ปราจีนบุรี – เปิดพิพิธภัณฑ์หมอไทย หมื่นชำนาญแพทยา ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของภูมิอภัยภูเบศร ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญหาสุขภาพไทย
เมื่อวันที่ 10 ก.ย.61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศูนย์เรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาสุขภาพภูมิภูเบศร ตำบลบางเดชะ อำเภอเมืองปราจีนบุรี ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี และผู้บริหาร เปิดพิพิธภัณฑ์หมอไทย (หมื่นชำนาญแพทยา) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของภูมิอภัยภูเบศร ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญหาสุขภาพ
ทั้งนี้ ภูมิอภัยภูเบศร ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญหาสุขภาพ จังหวัดปราจีนบุรี ถือเป็น 1 ใน 13 จังหวัด ที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นเมืองสมุนไพร รองรับนโยบายการปฏิรูประบบสุขภาพด้านการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ภายใต้แนวคิด พึ่งตนเอง อนุรักษ์ สร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้ประชาชนมีการพึ่งตนเอง สามารถดูแลอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นด้วยสมุนไพรและศาสตร์การแพทย์แผนไทย เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ศาสตร์การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และพันธุ์พืชสมุนไพรที่กำลังสูญหาย อีกทั้งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สมุนไพรและภูมิปัญญาไทยผ่านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร ช่วยให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระดับชุมชน และประเทศ
ข่าวน่าสนใจ:
- กลุ่มศึกษากลุ่มชลประทานลงพื้นที่ ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยชัน จ.ปราจีนบุรี
- รองผู้ว่าฯปราจีนบุรี ลงพื้นที่แก้ไขปัญหาช้างป่ารุกพื้นที่ชุมชน
- ททท.เตรียมเปิดตัวการแข่งขันวิ่งเทรลไตรบูรพาซีรีย์ 4 สนาม 3 จังหวัดภาคตะวันออก นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว
- ฝนกระหน่ำพัทยาท่วมรับเทศกาลลอยกระทง ทำจราจรติดยาวหลาย กม.แบริเออร์ลอยน้ำเกลื่อน เก๋งจมน้ำ
สำหรับพิพิธภัณฑ์หมอไทย (หมื่นชำนาญแพทยา) เป็นเรือนไม้เดิมของหมอพลอย หมอหลวงในรัชกาลที่ 5 อายุกว่า 100 ปี เป็นการใช้ศาสตร์การดูแลสุขภาพทำให้เป็นยา สร้างความสมดุลให้กับธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย จัดแสดงประวัติหมอไทยผ่านชีวิตหมอพลอย นิทรรศการเครื่องยาไทย นิทรรศการการแพทย์ 3 ระบบ คือ การแพทย์เชิงระบบ การแพทย์เหนือธรรมชาติ และการแพทย์พื้นบ้าน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภูมิอภัยภูเบศร ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญหาสุขภาพ ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ต้องการให้ผู้ใช้บริการได้เห็นความสำคัญของรากฐานภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพคนไทยสมัยโบราณ
นอกจากนี้ ยังมีส่วนที่เป็นสมุนไพร เป็นแหล่งเรียนรู้และการฝึกอบรมต่างๆ มีการจัดสวนตามกลุ่มโรค-อาการ ตามกลุ่มรสสมุนไพร ซึ่งเป็นตัวกำหนดสรรพคุณยา ทางด้านส่วนที่ใช้สำหรับการฝึกอบรมแประชาชน บุคลากรการแพทย์ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ โดยใช้หลักสูตรที่เน้นการฝึกปฏิบัติที่ใช้ได้จริง แล้วเสร็จแล้วประมาณ 70 %
——————————
ข่าว-ภาพโดย/สายชล หนูแดง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: