สระแก้ว – สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย จัดสัมมนาเครือข่ายผู้รักสัตว์ ครั้งที่ 9 เรื่อง “แนวทางการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557” รณรงค์ไม่ทอดทิ้งสัตว์ ระบุ กรณีเสือดำเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายทุกหน่วยงานได้ร่วมกันผลักดันให้ใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาดและจริงจัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) ได้จัดงานสัมมนาเครือข่ายผู้รักสัตว์ ครั้งที่ 9 ประจำปี 2561 ระหว่างวันที่ 10-11 มี.ค.61 ภายใต้หัวข้อ “แนวทางการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557” ในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยมีองค์กรเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน เข้าร่วมกว่า 50 องค์กร เช่น องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) มูลนิธิสืบนาคะเสถียร กรมปศุสัตว์ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ กรมประมง องค์การสวนสัตว์ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักกฎหมาย เลขาธิการวุฒิสภา คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชมรมคนรักช้างป่า สมาคมสงเคราะห์สัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และคณะกรรมการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ เป็นต้น
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สอดส่องดูแล และส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์มากขึ้น เพราะพ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมฯ เป็นผลจากการเรียกร้องกันมายาวนานโดยกลุ่มคนรักสัตว์ ที่มีสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย และองค์กรเครือข่ายที่เป็นพันธมิตรกว่า 90 องค์กร กรมปศุสัตว์ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่สามารถผลักดันให้กฎหมายฉบับนี้สำเร็จ มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา
ข่าวน่าสนใจ:
- หนาวนี้ไปแอ่วเมืองเจียงฮายกั๋นเต๊อะ! ส่อง 7 อีเวนต์ไฮไลต์ใน “เทศกาลสีสันกาสะลอง 2024”
- รมว.วธ. ยินดีกับ “หลานม่า”เข้ารอบชิงรางวัลออสการ์ครั้งที่ 97 เป็น 1 ใน 15 เรื่องสุดท้าย
- องคมนตรีเชิญสิ่งของพระราชทานเนื่องในโอกาสปีใหม่ 2568 มอบให้ทหารกองกำลังป้องกันชายแดน จ.สระแก้ว
- ทนายเกรียง พา สาวนักแข่งรถจักรยานยนต์ทีมชาติไทย แจ้งความดำเนินคดีกับนายกสมาคม ข้อหาหมิ่นประมาท และ พรบ.คอม
นายธีระพงศ์ ปังศรีวงศ์ นายกสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การสัมมนาครั้งนี้เป็นการประชุมที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แสดงทัศนะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดทำ Workshop และการรับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนาที่มีต่อ พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมฯ ภายหลังการประกาศใช้ 3 ปี ในหัวข้อ การรับรู้ของประชาชนที่มีต่อกฎหมายนี้เป็นอย่างไร การตอบสนองของประชาชนและสังคมมีมากน้อยเพียงใด ความตระหนักรู้และการปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งภาคประชาชนและเจ้าหน้าที่ ข้อบกพร่อง จุดอ่อน ข้อควรปรับปรุงกฎหมายฉบับนี้ เป็นต้น เพื่อเป็นการระดมความคิดและหาแนวทางร่วมกันในการหามาตรการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ตาม พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมฯ ต่อไป
“ถ้ามีคนตั้งคำถามว่า ทำไมมีกฎหมายแล้วก็ยังมีผู้กระทำความผิดอีก ก็เปรียบเหมือนการมีกฎหมายห้ามปล้นธนาคารแต่ก็ยังมีการปล้นธนาคารอยู่เช่นกัน ยิ่งถ้าไม่มีกฎหมายอาจจะปล้นกันทุกวัน ฉันใดก็ฉันนั้น กฎหมายก็เป็นเพียงเครื่องมือในการอำนวยความยุติธรรมเท่านั้น ส่วนผู้กระทำความผิดก็อยู่ที่พฤติกรรม เจตนาและจิตสำนึก ของคนคนนั้นเช่นกัน ทุกคนต้องมีส่วนร่วมปฏิบัติตามกฎหมายและช่วยกันสอดส่องดูแล มีการให้ความรู้โดยเฉพาะด้านการศึกษาและการปลูกจิตสำนึกเปลี่ยนค่านิยมในด้านการทารุณกรรมสัตว์” นายธีระพงศ์ กล่าวและว่า
สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย ดำเนินการมากว่า 24 ปี มีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการผลักดัน พ.ร.บ. ป้องกันการทารุณกรรมฯ โครงการบ้านอุปถัมภ์ สัตว์จรจัดกว่า 6,000 ชีวิตจากบ้านอุปถัมภ์ 26 แห่งทั่วภูมิภาคของประเทศ ที่สมาคมฯ ดูแลทั้งด้านอาหาร ยารักษาโรค เพื่อให้สัตว์จรจัด มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โครงการรักสัตว์ในโรงเรียน ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการปลูกฝังให้เยาวชนมีความรักและเมตตาต่อสัตว์ จึงได้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์เกี่ยวกับการส่งเสริมสวัสดิภาพและป้องกันการทารุณสัตว์ โดยจัดพิมพ์และมอบให้กับโรงเรียนในสังกัด สพฐ.ทั่วประเทศกว่า 30,000 แห่ง โครงการพัฒนาเครือข่าย จากความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ ในการช่วยสอดส่องดูแลและช่วยลดปัญหาการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้ดียิ่งขึ้น
นายธีระพงศ์ฯ กล่าวต่ออีกว่า ในปีนี้ สมาคมฯ จะจัดกิจกรรมสำคัญ เช่น การเปิดโครงการรณรงค์ภาพยนตร์สั้น “รักไม่ปล่อย” เพื่อปลุกจิตสำนึก ให้คนรักสัตว์อย่างรับผิดชอบ ไม่ทอดทิ้ง ไม่นำไปปล่อยสร้างปัญหาให้กับสังคม โดยเน้นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เพราะการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเพียงอย่างเดียวนั้นไม่สามารถยุติปัญหาสัตว์จรจัดที่ยั่งยืนได้ ทั้งนี้ในพ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 23 กำหนดห้ามมิให้เจ้าของสัตว์ปล่อย ละทิ้ง หรือกระทำการใดๆ ให้สัตว์นั้นพ้นจากการดูแลของตนโดยไม่มีเหตุอันสมควร และมาตรา 22 เจ้าของสัตว์ต้องดำเนินการจัดสวัสดิภาพสัตว์ของตนให้เหมาะสม ถ้าไม่ปฏิบัติตามมาตรา 22 หรือฝ่าฝืนมาตรา 23 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท ตามมาตรา 32 ด้วย
นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังมีกิจกรรมต่อเนื่องในการรณรงค์ภาพยนตร์สั้น “ปล่อยนก บุญหรือบาป?” เพื่อให้เกิดค่านิยมทำบุญไม่ทารุณสัตว์และยุติการจับนกเพื่อมาปล่อย กิจกรรมลูกเสือสวัสดิภาพสัตว์ กิจกรรมเครือข่ายจิตอาสาสวัสดิภาพสัตว์ กิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์เนื้อหาและวิธีใช้พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณสัตว์ฯ กิจกรรมในด้านอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดู วาฬและโลมา เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมฯ ยังได้แถลงข่าวโดยให้สัมภาษณ์ในประเด็นเสือดำ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายทุกหน่วยงานได้ร่วมกันผลักดันให้ใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาดและจริงจัง ในเรื่องปัญหเสือดำเชื่อว่าเจ้าหน้าที่รัฐพยายามทำคดีให้ดีที่สุดต้องใช้เวลาทำคดีพอสมควร และเชื่อว่าทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามกระบวรการกฎหมายในการจัดสัมมนาได้รับความร่วมมือจากทุกภาค
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: