งระเบิดลงในเมืองท่าแขก ขณะที่ทางภาคพื้นดินก็มีกองกำลังติดอาวุธบุกเข้าไปในเมืองท่าแขก ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นอย่างมาก ชาวเวียดนามจำนวนมากที่อยู่ในลาวต้องอพยพหนีภัยสงคราม และมาตั้งหลักแหล่งในประเทศไทย ซึ่งชาวเวียดนามรุ่นนี้ ทางการไทยเรียกว่า “ญวนอพยพ” ส่วนมากจะพำนักในตัวเมืองจังหวัดนครพนม อีกบางส่วนก็กระจายไปอยู่บ้านดอนโมง บ้านนาจอก และชุมชนหนองแสง สร้างเป็นครอบครัวใหญ่จนถึงปัจจุบัน โดยชาวเวียดนามทั้งรุ่นแรกถึงรุ่นสุดท้ายกว่า 90 % นับถือศาสนาคริสต์
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง อึ้ง!! เด็ก-เยาวชนหลุดออกนอกระบบการศึกษากว่า 6 พันคน ศึกษาธิการตรังสั่งรวบรวม-วิเคราะห์ข้อมูล รับนโยบาย Thailand zero dropout
- ททท. จัดงานใหญ่ "วิจิตรเจ้าพระยา 2024" สวยงามตระการตา กระตุ้นการท่องเที่ยวส่งท้ายปีนี้
- ตรัง ราคายางดิ่งกว่า 20 บาทต่อกิโลกรัม กยท.หนุนสถาบันทำโครงการชะลอยางสู้นายทุน
- ชาวบ้านพบพิรุธพระพุทธรูปตั้งวางริมทางก่อนตรวจพบทั้งผงขาว/ยาไอซ์อื้อ
ตามประวัติระบุว่าศาสนาคริสต์ เข้ามาเผยแพร่ในเขตจังหวัดนครพนม เมื่อปี พ.ศ.2418 ซึ่งมาพร้อมๆกับชาวเวียดนามรุ่นแรกที่มาตั้งรกรากอยู่ในนครพนม และปี 2450 จึงได้สร้างโบสถ์หลังแรกไว้ถือศิลล้างบาปอย่างถาวรอยู่ที่บ้านคำเกิ้ม ต.อาจสามารถ ต่อมาปี 2452 ก็สร้างโบสถ์แห่งที่สองขึ้นที่ชุมชนหนองแสง ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนสุนทรวิจิตร เขตเทศบาลเมืองนครพนม ชื่อว่าโบสถ์วัดนักบุญอันนา ซึ่งตัวอาคารมีสถาปัตยกรรมแบบโคโรเนียลก่อด้วยอิฐปูน ภายนอกสีเหลืองสวยงาม การก่อสร้างใช้วัสดุบางอย่างนำเข้ามาจากเมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา โดยมีบาทหลวงเอดัวร์ นำลาภ เป็นอธิการโบสถ์
ต่อมาเกิดกรณีพิพาทอินโดจีน โบสถ์วัดนักบุญอันนาถูกฝรั่งเศสทิ้งระเบิดบอมบ์เมืองนครพนม ทำให้โบสถ์พังเสียหายจนไม่สามารถใช้ประกอบพิธีได้ ปี พ.ศ.2469 จึงมีการสร้างโบสถ์หลังใหม่เพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนาของชาวคริสต์สืบต่อมา ซึ่งตัวอาคารโบสถ์หลังใหม่ลักษณะเป็นโบสถ์แฝด มีสะพานเชื่อมระหว่างกลางสามารถเดินข้ามได้ มีโดมทรงแหลมสูง โบสถ์แฝดหลังนี้จึงเป็นศูนย์กลางของคริสต์ศาสนิกชนในเขตเทศบาลเมืองนครพนม โดยเฉพาะชาวชุมชนตำบลหนองแสง ส่วนโบสถ์หลังเก่าที่ถูกระเบิดถล่ม ได้รับการบูรณะซ่อมแซมและจัดตั้งเป็นมูลนิธิบาทหลวง เอดัวร์นำลาภจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันโบสถ์วัดนักบุญอันนา ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองที่มีคนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่รวมกัน เช่น ชาวญวน ไทย จีน และลาว เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีโบสถ์ชาวคริตส์ กระจายอยู่อีกหลายชุมชน ในหลายอำเภอเช่น บ้านเชียงยืน บ้านปากทวย ต.เวินพระบาท อ.ท่าอุเทน บ้านนามน บ้านสุขเจริญ ต.บ้านผึ้ง อ.เมือง ฯลฯ เป็นต้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: