ปราจีนบุรี – รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เยี่ยมฟาร์มหมูเพิ่มกำลังผลิตสุกรขุน เพื่อแก้ปัญหาเนื้อสุกรราคาสูง พื้นที่ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
เมื่อวันที่ 5 ม.ค.65 ผู้สื่อข่าวประจำ จ.ปราจีนบุรี รายงานว่า ได้รับแจ้งจากกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมปศุสัตว์ ที่ฟาร์มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายใหญ่ของ จ.ปราจีนบุรี “ลิ้มไพบูลย์ฟาร์ม” ม.1 ต.บางเดชะ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่เยี่ยมฟาร์มเกษตรกรในพื้นที่ตาม”มาตรการเพิ่มกำลังผลิตสุกรขุนเพื่อแก้ปัญหาเนื้อสุกรราคาสูง นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ กล่าวว่า การลงพื้นที่เยี่ยมฟาร์มผู้ผลิตสุกรขุนเพื่อมาฟังภาคผู้เลี้ยง ขอความเห็น พูดคุย ร่วมมือและความเห็นร่วมกันในปัญหาราคาเนื้อสุกรที่สูง เมื่อมาตรการคุมเข้มโควิด-19 ผ่อนคลายผู้บริโภคมีความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น หากร่วมกับปัจจัยที่มีปริมาณการเลี้ยงลดลง อีกสาเหตุที่ทำให้ปริมาณหมูในปี 2564 ลดลงจากปี 2563 จากที่ผลิตได้ปีละ 20 ล้านตัว เหลือ 19 ล้านตัวโดยส่งออก 1 ล้านตัว คงเหลือบริโภคในประเทศ 18 ล้านตัว จึงทำให้ราคาเนื้อหมูปรับตัวสูงขึ้น
สำหรับการยกระดับมาตรฐานฟาร์มของเกษตรกร เพื่อป้องกันโรคระบาดจะส่งเสริมให้ปรับปรุงเป็นฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) ซึ่งค่าใช้จ่ายต่ำกว่ามาตรฐานฟาร์ม GAP เพื่อไม่ให้ต้นทุนการเลี้ยงสูง ซึ่งมั่นใจว่า มาตรการสนับสนุนต่างๆ จะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรกลับมาเลี้ยงใหม่และเพิ่มปริมาณการผลิตหมูให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภค ซึ่งจะขอความร่วมมือผู้เลี้ยงรายกลางและรายใหญ่ ให้ผลิตลูกหมูให้รายย่อยและรายเล็กกระจายลูกหมูไปเลี้ยง ขอความร่วมมือการผลิตในราคาไม่สูงนัก ทั้งยังมีการสนับสนุนการเลี้ยงโดยจะมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ให้กู้ยืมจาก ธ.ก.ส.วงเงินกว่า 3 หมื่นล้านบาท ในโครงการสานฝันสร้างอาชีพอีกด้วย และในช่วงตรุษจีนจะได้เรียนต่อนายกรัฐมนตรี ชะลอการส่งออกสุกรมีชีวิตชั่วคราว ในการบรรเทาปัญหาราคาในประเทศก่อน โดยไทยมียอดส่งออกสุกร จำนวน 980,000 ตัว จะช่วยเบาบางปัญหาได้
ข่าวน่าสนใจ:
ด้าน นายภวพรรธน์ ปฐมโพธิวัฒน์ ผู้จัดการฝ่ายผลิต ลิ้มไพบูลย์ฟาร์ม (สะพานหิน) กล่าวว่า “ลิ้มไพบูลย์ฟาร์ม” เป็นฟาร์มขนาดกลาง มีการจัดการฟาร์มที่ดี เป็นระบบปิด มีมาตรการระบบป้องกันทางชีวภาพ มีสุกรประมาณ 2,500 แม่ จำหน่ายสุกรขุน ลูกสุกร มีโรงผสมอาหารเอง มีโรงฆ่าสุกรมาตรฐาน GMP มี Shop ขายเนื้อสุกรเองอีกด้วย ที่ผ่านมาลูกสุกรที่จำหน่ายแก่ผู้เลี้ยงก่อนหน้านั้นเป็นลูกสุกร 6 เดือน ราคา 60 บาท/ตัว ราคาจำหน่ายปัจจุบันสูงเพิ่มกว่า 96 บาท/ตัว รัฐฯสามารถช่วยเหลือแก่ผู้เลี้ยงได้ อาทิ การให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การสนับสนุนการวิจัยการปลอดเชื้อโรคในสุกรและปล่อยกลไกการตลาดให้เป็นตามระบบ ที่จะทำให้เกษตรกรอยากเลี้ยงต่อไป
ต่อมา เวลา 17.00 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้ลงพื้นที่สำรวจราคาหมู ที่ตลาดท่าประชุม อำเภอศรีมหาโพธิ มีเขียงหมู พ่อค้า-แม่ค้า อยู่ประมาณ 4 เขียงหมู พบว่า ราคา หมูได้ขยับราสูงขึ้น เป็นลำดับทุก ๆ วัน ราคาวันละประมาณกิโลกรัมละ 8 บาท 20 บาท ถึง 50 บาทต่อวัน ที่ขยับขึ้น ๆ โดยเฉพาะเนื้อหมูสามชั้น ที่ผ่านๆ มา จากเคยขายราคาที่ 160 บาท จนมาถึง ณ ตอนนี้ ขยับขึ้นไปถึง 230 บาทแล้ว ส่วนจะเป็นเนื้อ สันนอกสันใน ส่วนเนื้อติดมัน หรือว่าเป็นส่วนที่เนื้อล้วน ก็ขยับตามราคาขึ้นไป ทางพ่อค้าแม่ค้า เริ่มบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า จากเดิมที่เคยขายได้ วันละปริมาณมาก แต่ทุกวันนี้ขายได้ปริมาณลดลง อย่างเห็นได้ชัดทุกวัน จากคนที่เคยมาซื้อวันละ 10 กิโลฯ เพื่อไปจำหน่าย ก็ลดเหลือลงมาครึ่งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ส่วนที่เป็นพ่อค้าแม่ค้าที่ไปทำข้าวแกงไปทำอาหาร สำเร็จ เพื่อมาจำหน่าย ก็มีปริมาณเนื้อหมูที่ให้ลดลงเยอะ ส่วนมากจะหันไปใช้วัตถุดิบอย่างอื่น เพิ่งจะเปลี่ยนเป็นเนื้อไก่ ส่วนหมูก็จะลดน้อยลง แต่ ณ ขณะนี้ เนื้อไก่ก็เริ่มจะขยับขึ้นมาอีกแล้ว ทำให้ พ่อค้าแม่ค้าที่นำไปปรุงอาหารสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็นไปทำหมูแดดเดียว หรือว่าไปทำประกอบอาหาร ต่างก็ลดปริมาณในการซื้อลง ไม่ว่าจะเป็น ทางพ่อค้าแม่ค้าเขียงหมู หรือว่า พ่อค้าแม่ค้า พี่ทำกับข้าวสำเร็จรูปมาขาย ต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า อยากจะฝากถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือผู้มีอำนาจ อยากให้ ไม่ว่าจะเป็นหมูหรือไก่ อย่าไข้คุมราคาให้ได้ ถ้าไม่อย่างนั้น ก็จะพากันเดือดร้อน กันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้จำหน่ายหรือผู้บริโภค จึงอยากจะฝากไว้เพียงเท่านี้
—————————
ข่าว-ภาพโดย/ทองสุข สิงห์พิมพ์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: