ปราจีนบุรี – ชาวบ้านแจ้งกู้ภัยจับกิ้งก่ายักษ์ยาว 50 เซนติเมตร ที่ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี
เมื่อวันที่ 17 ก.พ.64 ผูู้สื่อข่าวรายงานว่า อาสาสมัครหน่วยกู้ภัยมูลนิธิร่วมกตัญญู ได้รับแจ้งจากชาวบ้านให้ไปจับตัวเงินตัวทองเข้าบ้าน จึงไปยังบ้านหนองหอย ม.10 ต.ศรีมหาโพธิ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี พบว่า ไม่ใช่ตัวเงินตัวทองตามที่แจ้งคาดว่า น่าจะเป็นอีกัวร์น่าร์ มีความยาว 50 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณมาณ 2 กิโลกรัม ตัวสีเขียวท่าทางคุ้นเคย ไม่ตื่นกลัวจับได้ด้วยมือเปล่า นายสุชิน ขำถวิล อาสาสมัครหน่วยกู้ภัยร่วมกตัญญู กล่าวว่า มาจับสัตว์เลื้อยคลานออกจากบ้านเรือนประชาชนทันที ไม่แน่ใจว่าเป็นสัตว์ชนิดใด หลังจากจับได้ไปลงบันทึกประจำวันไว้ที่ สภ.ระเบาะไผ่ หากใครเป็นของสามารถมารับคืนได้ที่หน่วยกู้ภัยร่วมกตัญญู จุดระเบาะไผ่ ได้ตลอดเวลา
จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ทราบว่า เป็นตะกองหรือกิ้งก่ายักษ์ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตะกองหรือกิ้งก่ายักษ์ ( Physignathus cocincinus )ตะกองเป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่า ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนาดของตะกองจะยาวประมาณ 90-120 เซนติเมตร ปลาย จมูกถึงโคนหาง 35-50 เซนติเมตร และหางยาว 55-70 เซนติเมตร โดยตะกองเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่า ตะกองเพศผู้ราว 10-30 เซนติเมตร และจะมีหัวป้อมกว่า สีของลำตัวก็เข้มกว่า สีของตะกองจะมีสีเขียวและสัตว์ชนิดนี้ สามารถที่จะเปลี่ยนสีของมันให้เข้มขึ้น และอ่อนลงตามสภาพแวดล้อมได้ ตะกอง มีการกระจายทั่วไปในประเทศลาว, เวียดนาม,กัมพูชา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของประเทศไทย ตะกองชอบที่จะอาศัยหากิน อยู่ในพื้นที่ ซึ่งมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และมีสภาพป่าที่ค่อนข้างทึบ เช่น บริเวณป่าดิบแล้งริมลำห้วยที่มีน้ำไหล
ข่าวน่าสนใจ:
- คึกคักกว่าทุกปีสุดยอดงานสืบสานประเพณีตีคลีไฟหนึ่งเดียวในโลก!
- พรรคประชาชนเปิดตัว นายแพทย์จิรชาติ เรื่องวัชรินทร์ หรือ หมอมุดสัง ชิง นายก อบจ.สุราษฎร์ ฯ สมัครจันทร์นี้
- คู่แข่งนอกสายตานายก ก้อย “พนธ์ มรุชพงษ์สาธร” ขอวัดดีกรีว่าที่นายก อบจ.แปดริ้ว
- ชมรมโฮปฯ ร่วมกับชุมชน จัดกิจกรรม ซานตาโฮป แจกของขวัญให้กับเด็กในชุมชนกว่าพันชิ้น
อย่างไรก็ตาม สำรหรับสัตว์ชนิดนี้เวลามันตกใจ พบว่า มันจะวิ่ง 2 ขาโดยหุบขาหน้าไว้แนบชิดลำตัว และโดยปกติเมื่อมีภัยมันจะกระโจนลงน้ำ และสามารถดำน้ำได้เป็นเวลานาน ๆ สำหรับอาหารที่มันกินก็คือ แมลงชนิดต่างๆ เช่น กบ,เขียด,ปลาเล็กๆ,หนูตัวเล็กๆ และผลไม้บางชนิด ในที่กรงเลี้ยงพบว่าตะกองมีอายุถึง 30 ปี ตะกองจะมีฤดูกาลผสมพันธุ์ และวางไข่ในระหว่าง เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และในหนึ่งครั้งตะกองเพศเมียจะวางไข่ประมาณ 10 ฟอง ตะกองจะวางไข่ บริเวณพื้นดินที่มีลักษณะเป็นดินทรายและมันจะขุดหลุมลึกลงไปประมาณ 12-17 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 12-15 เซนติเมตร ในปัจจุบันจำนวนประชากรของตะกองได้ลดลงจากในอดีดมาก เนื่องจากปัญหาการจับตะกองไปเป็นอาหาร ของชาวบ้านรอบ ๆ ป่า และปัญหาการบุกรุกทำลายป่าอันเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของตะกอง ซึ่งมีผลให้บ้านของเจ้ากิ้งก่ายักษ์ถูกลดขนาดให้เล็กลง และผืนป่าตะวันออกแห่งนี้ ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งพันธุกรรมที่สำคัญแหล่งหนึ่งของตะกอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ประกาศให้ตะกองเป็น”สัตว์ป่าคุ้มครอง”
—————————-
ข่าว-ภาพโดย/ลักขณา สีนายกอง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: