นายศรชัย สังคเลิศ หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน จังหวัดสระแก้ว เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 5 ม.ค.64 ที่ผ่านมา ได้รับการประสานจาก นายบุญเชิด เจริญสุข หัวหน้าอุทยานแห่งชาติปางสีดา หลังมีชาวบ้านพบหมีบาดเจ็บ อยู่หลังหมู่บ้านภักดีแผ่นดิน ขอให้เจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน จึงได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สบอ.1 (ปราจีนบุรี) เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติปางสีดา ปด.7 (ภักดีแผ่นดิน) และผู้นำชุมชนบ้านภักดีแผ่นดิน ติดตามปูพรมค้นหาแต่ไม่พบตัวหมีตัวดังกล่าว จึงได้วางกรงดักไว้ ต่อมาในวันที่ 7 ม.ค.64 คณะเจ้าหน้าที่ได้ปูพรมค้นหาอีกครั้ง กระทั่งเวลาประมาณ 16.00 น. เจ้าหน้าที่พบหมีตัวดังกล่าว จึงทำการจับโดยการยิงยาสลบ
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ พบว่า หมีหมาตัวดังกล่าว เพศผู้ อายุประมาณ 8 ปี น้ำหนักประมาณ 40 กก. สภาพร่างกายอ่อนเพลีย บริเวณขาหน้าด้านขวามีบ่วงลวดสลิงรัดจนเป็นแผลลึกถึงกระดูก เจ้าหน้าที่จึงเร่งทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยให้ยาปฏิชีวนะและน้ำเกลือ ก่อนเคลื่อนย้ายนำมาดูแลรักษาต่อ ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน โดยมี นสพ.ญ.สุนิตา วิงวอน นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ดูแล ซึ่งจากการตรวจสอบและประเมินภาวะโภชนาการภายนอก (bodyscore) 2.5/5 หมีน่าจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 7-8 ปี เพศผู้ มีภาวะขาดน้ำ (dehydrate) และเยื่อเมือกซีด บาดแผลภายนอกที่ข้อขาหน้าขวา เกิดจากการที่ถูกลวดสลิงรัดจนถึงกระดูก ผิวหนังเปื่อยหายไปบางส่วน มีการอักเสบและติดเชื้อรุนแรงถึงกระดูก มีกลิ่นเหม็นเน่า ใช้งานไม่ได้และไม่มีความรู้สึก หากตัดสินใจทำการรักษาช้า อาจส่งผลให้หมีตายได้
ข่าวน่าสนใจ:
- ตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ แถลงผลปฏิบัติการ “พิฆาตทรชนคนค้ายาอีสานใต้” ยึดยาบ้ากว่า 400,000 เม็ด
- องคมนตรีเชิญสิ่งของพระราชทานเนื่องในโอกาสปีใหม่ 2568 มอบให้ทหารกองกำลังป้องกันชายแดน จ.สระแก้ว
- นายก อบจ.ระยอง ประกาศลาออกก่อนครบวาระ 1 วัน พรัอมลงชิงชัยตำแหน่งนายก อบจ.ระยอง อีกหนึ่งสมัย
- โครงการวิลล่าหรูเกาะสมุยฝืนคำสั่งรื้อถอนอาคาร ยังปล่อยให้ต่างชาติเช่าวิลล่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ จึงตัดสินใจตัดเอาส่วนเนื้อตายและติดเชื้อออก เพื่อควบคุมไม่ให้ติดเชื้อลุกลาม และเพื่อเป็นการรักษาชีวิตของหมีไว้ โดยขั้นตอนการรักษา คือวางยาสลบเพื่อผ่าตัดข้อมือ ส่วนที่ติดเชื้อออก หลังจากนั้นล้างทำความสะอาดแผล เย็บปิดบาดแผล และพันแผลป้องกันสิ่งสกปรก จากนั้นให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ฉีดยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ได้ดีต่อการติดเชื้อที่ผิวหนังและกระดูก ฉีดยาลดอักเสบลดปวด ยาบำรุงเลือด ยาบำรุงร่างกาย และฉีดยาถ่ายพยาธิและกำจัดปรสิตภายนอก จากนั้นให้ยาแก้ฤทธิ์ยาสลบและเฝ้ารอดูอาการจนหมีมีการฟื้นตัวได้ดี
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด เจ้าหน้าที่ได้วางแผนการรักษาโดยมีสัตวแพทย์และสัตวบาล เฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ตลอดเวลา โดยให้ยาลดปวดต่อเนื่องเป็นเวลา 3 วัน และยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ยาวนานทุก ๆ 7 วันด้วย ซึ่งภายหลังเรื่องราวดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป มีคนเข้ามาให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทีมดังกล่าวและยกย่องการช่วยชีวิตสัตว์ป่าดังกล่าว “ขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ช่วยชีวิตน้องนะครับ คุณคือฮีโร่เลย พื้นที่ป่าเป็นบ้านของสัตว์ป่า กินพืชผักผลไม้เป็นอาหาร แล้วบ้านนายพรานอยู่ที่ไหน ทำไมถึงต้องฆ่าพวกเขามาเป็นอาหาร หมู ไก่ไม่พอกินหรือไง สิ่งที่โหดร้ายที่สุดบนโลกใบนี้ก็คือ คนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเขาไม่รู้ว่าบาปบุญมันมีอยู่จริง ชีวิตถึงต้องดิ้นรนแบบนี้อยู่ร่ำไป ขอเป็นกำลังใจให้ทีมที่ดูแลน้องหมีนะครับ”
—————————-
ข้อมูล-ภาพโดย/กรมอุทยานแห่งชาติฯ “นมสด”โฮ่ง โฮ่งและศูนย์อาเซียน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: