สระแก้ว – สำรวจน้ำตาลทรายพื้นที่ตลาดชายแดน จ.สระแก้ว ปรับราคาจาก 25 บาทเป็น 30-32 บาท/กก. จนท.ระบุ ยังไม่พบการลักลอบนำน้ำตาลออกนอกประเทศ ด้านสมาคมชาวไร่อ้อยเตรียมถก ก.พาณิชย์แก้ปัญหาน้ำตาลขาดตลาด หากตกลงกันไม่ได้เตรียมปิดโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
เมื่อวันที่ 2 พ.ย.66 ผู้สื่อข่าว จ.สระแก้ว เดินทางลงพื้นที่ตลาดศรีเพ็ญหรือตลาดเขาดิน บริเวณด้านหน้าด่านผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน ชายแดนไทย-กัมพูชา อ.คลองหาด จ.สระแก้ว เพื่อสำรวจตลาดพื้นที่ชายแดนกรณีเกิดปัญหาน้ำตาลทรายในประเทศขาดแคลน ซึ่งแม่ค้าภายในพื้นที่่ตลาดเขาดิน บอกว่า น้ำตาลหาซื้อได้ยากขึ้นโดยสามารถสั่งซื้อได้เพียงครั้งละ 1 กระสอบ เพื่อนำมาขายปลีก จากเดิมเมื่อสัปดาห์ก่อนราคาน้ำตาลขายกันเพียง ก.ก.ละ 25 บาท ปัจจุบันต้องขายปลีก กก.ละ 30-32 บาท เนื่องจากน้ำตาลขึ้นราคามาประมาณ 1 สัปดาห์แล้ว ขณะเดียวกัน แม่ค้ายังระบุด้วยว่า ยังไม่พบว่า มีการกว้านซื้อน้ำตาลหรือนำน้ำตาลจากฝั่งประเทศกัมพูชาเข้ามาขายฝั่งประเทศไทย
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลการนำเข้าและส่งออกน้ำตาลทราย จากเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรอรัญประเทศ ประจำด่านผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน แจ้งว่า ขณะนี้ได้มีคำสั่งด่วนจากกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เจ้าหน้าที่เข้มงวดการนำน้ำตาลออกนอกประเทศ เนื่องจากผิดกฎหมาย โดยน้ำตาลที่จะนำออกนอกประเทศจะต้องดำเนินการตามพิธีการศุลกากรเท่านั้น ซึ่งข้างกระสอบและถุงจะระบุชุดเจนว่า Export Only เท่านั้น ซึ่งการนำออกจากมีเป็นล็อต ๆ จำนวนไม่มาก ส่วนการนำข้ามแดนทั่วไป ยังไม่พบในขณะนี้หากตรวจพบถือว่า ผิดกฎหมาย
ทางด้าน นายมนตรี คำพล นายกสมาคมเกษตรกรชายแดนบูรพา ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ตัวแทนสมาคมและสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยของประเทศไทย กล่าวว่า วันนี้ตัวแทนสมาคมชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ จะเดินทางเข้าพูดคุยกับ รมว.กระทรวงพาณิชย์ เพื่อพูดคุยเรื่องการปรับราคาน้ำตาลอีก 4 บาท ตามมติของ กนอ. หรือคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล ซึ่งเป็นกฎหมายคนละฉบับกับกระทรวงพาณิชย์ ที่มีคำสั่งให้เป็นสินค้าควบคุม เนื่องจากการขอปรับดังกล่าว ซึ่งจะทำให้มีเงินจำนวนประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่อนำมาชดเชยให้กับเกษตรกรที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้นถึงไร่ละ 1,400-1,500 บาท จำนวน 5,000 ล้านบาท ส่วนอีก 5,000 ล้านบาท เพื่อนำเข้ากองทุนเพื่อช่วยเหลือเกี่ยวกับการแก้ปัญหา PM 2.5 กรณีมีการตัดอ้อยสด ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลแล้ว อีกทั้งกรณีที่น้ำตาลในประเทศขาดตลาด เพราะผู้ประกอบการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ใช้น้ำตาลในกระบวนการผลิต เช่น บริษัทเครื่องดื่ม หันมาลดต้นทุนด้วยการมาแย่งซื้อน้ำตาลสำหรับบริโภคไปใช้ เพราะราคาถูกกว่า ทำให้น้ำตาลเหลือน้อยลง ถ้าปรับราคาก็จะอยู่ในราคาใกล้เคียงกับราคาน้ำตาลที่มีการลอยตัวในตลาดโลก การมาแย่งน้ำตาลชาวบ้านก็จะหมดไป
ข่าวน่าสนใจ:
- จนท.อุทยานแห่งชาติเอราวัณ จ.กาญจนบุรี รวบ 2 พรานป่าพร้อมอาวุธปืนครบมือ คาดเตรียมออกล่าสัตว์ป่า
- ตร.น้ำกระบี่ บุกรวบ 3 ลูกเรือประมง ยึดยาบ้า พบมั่วสุมเสพ ก่อนออกจับปลา
- ตรัง จัดใหญ่ 12 วัน งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจ.ตรัง 4-15 ธ.ค.นี้ รีแบร์นใหม่! ย้อนยุคงานเหลิมแต่แรก แสดงบินโดรนพิธีเปิด วธ.ทุ่ม 3.4 ล้าน…
- สูงวัยตรัง ปลื้ม เตรียมตัวรับเงินหมื่น ฝันใช้ยามแก่-ต่อยอดอาชีพบั้นปลาย
——————————–
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: