เมื่อวันที่ 22 ก.ค.2563 นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายสนับสนุนญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา เปิดพื้นที่ให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา เข้ามีส่วนร่วมโดยตรงกับสภาผู้แทนราษฎร ในการแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคมว่า เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่สภาผู้แทนราษฎร นำปัญหาการชุมนุมของนิสิตนักศึกษา เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร เพราะเห็นว่าพลังของนักศึกษา เป็นกลุ่มพลังทางการเมืองที่บริสุทธิ์ มีความเชื่อ มีความศรัทธา ในแนวทางประชาธิปไตย ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา
หลายครั้งที่ขบวนการนักศึกษาเป็นผู้ขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เหตุการณ์ วันที่ 14 ตุลาคม 2516 หลังจากนั้นขบวนการศึกษาถูกทำลายลงอย่างเจ็บปวดในเหตุการณ์ วันที่ 6 ตุลาคม 2519 จนทำให้บทบาทของนักศึกษาลดน้อยถอยลงไปจากการเคลื่อนไหวทางการเมือง จนมีคำถามจากสังคมว่า ขบวนการนักศึกษาหายไปไหน เพราะเหตุการณ์ทางการเมืองในหลายครั้งไม่มีขบวนการนักศึกษาเป็นหัวหอกในการต่อสู้ เช่น เหตุการณ์ เดือนพฤษภาคม 2535 การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย การเคลื่อนไหวของ นปช. และ กปปส. จนถึงบัดนี้เวลาล่วงเลยมาเกือบ 30 ปี ที่ขบวนการนักศึกษากลับฟื้นคืนชีพ มีบทบาททางการเมืองอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศ ในปี 2516 กับ ปี 2563 มีความเหมือนกันในหลายประการเช่น
1.เริ่มจากการเคลื่อนไหวของนักศึกษาในกรุงเทพฯ ขยายตัวไปสู่นักศึกษาใน ตจว. และจุดเริ่มต้นจากนิสิตนักศึกษา ไปสู่นักเรียนมัธยม
2.มีการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ กับการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย
3.มีนายกรัฐมนตรีเป็นทหาร มาจากการเลือกตั้ง และปฏิวัติตัวเองเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีสืบทอดอำนาจต่อไป ส่วนปัจจุบันนี้ มีการปฏิวัติรัฐประหาร แต่งตั้งตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี เขียนรัฐธรรมนูญสืบทอดอำนาจ จนได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
ข่าวน่าสนใจ:
- ชิง ส.อบจ.เพชรบูรณ์ ส่อเดือด! นักการเมืองรุ่นใหม่ทยอยเปิดตัว ท้าชนแชมป์เก่า
- ตรัง สถาบันพระบรมราชชนกเตรียมผลิต 9 หมอรุ่นใหม่ นวัตกรรมสุขภาพไทยสู่ระดับโลก
- ทหาร-ตำรวจนครพนม ตรวจยึดยาบ้ากว่า 108,000 เม็ด ซุกในถังริมฝั่งโขง
- กกต.อบจ.เพชรบูรณ์ ประกาศผลเลือกตั้ง "อัครเดช"รั้งแชมป์สมัย 7 ผู้ใช้สิทธิ์ไม่ถึงร้อยละ 50 ปชช.สงสัยผู้ใช้สิทธิกับบัตรลงคะแนน เลขเขย่งถามสาเหตุ
4.มีการบริหารอำนาจทางการเมืองแบบเบ็ดเสร็จ มี 3 ท.(ทรราชย์) แต่ปัจจุบันศูนย์อำนาจทั้งหมดอยู่ที่ 3 ป.
5.ประเทศมีปัญหาทางเศรษฐกิจประชาชนอดอยาก เศรษฐกิจตกสะเก็ต กลุ่มทุนผูกขาด ข้าวยากหมากแพง ปัจจุบันมีปัญหาปากท้องของประชาชน รวยกระจุกจนกระจาย เอื้อเจ้าสัว ความเหลื่อมล้ำสูง เศรษฐกิจย่ำแย่ ปล้นร้านทอง/ค้ายาบ้า/ฆ่าตัวตาย
ดังนั้นสถานการณ์และบรรยากาศทางการเมืองของประเทศในขณะนี้ไม่สู้ดีนัก รัฐบาลต้องให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาที่เกิด โดยการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขปลดล็อคทางการเมือง สำหรับข้อเรียกร้องของสหภาพนักเรียน นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) 3 ข้อนั้น ผมเห็นด้วยกับข้อเรียกร้อง2ข้อครึ่ง คือ
1.การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เห็นด้วยกับข้อเรียกร้อง และตรงกับจุดยืนของพรรคประชาธิปตย์ ในการแก้ไขมาตรา256 เพื่อนำไปสู่การแก้ไขมาตราอื่นๆ และการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)ได้ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีการสืบทอดอำนาจอย่างแท้จริง ประธาน คสช.แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา250คน เลือกประธาน คสช.เป็นนายกรัฐมนตรี
2.หยุดคุกคามประชาชน ซึ่งสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจะใช้อำนาจมาคุกคามประชาชนไม่ได้ ถ้ามีการกระทำผิดก็ต้องใช้กฎหมายเข้าแก้ไขปัญหา ต้องไม่มีอำนาจมืด อำนาจนอกระบบมาคุกคามประชาชนโดยเด็ดขาด
3.เรียกร้องให้ยุบสภา ส่วนตัวไม่ขัดข้อง เพราะเห็นว่าการยุบสภาเป็นกลไกทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย แต่การยุบสภาภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับเดิม ผลการเลือกตั้งก็ไม่ต่างจากเดิม ทุกฝ่ายต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ จึงยุบสภาคืนอำนาจให้กับประชาชน
จึงขอเตือนรัฐบาลและผู้มีอำนาจว่า อย่าประมาทพลังนักศึกษาในยุคนี้ ยิ่งตอนนี้ได้มีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ในเกือบทุกจังหวัด จะเกิดปัญหาลุกลามไปจนไม่สามารถรับมือได้
ผมในฐานะผู้นำนักศึกษารุ่นพี่ ขอให้กำลังใจกับนักศึกษา เยาวชนคนหนุ่มสาว ด้วยบทกลอนของคุณเสถียร จันทิมาธร ว่า “ตื่นเถิดเสรีชน อย่ายอมทนก้มหน้าฝืน ดาบหอกกระบอกปืน หรือทนคลื่นกระแสเรา”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: