สระแก้ว – รณรงค์ ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคใบด่างมันสำปะหลัง สร้างการรับรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่ รู้จักโรค ติดตามเฝ้าระวัง ท่อนพันธุ์ แมลงพาหะและการป้องกันกำจัด
เมื่อวันที่ 10 ก.ย.62 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านทัพสยาม ต.ตาพระยา อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว นายอุดมเขต ราษฎร์นุ้ย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เป็นประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง มอบปัจจัยการผลิตเพื่อป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง เช่น ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง วัสดุทำปุ๋ยอินทรีย์ สารเคมีป้องกันแมลงหวี่ขาว พร้อมด้วยการแบ่งกลุ่มเรียนรู้สร้างความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดผ่านกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 5 สถานี ได้แก่ โรคใบด่างมันสำปะหลัง การสำรวจ ติดตาม เฝ้าระวัง การคัดเลือกท่อนพันธุ์สะอาด แมลงหวี่ขาวยาสูบพาหนะโรคใบด่างใบสำปะหลัง และการป้องกันกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลังที่ถูกวิธี พร้อมทั้งร่วมกันทำลายแปลงที่เป็นโรคใบด่างมันสำปะหลัง
ข่าวน่าสนใจ:
- รับสมัครเลือกตั้ง สจ.สระแก้ว วันแรกคึกคัก พรรคประชาชนส่งทีมลงสมัครหลายพื้นที่ ส่วนอดีต สจ.บางคนไม่ลงเพราะต้องลงเลือกตั้งท้องถิ่น
- เปิดสะพานข้ามแยกสระขวัญชั่วคราวช่วงเทศกาลปีใหม่ จ.สระแก้ว ส่วนเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าอ่างฤาไนเปิดใช้เส้นทางช่วงกลางคืน
- ปทส.จับชาวบ้านฆ่าเลียงผา สัตว์สงวนหายาก บริเวณพื้นที่เทือกเขาตาง๊อก อ.คลองหาด จ.สระแก้ว
นายอุดมเขต ราษฎร์นุ้ย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เปิดเผยว่า การจัดงานโครงการรณรงค์เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังในครั้งนี้ เป็นการให้เกษตรกรได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การจัดนิทรรศการให้ความรู้เรื่องโรคใบด่างมันสำปะหลัง การสาธิตการทำลายต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคใบด่าง การสาธิตการควบคุมแมลงหวี่ขาวยาสูบ และสถานีเรียนรู้ จำนวน 5 สถานี ได้แก่ 1) รู้จักโรค 2) ติดตามเฝ้าระวัง 3) ท่อนพันธุ์ 4) แมลงพาหะ และ 5) การป้องกันกำจัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรรับรู้ในเรื่องโรคใบด่างมันสำปะหลัง ตลอดทั้งแนวทางการป้องกันกำจัดอย่างถูกต้องเหมาะสม รณรงค์ให้เกษตรกรเกิดความตระหนัก ในการติดตามเฝ้าระวัง และป้องกันการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังในแปลงปลูกของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และประชาสัมพันธ์แนวทางในการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังจำหน่ายแก่เกษตรกรที่ได้รับการตรวจสอบรับรองข้อมูลแปลงมันสำปะหลังปลอดโรคใบด่าง จากการสำรวจแปลงปลูกของตนเองอย่างสม่ำเสมอ
—————————-
ภาพโดย/สุชีวิน ปิยะมิตรบัณฑิต
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: