สระแก้ว- คุมเข้มชายแดนเฝ้าระวังอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever) หลังพบการระบาดประเทศเพื่อนบ้านกัมพูชาและลาวไม่สามารถควบคุมได้
นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอหิวาต์ (African swine fever) ที่ห้องประชุมดอกแก้ว ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดสระแก้ว โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานและเตรียมความพร้อมเพื่อรับสถานการณ์ได้ทันท่วงที หากเกิดการระบาดขึ้น โดยมีสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระแก้ว เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ซึ่งประกอบด้วย องค์ความรู้โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เป็นไวรัสที่ติดต่อร้ายแรงในสุกรที่แพร่กระจายในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ไม่ใช่โรคติดต่อระหว่างคนและสัตว์ แต่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรเป็นอย่างมาก ทำให้สุกรที่ติดเชื้อมีการตายอย่างเฉียบพลันเกือบ 100 %
ทั้งนี้ หากเกิดการระบาดโรคนี้ในประเทศไทย จะกำจัดโรคได้ยาก เพราะปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันและควบคุมโรค ในขณะที่เชื้อไวรัสที่ก่อโรคมีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมสูง ขณะนี้เกิดการระบาดที่ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชาและลาว มีสุกรถูกคัดแยกและกำจัดกว่า 3.7 ล้านตัว แถบอาเซียน ยืนยันที่เวียดนาม เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2019 มีสุกรถูกกำจัดกว่า 2.6 ล้านตัว ตามที่มีรายงานการเกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever) ในสาธารณรัฐประชาชนจีนและราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างต่อเนื่อง และยังไม่สามารถควบคุมได้
ข่าวน่าสนใจ:
- ป่วนเมือง!! วัยรุ่นสระแก้วนับสิบไล่ปาระเบิดปิงปองใส่กัน กลางเมืองสระแก้ว
- ศาลฏีกาพิพากษายืน!! คดีผอ.ตุ๊ก่อเหตุฆ่า"น้องหลิว"ทิ้งศพนิรนามป่าอ้อย 12 ปี จำคุกตลอดชีวิตและชดใช้เงิน 1.7 ล้านบาท
- ชุดปฏิบัติการพิเศษฯตามจับ "เอ็ม ท่าผักชี" แก๊งค้ายาบ้าพื้นที่เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว
- รองผู้ว่าฯ ร่วมพิธีไหว้ครูแพทย์แผนไทย ในวันภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ ที่ รพ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุด มีการรายงานการเกิดโรคในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูง ที่จะเกิดการระบาดของโรคดังกล่าว เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายสุกรและซากสุกรภายในภูมิภาค แต่ยืนยันว่า ยังไม่พบการระบาดในประเทศไทย
สำหรับมาตรการเฝ้าระวังโรคฯ ในพื้นที่เฝ้าระวังและควบคุมโรคอหิวาต์ (African swine fever) ได้แก่ การห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ ซากสัตว์เข้ามาจังหวัดที่มีประกาศเขตเฝ้าระวังฯ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบประจำท้องถิ่น ห้ามนำสุกรมีชีวิต ผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรทุกประเภทเฝ้าระวังโรคฯ ควบคุมการลักลอบเคลื่อนย้ายสุกร และมีการตั้งศูนย์รายงานและเฝ้าระวังโรคทุกด่านชายแดนเข้าออกของประเทศไทย จำนวน 4 อำเภอ 6 ตลาด ได้แก่ 1. ตลาดทับทิมสยาม 03 อำเภอตาพระยา 2. จุดผ่อนปรนบ้านตาพระยา 3.ตลาดบ้านโนนหมากมุ่น อำเภอโคกสูง 4.จุดผ่านแดนถาวร บ้านคลองลึก อำเภอรัญประเทศ 5.จุดผ่อนปรนบ้านหนองปรือ อำเภอรัญประเทศ และ 6 จุดผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน อำเภอคลองหาด
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ยังมีการกำหนดยาพาหนะขนส่งสินค้าผ่านแดนให้แยกจากกัน และมีการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อทุกคน ซึ่งจะจัดโดยจะกำหนดให้มีการฝึกซ้อมแผน เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคนี้ระดับจังหวัดรูปแบบ (Functional Exercise :FEX) โดยความร่วมมือระหว่างกรมปศุสัตว์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีการพิจารณากำหนดพื้นที่ฝังซากสุกรที่เป็นโรค ฯ พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายสัตว์และซากสัตว์และคณะกรรมการประเมินราคาสัตว์และซากสัตว์ที่ถูกทำลาย
อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ได้สั่งให้มีการจัดตั้งจุดตรวจจุดสกัด ตามจุดผ่อนปรนและด่านถาวร ควบคู่กับการควบคุมโรคใบด่างในมันสำปะหลังอีกด้วย สรุปโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever) ไม่ติดต่อสู่คน ยังไม่มีการระบาดในประเทศไทย ความรุนแรงของโรค ตายเฉียบพลัน ไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีนป้องกัน หายแล้วเป็นพาหะของโรคได้ตลอดชีวิต สำหรับการป้องกัน รู้เร็ว ควบคุมเร็ว ต้องให้ความรู้เกษตรกร
——————————
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: